วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

forklift push pull





แผ่นกระดานลื่นหรือสลิปซีท (Slip sheets)
1. ลักษณะแผ่นกระดานลื่น เป็นแผ่นวัสดุหนาที่ทำจากกระดาษลูกฟูก ไฟเบอร์ พลาสติก ปกติความหนาน้อยกว่า 12.5 มิลิเมตร โดยมีขอบที่ยกขึ้นมีระยะ 10-15 เซนติเมตร (tab)โดยหักขึ้นสำหรับดึงสินค้า ขึ้นขณะยกขนสินค้า ทำหน้าที่แทน พาเลท รองรับสินค้าเพื่อยกขึ้นและลงจากตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งรถยกสินค้าที่ใช้ต้องติดอุปกรณ์ดึง และผลัก (Push and Pull Device)
การออกแบบแผ่นกระดานลื่น ( Slip Sheet Design Consideration)จะพิจารณา ขนาด น้ำหนัก และระยะ วิธีการที่ทำให้เกิดความมั่นคง วิธีการจัดเก็บทั้งแบบใช้พาเลท และไม่ใช้พาเลท ชนิดอุปกรณ์ที่ดึงและผลัก
(push-pull device)อายุการใช้งานหรือจำนวนยครั้งที่ใช้ เงื่อนไขการจัดเก็บและการขนส่ง รวมถึงความชื้น และอุณหภูมิ รูปแบบการยกสินค้า จำนวนที่ยก และตำแหน่งขอบที่ยก ผิวของหน่วยยกขน วัสดุที่ใช้ผลิตแผ่นกระดานลื่นทั้งแบบยกขอบด้านเดียวและหลายมุม การใช้งานต้องมีการประกอบติดกับรถฟอร์คลิฟท์
2. การใช้งานแผ่นกระดานลื่น การใช้งานมีหลายขั้นตอน
1. เริ่มใช้งานของแผ่นกระดานลื่น
2. ใช้ ตัวดึงและผลักสินค้า (push & pull)ยืดออกไปหนีบที่ขอบแผ่นกระดานลื่น
3. ดึงพาเลทขึ้นบนงา
4. ยกพาเลทขึ้นดันพาเลท
5. นำพาเลทออกไปตั้งไว้ตามที่ต้องการ
6. ยกพาเลทขึ้นดันพาเลท และวางสินค้า กรณีใช้แผ่นแบบพับขอบด้านเดียว (single edge)
7. ยกพาเลทขึ้นดันพาเลน และวางสินค้า กรณีใช้แผ่นแบบพับขอบ 2 ด้าน (double edges)
8. การทำงานของอุปกรณ์ผลัก และดึงสินค้า
3. ประโยชน์ แผ่นกระดานลื่นมีประโยชน์ต่อไปนี้
- ทดแทนการใช้พาเลท เพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะมีความหนาน้อยกว่าพาเลทจึงบรรจุสินค้าได้มากขึ้น
- ราคาต่อชิ้นถูกกว่าพาเลท
- สามารถบรรจุสินค้าได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่าย
- ใช้เนื้อที่จัดเก็บเพียงประมาณร้อยละ 10 ของพาเลท
- ต้องใช้อุปกรณ์ ผลักและดึงติดโดยประกอบอยู่ที่งาของรถยก เพื่อช่วยจับขอบกระดาษที่ยื่นออกมา ในการดึง และผลักสินค้าที่อยู่บนงา
- การทำงานของกระดานลื่น ต้องประกอบ อุปกรณ์ ผลักและดึง ซึ่งจะติดเข้ากับที่งาของรถยกซึ่งจะยกขึ้น หรึอยกลงได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ทั้งผู้ส่งสินค้า และผู้รับสินค้า
- แผ่นกระดานลื่น ขนาดมักจะให้ใหญ่เท่ากับขนาพาเลทตัวสินค้า และมีขอบเพื่อให้ตัวหนีบจับเพื่อดึงเข้าออกจากงาขอบนี้อาจจะเป็น 1,2,3หรือ 4 ด้าน แล้วแต่จะออกแบบ
- การผลิตเป็นการสั่งตัดเฉพาะ ตามขนาดของลูกค้า จึงจำเป็นต้องมีจำนวนพอสมควรแต่ราคาจะย่อมเยาว์กว่า
4. ข้อดีและข้อเสีย แผ่นกระดาษลื่นมีประโยชน์ต่อไปนี้
ข้อดี คือส่วนมากใช้ในการขนสินค้าระยะไกล สามารถใช้ปริมาตรตู้คอนเนอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 8-15 ของพาเลท ราคาแผ่นลื่นคิดเป็นร้อยละ 10-30 ของราคาพาเลท น้ำหนักน้อยกว่าพาเลทไม้ 20 เท่า สามารถลดน้ำหนักบรรทุกของรถยนต์ และตู้คอนเทนเนอร์ได้ ลดเวลาการขึ้นและลงสินค้าร้อยละ 60 นอกจากนั้นยังไม่ต้องซ่อมบำรุง เมื่อผุพังก็เปลี่ยนใหม่ได้
ข้อเสีย กรณียกขนส่งสินค้าภายในพื้นที่ ทำได้ช้ากว่าพาเลท โครงสร้างไม่แข็งแรงทำให้สินค้าแตกหักเสียหายมากกว่า บรรทุกสินค้าได้น้อยกว่า และต้องซื้ออุปกรณ์พิเศษติดกับรถฟอร์คลิฟท์

Push Pull Attachment อุปกรณ์เสริมสำหรับ Forklift ใช้ในการหนีบ/จับแผ่น Slip Sheet (หนีบแผ่น Slip Sheet, จับแผ่น Slip Sheet, อุปกรณ์เสริม Forklift)

อุปกรณ์เสริมที่ใช้ติดตั้งเข้ากับรถ Forklift เพื่อใช้ในงานบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ โดยใช้แผ่น Slip Sheet แทนพาเลททั่วไป สามารถช่วยลดต้นทุนด้านการจัดส่งสินค้า และลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า

ประเภทของสินค้าที่สามารถใช้งานกับ Slip Sheet
- ประเภท เครื่องสำอางค์ บรรจุลังกระดาษ
- ประเภท เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องซักผ้า เตาอบ ตู้เย็น จอภาพ LCD
- ประเภท อาหาร และผลไม้ บรรจุในกระป๋อง
- ประเภท เมล็ด บรรจุในกระสอบ ถุงจัมโบ้ เช่น ข้าว แป้ง เมล็ดธัญพืช น้ำตาลทราย
- ประเภท ชิ้นส่วนรถยนต์

มีหลายประเภทให้เลือกใช้งาน
- แบบมี Sideshift ในตัว
- แบบติดตั้งกับรถ Forklift ด้วยการแขวนบนแผงงา (Hook on)
- แบบติดตั้งกับรถ Forklift ด้วยการวางทับบนงา (Slip Sheet)
- แบบมีฟังก์ชั่น Sheet retaining หรือ Sheetsave

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การตรวจสอบรถโฟล์คลิฟท์ (forklift) รถยกลาก ที่โดนน้ำท่วม

อุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 ได้ก่อความเสียหายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก แม้ว่าจะพยายามป้องกันและขนย้ายสิ่งของไว้แล้วก็ตาม แต่ในกลุ่มอุปกรณ์ขนาดใหญ่ เช่น รถยกโฟล์คลิฟท์ รถยกลากจำนวนมาก อาจไม่สามารถเคลื่อนย้ายไว้ในที่ปลอดภัยได้ทัน อย่างไรก็ตาม เมื่อน้ำได้ลดลงแล้ว ผู้ใช้งานควรรีบเข้าตรวจสอบทันที โดยมีวิธีตรวจสอบเบื้องต้นทั้งในกลุ่มรถยกที่ใช้เครื่องยนต์และรถยกไฟฟ้าดังนี้

6 จุดสำคัญในการตรวจสอบรถยกโฟล์คลิฟท์ที่ใช้เครื่องยนต์

1.ระบบไฟฟ้า รถยกเครื่องยนต์ที่น้ำท่วมขัง อาจทำให้ปลั๊กข้อต่อต่างๆ กล่องฟิวส์ กล่องควบคุม(ECU)มีน้ำขังอยู่ ผู้ใช้งานควรถอดปลั๊กข้อต่อสายไฟออก เพื่อทำความสะอาดและไล่ความชื้น สำหรับแบ็ตเตอรี่ หากโดนน้ำท่วมขังจะทำให้เสื่อมสภาพ ควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

2.ระบบเครื่องยนต์ ควรทำการเปลี่ยนถ่ายระบบของเหลวทั้งหมดของรถ เช่นน้ำในหม้อน้ำ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง กรองเครื่อง กรองน้ำมันเชื้อเพลงใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่ดืของเครื่องยนต์ นอกจากนี้ให้ตรวจการอุดตันของรังผึ้งโดยเอาเศษขยะออก และใช้ลมจากปั๊มลมเป่าให้ทั่ว ถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากถังน้ำมัน ใช้ลมเป่าที่ท่อทางน้ำมันเพื่อไล่น้ำออกจากท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง

เครื่องเบนซิน เครื่องแก๊ส ตรวรสอบชุดสายหัวเทียน ชุดจานจ่าย ระบบท่อแก๊ส มีการเปื่อย ปวม ฉีกขาดหรือไม่ ควรเปลี่ยนไส้กรองแก๊ส ส่วนหม้อต้มแก๊สและชุดคาร์บูเรเตอร์ควรถอดล้างใหม่

เครื่องดีเซล ตรวจสอบน้ำในท่อทางน้ำมัน ปั๊มจ่าย และหัวฉีด โดยการคลายสกรูฝาครอบออก อีกส่วนที่สำคัญ คือการตรวจสอบห้องเผาไหม้เครื่องยนต์ ซื่งน้ำสามารถเข้าไปทาง วาวล์ไอดี-ไอเสียได้ ควรไล่น้ำออกทางปลั๊กหัวเทียน หรือหัวฉีด (โดยใช้การแวคอากาศกับท่อลมจากปั๊ม ปั๊มแวคระบบแอร์ ไฮโดรมิเตอร์สำหรับวัดน้ำยาแบตเตอรี่ที่มีปลายยาวปั้มออกก็ได้) ส่วนที่ไดร์สตาร์ทและไดร์ชาร์ทของเครื่องยนต์ ให้ตรวจสอบการซ็อตของอุปกรณ์และไล่ความชื้นออก ซึ่งอาจส่งต่อให้ร้านมอเตอร์ช่วยตรวจสอบได้

3. เกียร์และเฟืองท้าย ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันใหม่ หากเป็นเกียร์ออโต้ ให้ทำความสะอาดท่อหายใจเพื่อป้องกันการอุดตัน

4.ระบบไฮดรอลิค ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน กรองน้ำมัน และทำความสะอาดฝาถังที่มีรูหายใจให้สะอาด ตรวจเช็คสนิมที่ลูกปืนรางเสาและทำความสะอาดแผงงา งา โซ่ยก พร้อมใช้น้ำมันหล่อลื่นหรือจารบีหล่อลื่น โดยเฉพาะที่คันโยก ให้ใช้น้ำมันหล่อลื่นตามข้อต่อต่างๆ สำหรับท่อน้ำมันไฮดรอลิคส์ที่แช่น้ำมักมีอาการบวม พอง หรือฉีกขาด ต้องเปลี่ยนใหม่

5.ล้อและเบรก ตรวจสอบตลับลูกปืนที่ดุมล้อ และเปลี่ยนจารบีลูกปืนล้อใหม่ทั้ง 4 ล้อ ในส่วนของผ้าเบรก ถ้าพบว่าอมน้ำหรือน้ำมันควรเปลี่ยนใหม่ และให้ทำความสะอาดชุดสปริงผ้าเบรกล่าง และตรวจสอบและเปลี่ยนชุดซีลปั๊มล้อล่าง ซีลปั๊มเบรกบน ไล่น้ำมันเบรกเก่าออกให้หมด

6. ตรวจสอบสภาพตัวรถภายนอก ทำความสะอาดตัวรถ โดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดรอบตัวรถทั้งภายในและภายนอก รวมถึงความสะอาดที่เบาะนั่ง


ข้อควรระวัง
การสตาร์ทเครื่องยนต์ที่โดนน้ำท่วม อาจทำให้เกิดความเสียหายที่ระบบไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิค ผู้ใช้ควรถอดขั้วแบตเตอรี่ขั้วลบออก

การตรวจสอบรถยกเครื่องยนต์อย่างถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้มั่นใจในการทำงานแล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานมากขึ้นด้วย สำหรับในกลุ่มรถยกและรถยกลากไฟฟ้า ซึ่งเป็นอีกกลุ่มรถยกที่ควรให้ความสำคัญ และมีวิธีการตรวจสอบระบบการทำงานที่แตกต่างจากรถยกเครื่องยนต์

8 จุดสำคัญในการตรวจสอบรถยกโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

1.ตรวจสอบมอเตอร์ขับเคลื่อน/มอเตอร์ระบบไฮดรอลิกส์
มอเตอร์กระแสสลับ (AC Motor) ตรวจสอบชุดขดลวดมอเตอร์ ทำความสะอาดแล้วไล่ความชื้นด้วยน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว (contact cleaner หรือ degreaser cleaner) จนอุปกรณ์แห้งสนิทดีแล้ว จึงตรวจสอบความเป็นฉนวนของมอเตอร์ด้วยมัลลิมิเตอร์หรือเมกกะโอห์มมิเตอร์ ซึ่งหากพบว่าความเป็นฉนวนต่ำ (ต่ำกว่า 1 เมกกะโอห์ม)ควรส่งซ่อม รวมถึงเปลี่ยนชุดลูกปืนในมอเตอร์ทั้งหมด
มอเตอร์กระแสตรง (DC Motor) ให้ทำการตรวจสอบเบื้องต้นเช่นเดียวกับมอเตอร์กระแสสลับและตรวจสอบเพิ่มเติมที่ชุดแปรงถ่าน โดยปกติแปรงถ่านที่โดนความชื่นจะชำรุดหรือเสื่อมสภาพได้ง่าย ผู้ใช้งานควรเปลี่ยนชุดแปรงถ่านทั้งหมด

2. แบตเตอรี่ ให้ตรวจสอบค่าของแรงดันของแบตเตอรี่ด้วยมัลติมิเตอร์ควรจะมีค่าไม่ต่ำกว่า 85 % ของพิกัดแรงดันแบตเตอรี่ลูกนั้นๆ และใช้ไฮดรอมิเตอร์วัดค่าความถ่วงจำเพาะของแบตเตอรี่ ต้องไม่ต่ำกว่า 1.100 นอกจากนี้หากพบว่าน้ำเข้าในแบตเตอรี่ ควรทำการเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากแบตเตอรี่มีการเสื่อมสภาพแล้ว

3. ระบบควบคุมรถ เช่น กล่องควบคุม หน้าจอแสดงผลการทำงาน ฯลฯ ให้ถอดทำความสะอาดกล่องควบคุมและไล่ความชื่นที่แผงวงจรด้วยน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว (contact cleaner หรือ degreaser cleaner)จนแห้งสนิม กล่องควบคุมและแผงวงจร นี้มีเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้งานควรตรวจสอบอย่างละเอียดในกรณีที่พบสนิมในวงจรหรืออุปกรณ์แผงวงจร ควรเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด

4. ชุดสายไฟ/ปลั๊กข้อต่อต่างๆ เมนคอนแท๊คเตอร์ ควรอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีจุดที่ฉนวนฉีกขาด ถ้าพบคราบสนิมให้กำจัดคราบ และทำความสะอาดและไล่ความชื่นของอุปกรณ์ต่างๆด้วยน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว (contact cleaner หรือ degreaser cleaner)ถ้าไม่สามารถกำจัดได้ควรเปลี่ยนใหม่

5. ชุดเกียร์ เมื่อน้ำท่วมอาจมีน้ำบางส่วนเข้าไปผสมกับน้ำมันเกียร์และจารบี ทำให้ความสามรถในการหล่อลื่นชุดเกียร์น้อยลง ผู้ใช้งานควรปลี่ยนน้ำมันเกียร์และจารบีใหม่

6. ระบบไฮดรอลิกส์ ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันไฮดรอลิกส์และทำความสะอาดระบบไฮดรอลิกส์ทั้งระบบ เพราะความชื้นอาจทำให้เกิดสนิมในระบบไฮดรอลิกส์ได้

7. ตู้ชาร์จ ควรนำออกมาตรวจสอบโดยถอดวงจรชุดควบคุมการชาร์จ หม้อแปลงไฟฟ้าทำความสะอาดและไล่ความชื้นด้วยน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว (contact cleaner หรือ degreaser cleaner)และเมื่อทุกส่วนแห้งแล้วให้ทดสอบการใช้งาน

8. ตรวจสอบสภาพตัวรถภายนอกและทำความสะอาด โดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดเช็ดรอบตัวรถรวมถึงเบาะนั่งรถยกโฟร์คลิฟท์และรถยกลากทั้งระบบเครื่องยนต์และไฟฟ้า ถือเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและมีราคาแพง การตรวจสอบอย่างถูกวิธีจะช่วยเพิ่มความคุ้มค่าในการใช้งาน อย่างไรก็ตามหลังการตรวจสอบเบื้องต้นและผู้ใช้งานได้ใช้งานไปแล้วหากพบการทำงานผิดปกติหรือยังไม่มั่นใจในการใช้งานผู้ใช้งานสามารถติดต่อศูนย์ซ่อมบริการเพื่อให้เข้าตรวจสอบเพิ่มเติมได้อีกเช่นกัน


WWW.PCNFORKLIFT.COM