วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

สัญลักษณ์ และ รหัสแสดงอันตรายของสารเคมี

WWW.PCNFORKLIFT.COM


สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ยุคปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีระดับหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้อง และเพื่อจะสามารถหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดกับสุขภาพหรือชีวิต

      นอกจากนี้สารเคมีที่เหลือทิ้งจะต้องมีวิธีการกำจัดที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายกับระบบนิเวศน์ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืชได้ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตราย (Safety Signs) เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายสากลที่เข้าใจตรงกัน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถป้องกันอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ สัญลักษณ์และรหัสต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถพบได้ในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย (Material Safety Data Sheet, MNDS) ในคู่มือการใช้สารเคมีของบริษัทผู้ผลิต จากฉลากที่ติดบนภาชนะบรรจุ หรือที่ติดอยู่บนรถบรรทุกสารเคมีนั้น ๆ
สัญลักษณ์แสดงอันตราย (Safety Signs)
      ระบบสัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้กันมีหลายระบบ เช่น ระบบ NFPA (The National Fire Protection Association ) ของสหรัฐอเมริกา ระบบ EEC (The European Economic Council) และระบบ IMO (International Maritime Organization) เป็นต้น ซึ่งจะขอกล่าวรายละเอียดเฉพาะสองระบบแรก


รูปที่ 1 สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบ NFPA


1. ระบบ NFPA กำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) กล่าวคือเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทะแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อยขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่ สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ(Flammability) สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health) สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกริยาของสาร (Reactivity) สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลย 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย ดังรูปที่ 1 และสรุปรายละเอียดสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบนี้ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 สรุปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบ NFPA
สี่เหลี่ยมพื้นสีแดง
ด้านบน
สี่เหลี่ยมพื้นสีน้ำเงิน
ด้านซ้าย
สี่เหลี่ยมพื้นสีเหลือง
ด้านขวา
สี่เหลี่ยมพื้นสีขาว
ด้านล่าง
แสดงอันตรายจากไฟ(Flammability)แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health)แสดงความไวต่อปฏิกริยาของสาร (Reactivity)แสดงช้อควรระวังพิเศษ (Special notice)
ระดับ 4 สารไวไฟมาก ได้แก่สารที่ระเหยเป็นไอได้รวดเร็วที่อุณหภูมิห้องที่ความดันบรรยากาศ เมื่อกระจายตัวผสมกับอากาศแล้วติดไฟได้ หรือของเหลวที่มีจุดวาบไฟ (Flash point) ต่ำกว่า 22.8 oC จุดเดือดน้อยกว่า 37.8 oC รวมทั้งสารที่ติดไฟได้เอง เมื่อสัมผัสกับอากาศระดับ 4 สารที่ได้รับเพียงเล็กน้อยจะทำให้ตายได้ หรือเป็นอันตรายรุนแรงได้รวมทั้งสารที่จะเป็นอันตรายอย่างมาก ถ้าใช้งานโดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันระดับ 4 สารที่สามารถย่อยสลายตัวหรือระเบิดได้ด้วยตัวเองที่อุณหภูมิห้องและความดันปกติ รวมถึงสารที่ไวต่อความร้อน และแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากสารบางชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวที่ควรสนใจเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ คุณสมบัติของสารเหล่านี้จะแสดงด้วยอักษรย่อ หรือสัญลักษณ์ ดังนี้
OX: เป็นสารออกซิไดซ์ สารเหล่านี้เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีจะให้ออกซิเจน หรืออีเลคตรอน
W: เป็นสารที่ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
ระดับ 3 ของเหลวหรือของแข็งที่ติดไฟได้ในอากาศ ที่อุณหภูมิปกติ ได้แก่สารที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า 22.8 oC และมีจุดเดือดมากกว่า 37.8 oCระดับ 3 สารที่เมื่อสูดดมในเวลาสั้น ๆ หรือสัมผัสผิวหนัง ประมาณเล็กน้อยจะเป็นอันตรายร้ายแรงชั่วคราว หรือมีผลตกค้างได้ระดับ 3 สารที่สลายหรือเกิดระเบิดได้ เมื่อได้รับความร้อนหรือแรงสันสะเทือนที่สูงพอ รวมถึงที่เกิดระเบิดได้เมื่อถูกน้ำ
ระดับ 2 สารที่ต้องใช้ความร้อนปานกลางก่อนจะติดไฟในอากาศ ถ้ามีปริมาณมากพออาจก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นพิษได้ ได้แก่ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ สูงกว่า 37.8 oC แต่ไม่เกิน 93.4oCระดับ 2 สารที่เมื่อได้รับในปริมาณที่มากพอจะทำให้เกิดทุพพลภาพชั่วคราว หรือถาวรได้ รวมถึงสารที่ต้องใช้เครื่องป้องกันอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจระดับ 2 สารที่จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงในอุณหภูมิและความดันปกติ รวมถึงสารที่เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
ระดับ 1 สารประเภทที่ต้องให้ความร้อนสูงก่อนจะติดไฟและเผาไหม้ในอากาศได้ ได้แก่สารที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 93.4 oCระดับ 1 สารที่เมื่อได้รับในระยะเวลาสั้น ๆ จะเกิดการระคายเคืองได้ระดับ 1 สารประเภทนี้ จะมีความคงตัวในสภาวะปกติ แต่ไม่มีความคงตัวเมื่ออุณหภูมิหรือความดันเพิ่ม รวมถึงสารที่สลายตัวเมื่อถูกอากาศ แสงสว่าง หรือความชื้น
ระดับ 0 วัตถุที่ไม่ติดไฟในอากาศ แม้ว่าจะให้ความร้อนสูงถึง 815.5 oC นานถึง 5 นาทีระดับ 0 สารประเภทนี้ ไม่เป็นอันตราย นอกจากเวลาติดไฟระดับ 0 สารประเภทนี้มีความคงตัวสูง แม้ว่าจะได้รับความร้อนก็ตาม รวมถึงสารที่ไม่ทำปฏิกริยากับน้ำ
2. ระบบ EEC ตามข้อกำหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงอันตรายจะแบ่งออกตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์แสดงอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม และมีอักษรย่อกำกับที่มุมขวา สัญลักษณ์ระบบ EEC ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่

ภาพที่ 1 สารที่ระเบิดได้ (Explosive) เป็นสารที่อาจระเบิดได้ เมื่อได้รับการกระทบกระเทือน การเสียดสี ประกายไฟ และความร้อน
ภาพที่ 2 สารเร่งการติดไฟ (Oxidizing) เป็นสารที่สามารถให้ออกซิเจนออกมาเร่งการลุกไหม้ เมื่อสัมผัสกับสารไวไฟ หรือสารที่ติดไฟง่าย อาจก่อให้เกิดการติดไฟขึ้น


ภาพที่ 3 สารไวไฟสูง (Highly Flammable) เป็นแก๊สที่ไวไฟสูงหรือของเหลว ที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 0 oC และมีจุดเดือดไม่เกิน 35oC


ภาพที่ 4 สารไวไฟ (Flammable) เป็นของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 21oC พวกเปอร์ออกไซด์ของสารอินทรีย์และแก๊ซหรือแก๊สเหลวที่ติดไฟที่ความดันปกติ รวมทั้งสารเคมีที่เมื่อสัมผัสกับน้ำและอากาศชื้นแล้วก่อให้เกิดแก๊สไวไฟสูง


ภาพที่ 5 สารกัดกร่อน (Corrosive) เป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนและทำลายเมื่อสัมผัสกับสารหรือไอสาร

ภาพที่ 6 สารมีพิษ (Toxic) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทางระบบหายใจ ทางปาก และทางผิวหนัง อาจก่อให้เกิดพิษชนิดเฉียบพลันหรือชนิดสะสมในร่างกาย


ภาพที่ 7 สารระคายเคือง (Irritant) สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนี้อเยื่อตา ผิวหนัง หรือระบบทางเดินหายใจ


ภาพที่ 8 สารอันตราย (Harmful) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ ทางปากและทางผิวหนัง สารบางชนิดอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้


ภาพที่ 9 สารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) เป็นสารที่ให้กัมมันตรังสีออกมาในปริมาณที่มากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม
รหัสแสดงความเสี่ยง (Risk phase)
     เป็นรหัสที่ใช้บ่งบอกลักษณะของความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดจากสารเคมี ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 59 แบบ โดยใช้อักษร R นำหน้า ตามด้วยตัวเลข 1 ถึง 59 ที่แสดงรหัสความเสี่ยง รหัสแสดงความเสี่ยงอาจเป็นแบบรหัสเดี่ยว เช่น R20 หมายถึง เป็นสารที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดม หรือรหัสแบบผสม เช่น R 20/21 หมายถึง เป็นสารอันตรายที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดมและสัมผัสทางผิวหนัง และ R20/21/22 หมายถึง สารที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดมสัมผัสทางผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไปเป็นต้น รหัสแสดงความเสี่ยงต่ออันตรายมีดังนี้

รหัสแสดงอันตราย แบบรหัสเดี่ยว
R1เกิดระเบิดได้เมื่อสารแห้ง
R2มีความเสี่ยงต่อการระเบิดเมื่อกระเทือน เสียดสี ถูกเปลวไฟ หรือมีประกายไฟเกิดขึ้น
R3มีความเสี่ยงสูงต่อการระเบิดเมื่อกระเทือน เสียดสี ถูกเปลวไฟ หรือมีประกายไฟเกิดขึ้น
R4เกิดเป็นสารประกอบโลหะที่ไวไฟต่อการระเบิด
R5เกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อน
R6เกิดระเบิดได้ไม่ว่าจะสัมผัสกับอากาศหรือไม่
R7อาจติดไฟได้
R8อาจติดไฟได้เมื่อสัมผัสกับวัตถุเชื้อเพลิง
R9ระเบิดเมื่อผสมกับวัตถุเชื้อเพลิง
R10สารไวไฟ
R11สารไวไฟสูง
R12สารไวไฟสูงมาก
R13ก๊าซเหลวไวไฟสูงมาก
R14เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
R15เกิดก๊าซไวไฟสูงเมื่อสัมผัสกับน้ำ
R15.1เกิดก๊าซไวไฟสูงเมื่อสัมผัสกับกรด
R16ระเบิดเมื่อผสมกับสารออกซิไดซ์
R17ติดไฟได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศ
R18ขณะใช้งานอาจเกิดสารผสมระหว่างอากาศกับไอระเหยที่ติดไฟได้หรือระเบิดได้
R19อาจเกิดสารเปอร์ออกไซด์ที่ระเบิดได้
R20อันตรายเมื่อสูดดม
R21อันตรายเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R22อันตรายเมื่อกินเข้าไป
R23เป็นพิษเมื่อสูดดม
R24เป็นพิษเมื่อสัมผัสผิวหนัง
R25เป็นพิษเมื่อกินเข้าไป
R26เป็นพิษมากเมื่อสูดดม
R27เป็นพิษมากเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R28เป็นพิษมากเมื่อกินเข้าไป
R29เกิดก๊าซพิษเมื่อสัมผัสกับน้ำ
R30เปลี่ยนเป็นสารไวไฟสูงได้ในขณะใช้งาน
R31เกิดก๊าซพิษเมื่อสัมผัสกับกรด
R 31.1เกิดก๊าซพิษเมื่อสัมผัสกับด่าง
R32เกิดก๊าซมิพิษมากเมื่อสัมผัสกับกรด
R33อันตรายจากการสะสม (ในร่างกาย)
R34เกิดแผลไหม้ได้
R35เกิดแผลไหม้รุนแรงได้
R36ระคายเคืองต่อตา
R37ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ
R38ระคายเคืองต่อผิวหนัง
R39อันตรายร้ายแรงต่อร่างกายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R40มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R41เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายร้ายแรงที่ตา
R42อาจเกิดอาการแพ้เมื่อสูดดม
R43อาจเกิดอาการแพ้เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R44เสี่ยงต่อการระเบิดเมื่อได้รับความร้อนภายในพื้นที่จำกัด
R45อาจก่อให้เกิดมะเร็ง
R46อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
R47อาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์
R48เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ เมื่อได้รับติดต่อเป็นเวลานาน
R49อาจก่อให้เกิดมะเร็งจากการสูดดม
R50เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
R51อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
R52อาจเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
R53อาจเกิดผลเสียในระยะยาวต่อสภาพแวดล้อมของน้ำ
R54เป็นพิษต่อพืช
R55เป็นพิษต่อสัตว์
R56เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในดิน
R57เป็นพิษต่อน้ำ
R58อาจเกิดผลเสียในระยะยาวต่อสภาพแวดล้อม
R59ก่อเกิดผลเสียต่อชั้นโอโซน

รหัสแสดงอันตราย แบบรหัสผสม
R14/15เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำแล้วให้ก๊าซที่ไวไฟสูง
R15/29เกิดก๊าซพิษที่ไวไฟสูง เมื่อสัมผัสกับน้ำ
R20/21อันตรายเมื่อสูดดม และเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R20/22อันตรายเมื่อสูดดมและเมื่อกินเข้าไป
R20/21/22อันตรายเมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนังและเมื่อกินเข้าไป
R21/22อันตรายเมื่อสัมผัสกับผิวหนังและเมื่อกินเข้าไป
R23/24เป็นพิษ เมื่อสูดดม และเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R23/25เป็นพิษ เมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไป
R23/24/25เป็นพิษ เมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป
R24/25เป็นพิษ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป
R26/27เป็นพิษมาก เมื่อสูดดม และเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R26/28เป็นพิษมาก เมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไป
R26/27/28เป็นพิษมาก เมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป
R27/28เป็นพิษมาก เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป
R36/37ระคายเคืองต่อตา และทางเดินหายใจ
R36/38ระคายเคืองต่อตา และผิวหนัง
R36/37/38ระคายเคืองต่อตา ทางเดินหายใจ และผิวหนัง
R37/38ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ และผิวหนัง
R39/23เป็นพิษ เมื่อสูดดม เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/24เป็นพิษเมื่อสัมผัสกับผิวหนังเกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/25เป็นพิษเมื่อกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจเกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/23/24เป็นพิษ เมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนังเกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/23/25เป็นพิษ เมื่อสูดดมและกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/23/24/25เป็นพิษ เมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/26เป็นพิษมากเมื่อสูดดม เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/27เป็นพิษมากเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/28เป็นพิษมากเมื่อกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/26/27เป็นพิษมากเมื่อสูดดมและ สัมผัสกับผิวหนัง เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/26/28เป็นพิษมากเมื่อสูดดมและกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/27/28เป็นพิษมากเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/26/27/28เป็นพิษมากเมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R40/20เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม
R40/21เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R40/22เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อกินเข้าไป
R40/20/21เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนัง
R40/20/22เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม และกินเข้าไป
R40/21/22เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป
R40/20/21/22เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป
R42/23อาจเกิดการแพ้เมื่อสูดดมและสัมผัสกับผิวหนัง
R48/20อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดมเป็นเวลานาน
R48/21อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน
R48/22อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/20/21อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน
R48/20/22อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/21/22อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/20/21/22อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/23เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดมเป็นเวลานาน
R48/24เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน
R48/25เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/23/24เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน
R48/23/25เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/24/25เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/23/24/25เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไปเป็นเวลานาน


รหัสแสดงความปลอดภัย (Safety phase)
      เป็นรหัสที่แสดงคำแนะนำด้านความปลอดภัยจากสารเคมีต่าง ๆ ปัจจุบันมีอยู่ 60 แบบ โดยใช้อักษร S นำหน้าตามด้วยตัวเลข 1- 60 โดยอาจแสดงเป็นรหัสเดี่ยว เช่น S1 เป็นสารที่ต้องเก็บให้มิดชิด และแสดงรหัสผสมเช่น S1/2 เป็นสารที่ต้องเก็บให้มิดชิดและห่างจากเด็ก S3/9/14 เป็นสารที่ต้องเก็บไว้ในที่เย็น มีการระบายอากาศที่ดีและเก็บห่างจาก… (สารที่อยู่ใกล้กันไม่ได้ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตจะเป็นผู้ระบุไว้) รหัสแสดงคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยมีดังนี้

รหัสความปลอดภัย แบบรหัสเดี่ยว
S1เก็บในสถานที่มิดชิด
S2เก็บให้ห่างจากเด็ก
S3เก็บในที่เย็น
S4เก็บให้ห่างจากสิ่งมีชีวิต
S5เก็บสารไว้ใน…
S5.1…น้ำ
S5.2…ปิโตเลียม
S6เก็บไว้ภายใต้สภาวะ…
S6.1…ก๊าซไนโตรเจน
S6.2…ก๊าซอาร์กอน
S6.3…ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
S7เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท
S8เก็บในภาชนะแห้ง
S 9เก็บในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี
S12ห้ามเก็บในภาชนะปิดสนิท
S13เก็บให้ห่าง อาหาร เครื่องดื่ม และอาหารสัตว์
S14เก็บให้ห่างจาก…
S14.1…สารรีดิวซ์, สารประกอบโลหะหนัก ,กรดและด่าง
S14.2…สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก
S14.3…เหล็ก
S14.4…น้ำและด่าง
S14.5…กรด
S14.6…ด่าง
S14.7…โลหะ
S14.8…สารออกซิไดซ์และกรด
S14.9…สารอินทรีย์ไวไฟ
S14.10…กรด, สารรีดิวซ์ ,และวัสดุไวไฟ
S14.11…วัสดุไวไฟ
S15เก็บให้ห่างจากความร้อน
S16เก็บให้ห่างจากแหล่งที่มีสารติดไฟ-ห้ามสูบบุหรี่
S17เก็บให้ห่างจากวัสดุที่ไหม้ไฟได้
S18ถือและเปิดภาชนะด้วยความระมัดระวัง
S20ห้ามรับประทานหรือดื่มขณะใช้สารนี้
S21ห้ามสูบบุหรี่ขณะใช้สารนี้
S22ห้ามดูดฝุ่นละออง
S23ห้ามสูดดมแก๊ส/ควัน/ไอระเหย/ละออง
S23.1ห้ามสูดดมแก๊ส
S23.2ห้ามสูดดมไอระเหย
S23.3ห้ามสูดดมละออง
S23.4ห้ามสูดดมควัน
S23.5ห้ามสูดดมไอระเหย/ละออง
S24หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนัง
S25หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับตา
S26กรณีที่สารเข้าตา ให้ล้างออกทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ และไปพบแพทย์
S27ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกทันที
S28กรณีที่สารถูกผิวหนังให้ล้างออกทันทีด้วย…ปริมาณมาก ๆ
S28.1…น้ำ
S28.2…น้ำและสบู่
S28.3…น้ำและสบู่ และ Polyethylene glycol 400 ถ้าหาได้
S28.4…Polyethylene glycol 300: Ethanol (2:1) แล้วตามด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ และสบู่
S28.5… Polyethylene glycol 400
S28.6… Polyethylene glycol 400 และล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ
S28.7… น้ำและสบู่ที่เป็นกรด
S29ห้ามเทลงในท่อระบายน้ำ
S30ห้ามเติมน้ำลงในสารนี้
S33ระมัดระวังในการตรวจวัดประจุไฟฟ้าสถิตย์
S34หลีกเลี่ยงการกระเทือนและเสียดสี
S35สารนี้และภาชนะบรรจุต้องทำลายอย่างปลอดภัย
S35.1สารนี้และภาชนะบรรจุจะต้องเติม 2% NaOH ก่อนนำไปทำลายต่อไป
S36สวมเสื้อผ้าที่ป้องกันอย่างเหมาะสม
S37สวมถุงมือที่เหมาะสม
S38ในกรณีที่ระบบถ่ายเทอากาศไม่เพียงพอให้สวมเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสม
S39สวมเครื่องป้องกันตาและหน้า
S40ทำความสะอาดพื้นและวัสดุที่เปื้อนสารด้วย…
S41ในกรณีเกิดไฟลุกไหม้ และ /หรือระเบิด ห้ามสูดดมควัน
S42ในระหว่างเกิดควัน/ละออง ให้สวมเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสม
S43ในกรณีติดไฟ ใช้…
S43.1…น้ำ
S43.2…น้ำหรือผงดับไฟ
S43.3…ผงดับไฟ-ห้ามใช้น้ำ
S43.4…คาร์บอนไดออกไซด์-ห้ามใช้น้ำ
S43.5…Halons-ห้ามใช้น้ำ
S43.6…ทราย-ห้ามใช้น้ำ
S43.7…ผงดับไฟ-ห้ามใช้น้ำ
S43.8…ทราย,คาร์บอนไดออกไซด์ หรือผงดับไฟ-ห้ามใช้น้ำ
S44หากรู้สึกไม่สบาย ให้พบแพทย์ (นำฉลากของสารไปด้วย)
S45กรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือรู้สึกไม่สบาย ให้พบแพทย์ทันที (นำฉลากของสารไปด้วย)
S46หากกลืนสารนี้ ให้พบแพทย์ทันที และนำฉลากของสารไปด้วย
S47เก็บในที่ซึ่งอุณหภูมิไม่เกิน…oC
S48เก็บในที่เปียกด้วย…
S48.1…น้ำ
S49เก็บในภาชนะบรรจุดั้งเดิม
S50ห้ามสัมผัสกับ…
S50.1…กรด
S50.2…ด่าง
S50.3…กรดแก่, ด่างแก่, โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก หรือเกลือของมัน
S51ใช้ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทดีเท่านั้น
S52ไม่แนะนำให้ใช้ในบริเวณกว้าง
S53หลีกเลี่ยงการสัมผัส-ได้รับคำแนะนำพิเศษก่อนใช้
S54ก่อนปล่อยลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานควบคุมมลพิษ
S55ต้องมีการบำบัดด้วยวิธีที่ดีที่สุดก่อนการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
S56ห้ามปล่อยลงในท่อระบายหรือสิ่งแวดล้อม ต้องปล่อยในที่เก็บกักน้ำเสียที่ได้รับอนุญาติ
S57มีหลักการที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
S58ทำลายเช่นเดียวกับสารมีพิษอันตราย
S59ควรขอคำแนะนำจากผู้ผลิต/จำหน่อย เมื่อนำมาใช้ใหม่
S60สารนี้ และ/หรือ ภาชนะบรรจุต้องมีการทำลายเช่นเดียวกับสารมีพิษอันตราย

รหัสความปลอดภัย แบบรหัสผสม
S1/2เก็บในสถานที่ปิดสนิท และพ้นจากเด็ก
S3/7/9เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท และเก็บในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี
S3/9เก็บในที่เย็น และอากาศถ่ายเทดี
S3/9/14เก็บในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี และห่างไกลจาก…
S3/9/14.1…สารรีดิวซ์ สารประกอบโลหะหนัก กรดและด่าง
S3/9/14.2…สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก
S3/9/14.3…เหล็ก
S3/9/14.4…น้ำและด่าง
S3/9/14.5…กรด
S3/9/14.6…ด่าง
S3/9/14.7…โลหะ
S3/9/14.8…สารออกซิไดซ์ และกรด
S3/9/14/49เก็บในภาชนะเดิม ในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี และห่างไกลจาก…
S3/9/14.1/49…สารรีดิวซ์ สารประกอบโลหะหนัก กรดและด่าง
S3/9/14.2/49…สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก
S3/9/14.3/49…เหล็ก
S3/9/14.4/49…น้ำและด่าง
S3/9/14.5/49…กรด
S3/9/14.6/49…ด่าง
S3/9/14.7/49…โลหะ
S3/9/14.8/49…สารออกซิไดซ์ และกรด
S3/9/49เก็บในภาชนะเดิม และ อากาศถ่ายเทดี
S3/14เก็บในที่เย็น และห่างไกลจาก…
S3/14.1…สารรีดิวซ์ สารประกอบโลหะหนัก กรดและด่าง
S3/14.2…สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก
S3/14.3…เหล็ก
S3/14.4…น้ำและด่าง
S3/14.5…กรด
S3/14.6…ด่าง
S3/14.7…โลหะ
S3/14.8…สารออกซิไดซ์ และกรด
S7/8เก็บในภาชนะที่ปิดสนิทและแห้ง
S7/9เก็บในภาชนะที่ปิดสนิทและอากาศถ่ายเทดี
S20/21ห้ามรับประทาน ดื่ม หรือสูบบุหรี่ขณะที่ใช้สารนี้
S24/25หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนังและ ตา
S36/67สวมเสื้อผ้าและถุงมือที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน
S36/37/39สวมเสื้อผ้าและถุงมือที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน และปกป้องบริเวณตา /หน้า
S36/39สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน และปกป้องบริเวณตา /หน้า
S37/39สวมถุงมือที่เกมะสมเพื่อป้องกัน และปกป้องบริเวณตา /หน้า
S47/49เก็บในภาชนะเดิมเท่านั้นที่อุณหภูมิไม่เกิน…oC (กำหนดโดยผู้ผลิต)


ระบบสัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้มีหลายระบบ เช่น ระบบ UN ระบบ NFPA (The National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา ระบบ EEC และระบบ GHS เป็นต้น ซึ่งสัญลักษณ์ของทั้ง 4 ระบบนั้น มีดังนี้

1. ระบบ UN - United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods จำแนกสารที่เป็นอันตรายและเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้ หรือก่อให้เกิดความพินาศ เสียหาย ออกเป็น 9 ประเภท (UN-Class) ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย ดังนี้
ประเภท 1 - ระเบิดได้ (Explosives)

สารระเบิดได้ หมายถึง ของแข็งหรือของเหลว หรือสารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวมันเอง ทำให้เกิดก๊าซที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายแก่บริเวณโดยรอบได้ ซึ่งรวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย แบ่งเป็น 6 กลุ่มย่อย คือ

1.1 สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงทันทีทันใดทั้งหมด (Mass Explosive) ตัวอย่างเช่น เชื้อปะทุ ลูกระเบิด เป็นต้น
1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใด ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ชนวนปะทุ เป็นต้น
1.3 สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และอาจมีอันตรายบ้าง จากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กระสุนเพลิง เป็นต้น

1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการปะทุหรือปะทุในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ ตัวอย่างเช่น พลุอากาศ เป็นต้น
1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด
1.6 สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมากและไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัด เฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุหรือแผ่กระจาย



ประเภทที่ ก๊าซ (Gases)

ก๊าซ หมายถึง สารที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีความดันไอมากกว่า 300 กิโลปาสคาล หรือมีสภาพเป็นก๊าซ อย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และมีความดัน 101.3 กิโลปาสคาล ได้แก่ ก๊าซอัด ก๊าซพิษ ก๊าซในสภาพ ของเหลว ก๊าซในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ และรวมถึงก๊าซที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดัน เมื่อเกิดการรั่ว ไหลสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการลุกติดไฟและ/ หรือเป็นพิษและแทนที่ออกซิเจนในอากาศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
2.1 ก๊าซไวไฟ (Flammable Gases) หมายถึง ก๊าซที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสและมีความดัน 101.3 กิโลปาสกาล สามารถติดไฟได้เมื่อผสมกับ อากาศ 13 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่าโดยปริมาตร หรือมีช่วงกว้างที่สามารถติดไฟได้ 12 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป เมื่อผสมกับอากาศโดยไม่คำนึงถึง ความเข้มข้นต่ำสุดของการผสม โดยปกติก๊าซไวไฟ หนักกว่าอากาศ ตัวอย่างของก๊าซกลุ่มนี้ เช่น อะเซทิลีน ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี เป็นต้น
2.2 ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases) หมายถึง ก๊าซที่มีความดันไม่น้อยกว่า 280 กิโลปาสคาล ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส หรืออยู่ ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซหนักกว่าอากาศ ไม่ติดไฟและ ไม่เป็นพิษหรือแทนที่ออกซิเจนในอากาศและทำให้เกิด สภาวะขาดแคลน ออกซิเจนได้ ตัวอย่างของก๊าซกลุ่มนี้ เช่น ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน เป็นต้น
2.3 ก๊าซพิษ (Poison Gases) หมายถึง ก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือถึงแก่ชีวิตได้จาก การหายใจ โดยส่วนใหญ่หนักกว่าอากาศ มีกลิ่นระคายเคือง ตัวอย่างของก๊าซในกลุ่มนี้ เช่น คลอรีน เมทิลโบรไมด์ เป็นต้น


ประเภทที่ ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)

ของเหลวไวไฟ หมายถึง ของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด (Closed-cup Test) หรือไม่เกิน 65.6 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด (Opened-cup Test) ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีแหล่งประกายไฟ ตัวอย่างเช่น อะซีโตน น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ เป็นต้น


ประเภทที่ ของแข็งไวไฟ

สารที่ลุกไหม้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้

4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง ของแข็งที่สามารถติดไฟได้ง่ายจากการได้รับความร้อน จากประกายไฟ/เปลวไฟ หรือเกิดการลุกไหม้ได้จากการเสียดสี ตัวอย่างเช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไนโตรเซลลูโลส เป็นต้น หรือเป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง ตัวอย่างเช่น เกลือไดอะโซเนียม เป็นต้น หรือเป็นสารระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการเกิดระเบิด ตัวอย่างเช่น แอมโมเนียมพิเครต (เปียก) ไดไนโตรฟีนอล (เปียก) เป็นต้น
4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้เองในสภาวะการขนส่งตามปกติ หรือเกิดความร้อนสูงขึ้นได้เมื่อ สัมผัสกับอากาศและ มีแนวโน้มจะลุกไหม้ได้ 
4.3 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases) หมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้ว มีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เองหรือทำให้เกิด ก๊าซไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตราย


ประเภทที่ สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้

5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing Substances) หมายถึง ของแข็ง ของเหลวที่ตัวของสารเองไม่ติดไฟ แต่ให้ออกซิเจนซึ่งช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้และอาจจะก่อให้เกิดไฟ เมื่อสัมผัสกับสารที่ลุกไหม้และ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ โซเดียมคลอเรต เป็นต้น
5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่มีโครงสร้าง ออกซิเจนสองอะตอม -O-O- และช่วยในการเผาสารที่ลุกไหม้ หรือทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้วก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือเมื่อได้รับความร้อนหรือลุกไหม้แล้วภาชนะบรรจุสารนี้อาจระเบิดได้ ตัวอย่างเช่น อะซีโตนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น


ประเภทที่ สารพิษและสารติดเชื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้

6.1 สารพิษ (Toxic Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่สามารถทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ รุนแรงต่อสุขภาพของคน หากกลืน สูดดมหรือหายใจรับสารนี้เข้าไป หรือเมื่อสารนี้ได้รับความร้อนหรือลุกไหม้จะ ปล่อยก๊าซพิษ ตัวอย่างเช่น โซเดียมไซยาไนด์ กลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น
6.2 สารติดเชื้อ (Infectious Substances) หมายถึง สารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนหรือสารที่มีตัวอย่าง การตรวจสอบของพยาธิ สภาพปนเปื้อนที่เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคในสัตว์และคน ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียเพาะเชื้อ เป็นต้น 


ประเภทที่ วัสดุกัมมันตรังสี

วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive Materials) หมายถึง วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม ตัวอย่างเช่น โมนาไซด์ ยูเรเนียม โคบอลต์-60 เป็นต้น


ประเภทที่ สารกัดกร่อน

สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดย ปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือ ทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของ สารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อจมูกและตา ตัวอย่างเช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นต้น


ประเภทที่ วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด

วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substances and Articles) หมายถึง สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 8 ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต เป็นต้น และให้รวมถึงสารที่ต้อง ควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส ในสภาพของเหลว หรือมีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 240 องศาเซลเซียสในสภาพของแข็งในระหว่างการขนส่ง

2. ระบบ NFPA - The National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา กำหนด สัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อย ขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่
  •  สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability)
  •  สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health)
  •  สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกิริยาของสาร (Reactivity)
  •  สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย