สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ยุคปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีระดับหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้อง และเพื่อจะสามารถหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดกับสุขภาพหรือชีวิต
นอกจากนี้สารเคมีที่เหลือทิ้งจะต้องมีวิธีการกำจัดที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายกับระบบนิเวศน์ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืชได้ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตราย (Safety Signs) เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายสากลที่เข้าใจตรงกัน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถป้องกันอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ สัญลักษณ์และรหัสต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถพบได้ในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย (Material Safety Data Sheet, MNDS) ในคู่มือการใช้สารเคมีของบริษัทผู้ผลิต จากฉลากที่ติดบนภาชนะบรรจุ หรือที่ติดอยู่บนรถบรรทุกสารเคมีนั้น ๆ
นอกจากนี้สารเคมีที่เหลือทิ้งจะต้องมีวิธีการกำจัดที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายกับระบบนิเวศน์ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืชได้ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตราย (Safety Signs) เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายสากลที่เข้าใจตรงกัน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถป้องกันอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ สัญลักษณ์และรหัสต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถพบได้ในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย (Material Safety Data Sheet, MNDS) ในคู่มือการใช้สารเคมีของบริษัทผู้ผลิต จากฉลากที่ติดบนภาชนะบรรจุ หรือที่ติดอยู่บนรถบรรทุกสารเคมีนั้น ๆ
สัญลักษณ์แสดงอันตราย (Safety Signs) |
ระบบสัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้กันมีหลายระบบ เช่น ระบบ NFPA (The National Fire Protection Association ) ของสหรัฐอเมริกา ระบบ EEC (The European Economic Council) และระบบ IMO (International Maritime Organization) เป็นต้น ซึ่งจะขอกล่าวรายละเอียดเฉพาะสองระบบแรก
รูปที่ 1 สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบ NFPA
1. ระบบ NFPA กำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) กล่าวคือเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทะแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อยขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่ สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ(Flammability) สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health) สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกริยาของสาร (Reactivity) สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลย 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย ดังรูปที่ 1 และสรุปรายละเอียดสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบนี้ในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สรุปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบ NFPA
สี่เหลี่ยมพื้นสีแดง
ด้านบน |
สี่เหลี่ยมพื้นสีน้ำเงิน
ด้านซ้าย |
สี่เหลี่ยมพื้นสีเหลือง
ด้านขวา |
สี่เหลี่ยมพื้นสีขาว
ด้านล่าง |
แสดงอันตรายจากไฟ(Flammability) | แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health) | แสดงความไวต่อปฏิกริยาของสาร (Reactivity) | แสดงช้อควรระวังพิเศษ (Special notice) |
ระดับ 4 สารไวไฟมาก ได้แก่สารที่ระเหยเป็นไอได้รวดเร็วที่อุณหภูมิห้องที่ความดันบรรยากาศ เมื่อกระจายตัวผสมกับอากาศแล้วติดไฟได้ หรือของเหลวที่มีจุดวาบไฟ (Flash point) ต่ำกว่า 22.8 oC จุดเดือดน้อยกว่า 37.8 oC รวมทั้งสารที่ติดไฟได้เอง เมื่อสัมผัสกับอากาศ | ระดับ 4 สารที่ได้รับเพียงเล็กน้อยจะทำให้ตายได้ หรือเป็นอันตรายรุนแรงได้รวมทั้งสารที่จะเป็นอันตรายอย่างมาก ถ้าใช้งานโดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกัน | ระดับ 4 สารที่สามารถย่อยสลายตัวหรือระเบิดได้ด้วยตัวเองที่อุณหภูมิห้องและความดันปกติ รวมถึงสารที่ไวต่อความร้อน และแรงสั่นสะเทือน | เนื่องจากสารบางชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวที่ควรสนใจเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ คุณสมบัติของสารเหล่านี้จะแสดงด้วยอักษรย่อ หรือสัญลักษณ์ ดังนี้ OX: เป็นสารออกซิไดซ์ สารเหล่านี้เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีจะให้ออกซิเจน หรืออีเลคตรอน W: เป็นสารที่ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ |
ระดับ 3 ของเหลวหรือของแข็งที่ติดไฟได้ในอากาศ ที่อุณหภูมิปกติ ได้แก่สารที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า 22.8 oC และมีจุดเดือดมากกว่า 37.8 oC | ระดับ 3 สารที่เมื่อสูดดมในเวลาสั้น ๆ หรือสัมผัสผิวหนัง ประมาณเล็กน้อยจะเป็นอันตรายร้ายแรงชั่วคราว หรือมีผลตกค้างได้ | ระดับ 3 สารที่สลายหรือเกิดระเบิดได้ เมื่อได้รับความร้อนหรือแรงสันสะเทือนที่สูงพอ รวมถึงที่เกิดระเบิดได้เมื่อถูกน้ำ | |
ระดับ 2 สารที่ต้องใช้ความร้อนปานกลางก่อนจะติดไฟในอากาศ ถ้ามีปริมาณมากพออาจก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นพิษได้ ได้แก่ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ สูงกว่า 37.8 oC แต่ไม่เกิน 93.4oC | ระดับ 2 สารที่เมื่อได้รับในปริมาณที่มากพอจะทำให้เกิดทุพพลภาพชั่วคราว หรือถาวรได้ รวมถึงสารที่ต้องใช้เครื่องป้องกันอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ | ระดับ 2 สารที่จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงในอุณหภูมิและความดันปกติ รวมถึงสารที่เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ | |
ระดับ 1 สารประเภทที่ต้องให้ความร้อนสูงก่อนจะติดไฟและเผาไหม้ในอากาศได้ ได้แก่สารที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 93.4 oC | ระดับ 1 สารที่เมื่อได้รับในระยะเวลาสั้น ๆ จะเกิดการระคายเคืองได้ | ระดับ 1 สารประเภทนี้ จะมีความคงตัวในสภาวะปกติ แต่ไม่มีความคงตัวเมื่ออุณหภูมิหรือความดันเพิ่ม รวมถึงสารที่สลายตัวเมื่อถูกอากาศ แสงสว่าง หรือความชื้น | |
ระดับ 0 วัตถุที่ไม่ติดไฟในอากาศ แม้ว่าจะให้ความร้อนสูงถึง 815.5 oC นานถึง 5 นาที | ระดับ 0 สารประเภทนี้ ไม่เป็นอันตราย นอกจากเวลาติดไฟ | ระดับ 0 สารประเภทนี้มีความคงตัวสูง แม้ว่าจะได้รับความร้อนก็ตาม รวมถึงสารที่ไม่ทำปฏิกริยากับน้ำ |
2. ระบบ EEC ตามข้อกำหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงอันตรายจะแบ่งออกตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์แสดงอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม และมีอักษรย่อกำกับที่มุมขวา สัญลักษณ์ระบบ EEC ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่
ภาพที่ 1 สารที่ระเบิดได้ (Explosive) เป็นสารที่อาจระเบิดได้ เมื่อได้รับการกระทบกระเทือน การเสียดสี ประกายไฟ และความร้อน
ภาพที่ 2 สารเร่งการติดไฟ (Oxidizing) เป็นสารที่สามารถให้ออกซิเจนออกมาเร่งการลุกไหม้ เมื่อสัมผัสกับสารไวไฟ หรือสารที่ติดไฟง่าย อาจก่อให้เกิดการติดไฟขึ้น
ภาพที่ 3 สารไวไฟสูง (Highly Flammable) เป็นแก๊สที่ไวไฟสูงหรือของเหลว ที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 0 oC และมีจุดเดือดไม่เกิน 35oC
ภาพที่ 4 สารไวไฟ (Flammable) เป็นของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 21oC พวกเปอร์ออกไซด์ของสารอินทรีย์และแก๊ซหรือแก๊สเหลวที่ติดไฟที่ความดันปกติ รวมทั้งสารเคมีที่เมื่อสัมผัสกับน้ำและอากาศชื้นแล้วก่อให้เกิดแก๊สไวไฟสูง
ภาพที่ 5 สารกัดกร่อน (Corrosive) เป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนและทำลายเมื่อสัมผัสกับสารหรือไอสาร
ภาพที่ 6 สารมีพิษ (Toxic) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทางระบบหายใจ ทางปาก และทางผิวหนัง อาจก่อให้เกิดพิษชนิดเฉียบพลันหรือชนิดสะสมในร่างกาย
ภาพที่ 7 สารระคายเคือง (Irritant) สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนี้อเยื่อตา ผิวหนัง หรือระบบทางเดินหายใจ
ภาพที่ 8 สารอันตราย (Harmful) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ ทางปากและทางผิวหนัง สารบางชนิดอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้
ภาพที่ 9 สารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) เป็นสารที่ให้กัมมันตรังสีออกมาในปริมาณที่มากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม
รหัสแสดงความเสี่ยง (Risk phase) |
เป็นรหัสที่ใช้บ่งบอกลักษณะของความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดจากสารเคมี ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 59 แบบ โดยใช้อักษร R นำหน้า ตามด้วยตัวเลข 1 ถึง 59 ที่แสดงรหัสความเสี่ยง รหัสแสดงความเสี่ยงอาจเป็นแบบรหัสเดี่ยว เช่น R20 หมายถึง เป็นสารที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดม หรือรหัสแบบผสม เช่น R 20/21 หมายถึง เป็นสารอันตรายที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดมและสัมผัสทางผิวหนัง และ R20/21/22 หมายถึง สารที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดมสัมผัสทางผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไปเป็นต้น รหัสแสดงความเสี่ยงต่ออันตรายมีดังนี้
รหัสแสดงอันตราย แบบรหัสเดี่ยว
รหัสแสดงอันตราย แบบรหัสเดี่ยว
R1 | เกิดระเบิดได้เมื่อสารแห้ง |
R2 | มีความเสี่ยงต่อการระเบิดเมื่อกระเทือน เสียดสี ถูกเปลวไฟ หรือมีประกายไฟเกิดขึ้น |
R3 | มีความเสี่ยงสูงต่อการระเบิดเมื่อกระเทือน เสียดสี ถูกเปลวไฟ หรือมีประกายไฟเกิดขึ้น |
R4 | เกิดเป็นสารประกอบโลหะที่ไวไฟต่อการระเบิด |
R5 | เกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อน |
R6 | เกิดระเบิดได้ไม่ว่าจะสัมผัสกับอากาศหรือไม่ |
R7 | อาจติดไฟได้ |
R8 | อาจติดไฟได้เมื่อสัมผัสกับวัตถุเชื้อเพลิง |
R9 | ระเบิดเมื่อผสมกับวัตถุเชื้อเพลิง |
R10 | สารไวไฟ |
R11 | สารไวไฟสูง |
R12 | สารไวไฟสูงมาก |
R13 | ก๊าซเหลวไวไฟสูงมาก |
R14 | เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ |
R15 | เกิดก๊าซไวไฟสูงเมื่อสัมผัสกับน้ำ |
R15.1 | เกิดก๊าซไวไฟสูงเมื่อสัมผัสกับกรด |
R16 | ระเบิดเมื่อผสมกับสารออกซิไดซ์ |
R17 | ติดไฟได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศ |
R18 | ขณะใช้งานอาจเกิดสารผสมระหว่างอากาศกับไอระเหยที่ติดไฟได้หรือระเบิดได้ |
R19 | อาจเกิดสารเปอร์ออกไซด์ที่ระเบิดได้ |
R20 | อันตรายเมื่อสูดดม |
R21 | อันตรายเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง |
R22 | อันตรายเมื่อกินเข้าไป |
R23 | เป็นพิษเมื่อสูดดม |
R24 | เป็นพิษเมื่อสัมผัสผิวหนัง |
R25 | เป็นพิษเมื่อกินเข้าไป |
R26 | เป็นพิษมากเมื่อสูดดม |
R27 | เป็นพิษมากเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง |
R28 | เป็นพิษมากเมื่อกินเข้าไป |
R29 | เกิดก๊าซพิษเมื่อสัมผัสกับน้ำ |
R30 | เปลี่ยนเป็นสารไวไฟสูงได้ในขณะใช้งาน |
R31 | เกิดก๊าซพิษเมื่อสัมผัสกับกรด |
R 31.1 | เกิดก๊าซพิษเมื่อสัมผัสกับด่าง |
R32 | เกิดก๊าซมิพิษมากเมื่อสัมผัสกับกรด |
R33 | อันตรายจากการสะสม (ในร่างกาย) |
R34 | เกิดแผลไหม้ได้ |
R35 | เกิดแผลไหม้รุนแรงได้ |
R36 | ระคายเคืองต่อตา |
R37 | ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ |
R38 | ระคายเคืองต่อผิวหนัง |
R39 | อันตรายร้ายแรงต่อร่างกายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R40 | มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R41 | เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายร้ายแรงที่ตา |
R42 | อาจเกิดอาการแพ้เมื่อสูดดม |
R43 | อาจเกิดอาการแพ้เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง |
R44 | เสี่ยงต่อการระเบิดเมื่อได้รับความร้อนภายในพื้นที่จำกัด |
R45 | อาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
R46 | อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการถ่ายทอดทางพันธุกรรม |
R47 | อาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ |
R48 | เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ เมื่อได้รับติดต่อเป็นเวลานาน |
R49 | อาจก่อให้เกิดมะเร็งจากการสูดดม |
R50 | เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ |
R51 | อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ |
R52 | อาจเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ |
R53 | อาจเกิดผลเสียในระยะยาวต่อสภาพแวดล้อมของน้ำ |
R54 | เป็นพิษต่อพืช |
R55 | เป็นพิษต่อสัตว์ |
R56 | เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในดิน |
R57 | เป็นพิษต่อน้ำ |
R58 | อาจเกิดผลเสียในระยะยาวต่อสภาพแวดล้อม |
R59 | ก่อเกิดผลเสียต่อชั้นโอโซน |
รหัสแสดงอันตราย แบบรหัสผสม
R14/15 | เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำแล้วให้ก๊าซที่ไวไฟสูง |
R15/29 | เกิดก๊าซพิษที่ไวไฟสูง เมื่อสัมผัสกับน้ำ |
R20/21 | อันตรายเมื่อสูดดม และเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง |
R20/22 | อันตรายเมื่อสูดดมและเมื่อกินเข้าไป |
R20/21/22 | อันตรายเมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนังและเมื่อกินเข้าไป |
R21/22 | อันตรายเมื่อสัมผัสกับผิวหนังและเมื่อกินเข้าไป |
R23/24 | เป็นพิษ เมื่อสูดดม และเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง |
R23/25 | เป็นพิษ เมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไป |
R23/24/25 | เป็นพิษ เมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป |
R24/25 | เป็นพิษ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป |
R26/27 | เป็นพิษมาก เมื่อสูดดม และเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง |
R26/28 | เป็นพิษมาก เมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไป |
R26/27/28 | เป็นพิษมาก เมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป |
R27/28 | เป็นพิษมาก เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป |
R36/37 | ระคายเคืองต่อตา และทางเดินหายใจ |
R36/38 | ระคายเคืองต่อตา และผิวหนัง |
R36/37/38 | ระคายเคืองต่อตา ทางเดินหายใจ และผิวหนัง |
R37/38 | ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ และผิวหนัง |
R39/23 | เป็นพิษ เมื่อสูดดม เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/24 | เป็นพิษเมื่อสัมผัสกับผิวหนังเกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/25 | เป็นพิษเมื่อกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจเกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/23/24 | เป็นพิษ เมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนังเกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/23/25 | เป็นพิษ เมื่อสูดดมและกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/23/24/25 | เป็นพิษ เมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/26 | เป็นพิษมากเมื่อสูดดม เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/27 | เป็นพิษมากเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/28 | เป็นพิษมากเมื่อกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/26/27 | เป็นพิษมากเมื่อสูดดมและ สัมผัสกับผิวหนัง เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/26/28 | เป็นพิษมากเมื่อสูดดมและกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/27/28 | เป็นพิษมากเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R39/26/27/28 | เป็นพิษมากเมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ |
R40/20 | เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม |
R40/21 | เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง |
R40/22 | เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อกินเข้าไป |
R40/20/21 | เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนัง |
R40/20/22 | เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม และกินเข้าไป |
R40/21/22 | เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป |
R40/20/21/22 | เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป |
R42/23 | อาจเกิดการแพ้เมื่อสูดดมและสัมผัสกับผิวหนัง |
R48/20 | อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดมเป็นเวลานาน |
R48/21 | อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน |
R48/22 | อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน |
R48/20/21 | อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน |
R48/20/22 | อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน |
R48/21/22 | อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน |
R48/20/21/22 | อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน |
R48/23 | เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดมเป็นเวลานาน |
R48/24 | เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน |
R48/25 | เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน |
R48/23/24 | เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน |
R48/23/25 | เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน |
R48/24/25 | เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไปเป็นเวลานาน |
R48/23/24/25 | เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไปเป็นเวลานาน |
รหัสแสดงความปลอดภัย (Safety phase) |
เป็นรหัสที่แสดงคำแนะนำด้านความปลอดภัยจากสารเคมีต่าง ๆ ปัจจุบันมีอยู่ 60 แบบ โดยใช้อักษร S นำหน้าตามด้วยตัวเลข 1- 60 โดยอาจแสดงเป็นรหัสเดี่ยว เช่น S1 เป็นสารที่ต้องเก็บให้มิดชิด และแสดงรหัสผสมเช่น S1/2 เป็นสารที่ต้องเก็บให้มิดชิดและห่างจากเด็ก S3/9/14 เป็นสารที่ต้องเก็บไว้ในที่เย็น มีการระบายอากาศที่ดีและเก็บห่างจาก… (สารที่อยู่ใกล้กันไม่ได้ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตจะเป็นผู้ระบุไว้) รหัสแสดงคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยมีดังนี้
รหัสความปลอดภัย แบบรหัสเดี่ยว
S1 | เก็บในสถานที่มิดชิด |
S2 | เก็บให้ห่างจากเด็ก |
S3 | เก็บในที่เย็น |
S4 | เก็บให้ห่างจากสิ่งมีชีวิต |
S5 | เก็บสารไว้ใน… |
S5.1 | …น้ำ |
S5.2 | …ปิโตเลียม |
S6 | เก็บไว้ภายใต้สภาวะ… |
S6.1 | …ก๊าซไนโตรเจน |
S6.2 | …ก๊าซอาร์กอน |
S6.3 | …ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ |
S7 | เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท |
S8 | เก็บในภาชนะแห้ง |
S 9 | เก็บในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี |
S12 | ห้ามเก็บในภาชนะปิดสนิท |
S13 | เก็บให้ห่าง อาหาร เครื่องดื่ม และอาหารสัตว์ |
S14 | เก็บให้ห่างจาก… |
S14.1 | …สารรีดิวซ์, สารประกอบโลหะหนัก ,กรดและด่าง |
S14.2 | …สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก |
S14.3 | …เหล็ก |
S14.4 | …น้ำและด่าง |
S14.5 | …กรด |
S14.6 | …ด่าง |
S14.7 | …โลหะ |
S14.8 | …สารออกซิไดซ์และกรด |
S14.9 | …สารอินทรีย์ไวไฟ |
S14.10 | …กรด, สารรีดิวซ์ ,และวัสดุไวไฟ |
S14.11 | …วัสดุไวไฟ |
S15 | เก็บให้ห่างจากความร้อน |
S16 | เก็บให้ห่างจากแหล่งที่มีสารติดไฟ-ห้ามสูบบุหรี่ |
S17 | เก็บให้ห่างจากวัสดุที่ไหม้ไฟได้ |
S18 | ถือและเปิดภาชนะด้วยความระมัดระวัง |
S20 | ห้ามรับประทานหรือดื่มขณะใช้สารนี้ |
S21 | ห้ามสูบบุหรี่ขณะใช้สารนี้ |
S22 | ห้ามดูดฝุ่นละออง |
S23 | ห้ามสูดดมแก๊ส/ควัน/ไอระเหย/ละออง |
S23.1 | ห้ามสูดดมแก๊ส |
S23.2 | ห้ามสูดดมไอระเหย |
S23.3 | ห้ามสูดดมละออง |
S23.4 | ห้ามสูดดมควัน |
S23.5 | ห้ามสูดดมไอระเหย/ละออง |
S24 | หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนัง |
S25 | หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับตา |
S26 | กรณีที่สารเข้าตา ให้ล้างออกทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ และไปพบแพทย์ |
S27 | ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกทันที |
S28 | กรณีที่สารถูกผิวหนังให้ล้างออกทันทีด้วย…ปริมาณมาก ๆ |
S28.1 | …น้ำ |
S28.2 | …น้ำและสบู่ |
S28.3 | …น้ำและสบู่ และ Polyethylene glycol 400 ถ้าหาได้ |
S28.4 | …Polyethylene glycol 300: Ethanol (2:1) แล้วตามด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ และสบู่ |
S28.5 | … Polyethylene glycol 400 |
S28.6 | … Polyethylene glycol 400 และล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ |
S28.7 | … น้ำและสบู่ที่เป็นกรด |
S29 | ห้ามเทลงในท่อระบายน้ำ |
S30 | ห้ามเติมน้ำลงในสารนี้ |
S33 | ระมัดระวังในการตรวจวัดประจุไฟฟ้าสถิตย์ |
S34 | หลีกเลี่ยงการกระเทือนและเสียดสี |
S35 | สารนี้และภาชนะบรรจุต้องทำลายอย่างปลอดภัย |
S35.1 | สารนี้และภาชนะบรรจุจะต้องเติม 2% NaOH ก่อนนำไปทำลายต่อไป |
S36 | สวมเสื้อผ้าที่ป้องกันอย่างเหมาะสม |
S37 | สวมถุงมือที่เหมาะสม |
S38 | ในกรณีที่ระบบถ่ายเทอากาศไม่เพียงพอให้สวมเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสม |
S39 | สวมเครื่องป้องกันตาและหน้า |
S40 | ทำความสะอาดพื้นและวัสดุที่เปื้อนสารด้วย… |
S41 | ในกรณีเกิดไฟลุกไหม้ และ /หรือระเบิด ห้ามสูดดมควัน |
S42 | ในระหว่างเกิดควัน/ละออง ให้สวมเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสม |
S43 | ในกรณีติดไฟ ใช้… |
S43.1 | …น้ำ |
S43.2 | …น้ำหรือผงดับไฟ |
S43.3 | …ผงดับไฟ-ห้ามใช้น้ำ |
S43.4 | …คาร์บอนไดออกไซด์-ห้ามใช้น้ำ |
S43.5 | …Halons-ห้ามใช้น้ำ |
S43.6 | …ทราย-ห้ามใช้น้ำ |
S43.7 | …ผงดับไฟ-ห้ามใช้น้ำ |
S43.8 | …ทราย,คาร์บอนไดออกไซด์ หรือผงดับไฟ-ห้ามใช้น้ำ |
S44 | หากรู้สึกไม่สบาย ให้พบแพทย์ (นำฉลากของสารไปด้วย) |
S45 | กรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือรู้สึกไม่สบาย ให้พบแพทย์ทันที (นำฉลากของสารไปด้วย) |
S46 | หากกลืนสารนี้ ให้พบแพทย์ทันที และนำฉลากของสารไปด้วย |
S47 | เก็บในที่ซึ่งอุณหภูมิไม่เกิน…oC |
S48 | เก็บในที่เปียกด้วย… |
S48.1 | …น้ำ |
S49 | เก็บในภาชนะบรรจุดั้งเดิม |
S50 | ห้ามสัมผัสกับ… |
S50.1 | …กรด |
S50.2 | …ด่าง |
S50.3 | …กรดแก่, ด่างแก่, โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก หรือเกลือของมัน |
S51 | ใช้ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทดีเท่านั้น |
S52 | ไม่แนะนำให้ใช้ในบริเวณกว้าง |
S53 | หลีกเลี่ยงการสัมผัส-ได้รับคำแนะนำพิเศษก่อนใช้ |
S54 | ก่อนปล่อยลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานควบคุมมลพิษ |
S55 | ต้องมีการบำบัดด้วยวิธีที่ดีที่สุดก่อนการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ |
S56 | ห้ามปล่อยลงในท่อระบายหรือสิ่งแวดล้อม ต้องปล่อยในที่เก็บกักน้ำเสียที่ได้รับอนุญาติ |
S57 | มีหลักการที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม |
S58 | ทำลายเช่นเดียวกับสารมีพิษอันตราย |
S59 | ควรขอคำแนะนำจากผู้ผลิต/จำหน่อย เมื่อนำมาใช้ใหม่ |
S60 | สารนี้ และ/หรือ ภาชนะบรรจุต้องมีการทำลายเช่นเดียวกับสารมีพิษอันตราย |
รหัสความปลอดภัย แบบรหัสผสม
S1/2 | เก็บในสถานที่ปิดสนิท และพ้นจากเด็ก |
S3/7/9 | เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท และเก็บในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี |
S3/9 | เก็บในที่เย็น และอากาศถ่ายเทดี |
S3/9/14 | เก็บในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี และห่างไกลจาก… |
S3/9/14.1 | …สารรีดิวซ์ สารประกอบโลหะหนัก กรดและด่าง |
S3/9/14.2 | …สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก |
S3/9/14.3 | …เหล็ก |
S3/9/14.4 | …น้ำและด่าง |
S3/9/14.5 | …กรด |
S3/9/14.6 | …ด่าง |
S3/9/14.7 | …โลหะ |
S3/9/14.8 | …สารออกซิไดซ์ และกรด |
S3/9/14/49 | เก็บในภาชนะเดิม ในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี และห่างไกลจาก… |
S3/9/14.1/49 | …สารรีดิวซ์ สารประกอบโลหะหนัก กรดและด่าง |
S3/9/14.2/49 | …สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก |
S3/9/14.3/49 | …เหล็ก |
S3/9/14.4/49 | …น้ำและด่าง |
S3/9/14.5/49 | …กรด |
S3/9/14.6/49 | …ด่าง |
S3/9/14.7/49 | …โลหะ |
S3/9/14.8/49 | …สารออกซิไดซ์ และกรด |
S3/9/49 | เก็บในภาชนะเดิม และ อากาศถ่ายเทดี |
S3/14 | เก็บในที่เย็น และห่างไกลจาก… |
S3/14.1 | …สารรีดิวซ์ สารประกอบโลหะหนัก กรดและด่าง |
S3/14.2 | …สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก |
S3/14.3 | …เหล็ก |
S3/14.4 | …น้ำและด่าง |
S3/14.5 | …กรด |
S3/14.6 | …ด่าง |
S3/14.7 | …โลหะ |
S3/14.8 | …สารออกซิไดซ์ และกรด |
S7/8 | เก็บในภาชนะที่ปิดสนิทและแห้ง |
S7/9 | เก็บในภาชนะที่ปิดสนิทและอากาศถ่ายเทดี |
S20/21 | ห้ามรับประทาน ดื่ม หรือสูบบุหรี่ขณะที่ใช้สารนี้ |
S24/25 | หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนังและ ตา |
S36/67 | สวมเสื้อผ้าและถุงมือที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน |
S36/37/39 | สวมเสื้อผ้าและถุงมือที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน และปกป้องบริเวณตา /หน้า |
S36/39 | สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน และปกป้องบริเวณตา /หน้า |
S37/39 | สวมถุงมือที่เกมะสมเพื่อป้องกัน และปกป้องบริเวณตา /หน้า |
S47/49 | เก็บในภาชนะเดิมเท่านั้นที่อุณหภูมิไม่เกิน…oC (กำหนดโดยผู้ผลิต) |
ระบบสัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้มีหลายระบบ เช่น ระบบ UN ระบบ NFPA (The National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา ระบบ EEC และระบบ GHS เป็นต้น ซึ่งสัญลักษณ์ของทั้ง 4 ระบบนั้น มีดังนี้
1. ระบบ UN - United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods จำแนกสารที่เป็นอันตรายและเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้ หรือก่อให้เกิดความพินาศ เสียหาย ออกเป็น 9 ประเภท (UN-Class) ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย ดังนี้
ประเภท 1 - ระเบิดได้ (Explosives)1. ระบบ UN - United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods จำแนกสารที่เป็นอันตรายและเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้ หรือก่อให้เกิดความพินาศ เสียหาย ออกเป็น 9 ประเภท (UN-Class) ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย ดังนี้
สารระเบิดได้ หมายถึง ของแข็งหรือของเหลว หรือสารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวมันเอง ทำให้เกิดก๊าซที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายแก่บริเวณโดยรอบได้ ซึ่งรวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย แบ่งเป็น 6 กลุ่มย่อย คือ
1.1 สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงทันทีทันใดทั้งหมด (Mass Explosive) ตัวอย่างเช่น เชื้อปะทุ ลูกระเบิด เป็นต้น
1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใด ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ชนวนปะทุ เป็นต้น
1.3 สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และอาจมีอันตรายบ้าง จากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กระสุนเพลิง เป็นต้น
1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการปะทุหรือปะทุในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ ตัวอย่างเช่น พลุอากาศ เป็นต้น
1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด
1.6 สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมากและไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัด เฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุหรือแผ่กระจาย
1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใด ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ชนวนปะทุ เป็นต้น
1.3 สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และอาจมีอันตรายบ้าง จากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กระสุนเพลิง เป็นต้น
1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการปะทุหรือปะทุในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ ตัวอย่างเช่น พลุอากาศ เป็นต้น
1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด
1.6 สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมากและไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัด เฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุหรือแผ่กระจาย
ประเภทที่ 2 ก๊าซ (Gases)
ก๊าซ หมายถึง สารที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีความดันไอมากกว่า 300 กิโลปาสคาล หรือมีสภาพเป็นก๊าซ อย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และมีความดัน 101.3 กิโลปาสคาล ได้แก่ ก๊าซอัด ก๊าซพิษ ก๊าซในสภาพ ของเหลว ก๊าซในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ และรวมถึงก๊าซที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดัน เมื่อเกิดการรั่ว ไหลสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการลุกติดไฟและ/ หรือเป็นพิษและแทนที่ออกซิเจนในอากาศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
2.2 ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases) หมายถึง ก๊าซที่มีความดันไม่น้อยกว่า 280 กิโลปาสคาล ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส หรืออยู่ ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซหนักกว่าอากาศ ไม่ติดไฟและ ไม่เป็นพิษหรือแทนที่ออกซิเจนในอากาศและทำให้เกิด สภาวะขาดแคลน ออกซิเจนได้ ตัวอย่างของก๊าซกลุ่มนี้ เช่น ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน เป็นต้น
2.3 ก๊าซพิษ (Poison Gases) หมายถึง ก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือถึงแก่ชีวิตได้จาก การหายใจ โดยส่วนใหญ่หนักกว่าอากาศ มีกลิ่นระคายเคือง ตัวอย่างของก๊าซในกลุ่มนี้ เช่น คลอรีน เมทิลโบรไมด์ เป็นต้น
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)
ของเหลวไวไฟ หมายถึง ของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด (Closed-cup Test) หรือไม่เกิน 65.6 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด (Opened-cup Test) ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีแหล่งประกายไฟ ตัวอย่างเช่น อะซีโตน น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ เป็นต้น
ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ
สารที่ลุกไหม้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง ของแข็งที่สามารถติดไฟได้ง่ายจากการได้รับความร้อน จากประกายไฟ/เปลวไฟ หรือเกิดการลุกไหม้ได้จากการเสียดสี ตัวอย่างเช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไนโตรเซลลูโลส เป็นต้น หรือเป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง ตัวอย่างเช่น เกลือไดอะโซเนียม เป็นต้น หรือเป็นสารระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการเกิดระเบิด ตัวอย่างเช่น แอมโมเนียมพิเครต (เปียก) ไดไนโตรฟีนอล (เปียก) เป็นต้น
4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้เองในสภาวะการขนส่งตามปกติ หรือเกิดความร้อนสูงขึ้นได้เมื่อ สัมผัสกับอากาศและ มีแนวโน้มจะลุกไหม้ได้
4.3 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases) หมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้ว มีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เองหรือทำให้เกิด ก๊าซไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตราย
ประเภทที่ 5 สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้
5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing Substances) หมายถึง ของแข็ง ของเหลวที่ตัวของสารเองไม่ติดไฟ แต่ให้ออกซิเจนซึ่งช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้และอาจจะก่อให้เกิดไฟ เมื่อสัมผัสกับสารที่ลุกไหม้และ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ โซเดียมคลอเรต เป็นต้น
5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่มีโครงสร้าง ออกซิเจนสองอะตอม -O-O- และช่วยในการเผาสารที่ลุกไหม้ หรือทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้วก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือเมื่อได้รับความร้อนหรือลุกไหม้แล้วภาชนะบรรจุสารนี้อาจระเบิดได้ ตัวอย่างเช่น อะซีโตนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น
ประเภทที่ 6 สารพิษและสารติดเชื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้
6.1 สารพิษ (Toxic Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่สามารถทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ รุนแรงต่อสุขภาพของคน หากกลืน สูดดมหรือหายใจรับสารนี้เข้าไป หรือเมื่อสารนี้ได้รับความร้อนหรือลุกไหม้จะ ปล่อยก๊าซพิษ ตัวอย่างเช่น โซเดียมไซยาไนด์ กลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น
6.2 สารติดเชื้อ (Infectious Substances) หมายถึง สารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนหรือสารที่มีตัวอย่าง การตรวจสอบของพยาธิ สภาพปนเปื้อนที่เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคในสัตว์และคน ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียเพาะเชื้อ เป็นต้น
ประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี
วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive Materials) หมายถึง วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม ตัวอย่างเช่น โมนาไซด์ ยูเรเนียม โคบอลต์-60 เป็นต้น
ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน
สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดย ปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือ ทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของ สารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อจมูกและตา ตัวอย่างเช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นต้น
ประเภทที่ 9 วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด
วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substances and Articles) หมายถึง สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 8 ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต เป็นต้น และให้รวมถึงสารที่ต้อง ควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส ในสภาพของเหลว หรือมีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 240 องศาเซลเซียสในสภาพของแข็งในระหว่างการขนส่ง
2. ระบบ NFPA - The National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา กำหนด สัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อย ขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่
- สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability)
- สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health)
- สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกิริยาของสาร (Reactivity)
- สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย