วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์,โฟร์คลิฟท์,ฟอร์คลิฟท์,FORKLIFT

ความรู้เกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์,โฟร์คลิฟท์,ฟอร์คลิฟท์,FORKLIFT

                 เอาความรู้เกี่ยวกับโฟร์คลิฟท์ มาฝากครับ :: ความหมายและประเภทของรถยก รถยก หรือ "โฟร์คลิฟท์" หรือ "ฟอร์คลิฟท์" มาจากคำภาษา อังกฤษว่า "FORKLIFT" ซึ่งเป็นการผสมคำสองคำ คือ "FORK" ที่แปลว่า "ช้อนส้อม" และ คำว่า "LIFT" ที่แปลว่า "การขึ้นลงในแนว ประเภทและชนิดของ.. รถยก รถยกแบ่งออกตามประเภทของต้นกำลังขับเคลื่อนได้ 2 ประเภท คือ 1. ENGINE FORKLIFT รถยกที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง โดยใช้นำมันเป็นเชื้อเพลิง รถยกประเภทนี้สามารถแบ่งออกตามชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ได้ 3 ประเภท คือ
1.1) DIESEL ENGINE (เครื่องยนต์ดีเซล)
 1.2) GASOLINE ENGINE (เครื่องยนต์แก๊สโซลีน)
1.3) L.P.G. ENGINE (เครื่องยนต์แก๊ส L.P.G.)
 นอกจากนั้นรถยกที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง สามารถแบ่งตามระบบส่งกำลังได้ 2 ประเภท
- ระบบส่งกำลังด้วยทอร์ค (TOROFLOW TRANSMISSION)
 - ระบบส่งกำลังด้วยคลัทซ์ (DIRECT DRIVE) 2. BATTERY FORKLIFT
รถยกไฟฟ้าใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนโดยได้รับกระแสไฟฟ้ามาจากแบตเตอรี่ รถยกไฟฟ้าสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายนอกได้เป็น 2 แบบ คือ
- แบบ COUNTER BALANCIT (แบบนั่งขับ)
 - แบบ REACH TURCK (แบบยืนขับ)
:: อุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยก
 1. เสารถยก (Mast) คือ อุปกรณ์รางเลื่อนให้งาขึ้น-ลง โดยทั่วไปเสารถยกจะมี 2 ท่อน ซึ่งยกได้ประมาณ 3 เมตร แต่ถ้าต้องการยกได้สูประมาณ 5-6 เมตร จะต้องเปลี่ยนเสาให้สูงขึ้น หรือ ใช้เสา 3 ท่อน Full Free Mast คือ อุปกรณ์พิเศษของเสา เป็นเสาที่สามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีความจำกัด
 2. กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic) โดยมาตราฐาน รถยกจะมีกระบอกไฮดรอลิคอยู่จำนวน 3 ชุดดังนี้        2.1) กระบอกยก คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่ยกงาขึ้นลง มีสองกระบอก
          2.2) กระบอกคว่ำ-หงาย คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่เอียงเสาไปหน้าและหลัง มีสองกระบอก
         2.3) กระบอกบังคับเลี้ยว คือ กระบอกไอดรอลิคที่ทำหน้าที่บังคับการเลี้ยวของรถยก มีหนึ่งกระบอก 
 3. งารถยก (Fork) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ยกสัมภาระต่าง ๆ และงารถยกยังเป็นอุปกรณ์ที่ "อันตราย" ที่สุด งานของรถยกมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของสัมภาระที่จะยก
 4. ล้อหน้า (Front Wheel) คือ ล้อที่มีหน้าที่ 3 ประการ ดังนี้
     4.1) รับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด
     4.2) ขับเคลื่อน
     4.3) เบรค ล้อของรถยกไฟฟ้าแบบยืนขับ จะมีล้ออยู่ 3 ชนิด ดังนี้ - ล้อรับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด - ล้อขับเคลื่อน - ล้อประคอง
 5. ล้อหลัง (Rear Wheel) คือ ล้อที่ทำหน้าที่บังคับเลี้ยวเพียงอย่างเดียว


:: ทำไมเราต้องตรวจสภาพรถยก ก่อน และ หลัง การใช้งาน
 1. เพื่อให้รถยกมีสภาพพร้อมใช้งาน
2. เพื่อความปลอดภัยของคนขับรถยกและผู้ร่วมงาน
3. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร

:: การสังเกตุการทำงานของรถยก การสังเกตุการทำงานของรถยก หมายถึง ในขณะที่ใช้งานรถยกระหว่างวัน จะต้องคอยสังเกตการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถยกด้วย ว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น     1.) การทำงานของเบรค เช่น เมื่อใช้เบรคจะมีเสียงดัง หรือ เบรคไม่อยู่      2.) การทำงานของเครื่องยนต์ เช่น เร่งเครื่องแล้วสะดุด หรือ มีเสียงผิดปกติ      3.) สังเกตุเกย์วัดอุณหภูมิของเครื่องยนต์อยู่เสมอ ถ้าพบสิ่งผิดปกติจะต้องรีบดำเนินการแก้ไข      4.) สังเกตุการทำงานของระบบไฮดรอลิค เช่น เวลายกสัมภาระจะต้องเร่งเครื่องยนต์มากขึ้น หรือ เวลาเลี้ยวใช้แรงมากขึ้น

::               การจ่ายไฟของแบตเตอรี่รถยก เมื่อ Cell แบตเตอรรี่ถูกชาร์ด้วยพลังงานไฟฟ้า Cell จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเคมี และเก็บรักษาไว้ เมื่อทำการจ่ายไฟ Cell จะเปลี่ยนพลังงานเคมีกลับเป็นพลังงานไฟฟ้า และสำหรับ Cell ที่ใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนรถโฟร์คลิฟท์ คือ แบตเตอรี่ชนิด ตะกั่ว + กรด (Lead acid storage batterry)

           :: ข้อดีของการใช้แบตเตอรี่ชนิด ตะกั่ว + กรด 1.) สามารถเก็บพลังงานและนำไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้ โดยไม่มีสายไฟต่อพลังงานไฟฟ้าจากที่อื่น 2.) เป็นกระแสไฟฟ้า DC ที่ไหลสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นผลดีต่อ Speed controller ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ 3.) มีความคงทน และอายุยาวนาน ทนต่อการสั่นสะเทือนและแรงกระแทกได้ดี 4.) ไม่มีเสียงดังรบกวนในขณะใช้งาน ซึ่งเป็นการป้องกันมลภาวะทางเสียงและอากาศ 5.) เป็นการง่ายในการดูแลบำรุงรักษา และการนำไปใช้งาน โดยผู้ใช้งานที่ไม่ต้องมีความรู้มากนัก และการดูแลก็เพียงแต่เตรียมน้ำกลั่นไว้เติมเมื่อระดับนำกรดพร่องเท่านั้น

                 :: การบำรุงรักษาแบตเตอรี่และข้อควรระวังในการชาร์จแบตเตอรี่    
1.) อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการชาร์จ ดังนั้น ควรจะชาร์จแบตเตอรี่ก็ต่อเมื่อได้ใช้กระแสไฟฟ้าใกล้จะหมด และในการชาร์จแต่ละครั้งจะต้องชาร์จต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ชั่วโมงติดต่อกัน 2.) บริเวณที่ใช้เป็นที่ชาร์จแบตเตอรี่จะต้องเป็นสถานที่ที่อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี เนื่องจากในขณะที่ชาร์จ น้ำกลั่นจะระเหยออกมา 
3.) ก่อนทำการชาร์จแบตเตอรี่จะต้องเปิดฝาจุดเติมน้ำกลั่น เพื่อตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับพอดี และตรวจสอบสภาพปลั๊กไฟว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่ชำรุด หรือแตกร้าว หรือไม่ถ้าชำรุดจะต้องดำเนินการแก้ไขก่อนทำการชาร์จ
 4.) จะต้องเสียบปลั๊กของแบตเตอรี่กับตู้ชาร์จให้แน่น เพื่อไม่ให้เกิดการอาร์ดของกระแสไฟ
5.) จะต้องตรวจสอบขั้ว สะถานไฟ สายไฟ ของแบตเตอรี่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
 6.) ถ้าขั้วแบตเตอรี่ และผิวของแบตเตอรี่ด้านบนสกปรก หรือมีขี้เกลือเกาะให้ทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน และเช็ดให้แห้ง
7.) ควรให้ช่างผู้ชำนาญงานตรวจเช็คค่าถ่วงนำเพาะ และแรงดันของเซลล์แบตเตอรี่แต่ละเซลล์ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

                   
                :: การบำรุงรักษาประจำวัน ก่อนติดเครื่อง
1. ตรวจดูความสะอาดภายนอก
2. ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ
3. ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง
4. ตรวจดูระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
5. ตรวจดูระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
6. ตรวจระดับน้ำมันไฮโดรลิค
7. ตรวจระดับน้ำมันเกียร์พวงมาลัย
8. ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค
 9. ตรวจระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่
 10. ตรวจความตึงของสายพานเครื่องยนต์
11. ตรวจการทำงานของเบรคมือและขาเบรค
12. ตรวจระบบสัญญาณไฟเลี้ยว ไฟถอยหลัง ไฟส่องสว่างและสัญญาณแตร
13. ตรวจสภาพความตึงของโซ่ยกของ
14. ตรวจสภาพยาง
15. ตรวจวัดลมยางและเติมให้ได้แรงดันตามที่กำหนดไว้
16. ตรวจรอยรั่วซึมตามจุดต่าง ๆ
         หลังติดเครื่อง
    1. ตรวจเช็คว่ามีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์หรือไม่
    2. ตรวจดูไฟที่หน้าปัดดับหมดหรือไม่
    3. ตรวจระยะฟรีของพวงมาลัยและการบังคับเลี้ยว
    4. ตรวจการทำงานของชุดควบคุมอุปกรณ์ยกงาว่าทำงานเรียบร้อยหรือไม่
 หลังการใช้งาน ขณะเครื่องยนต์ยังติดอยู่
      1. จอดรถในสถานที่จอดรถกำหนดไว้
      2. ลดงาของรถให้อยู่ในแนวราบกับพื้นโรงงาน
      3. ล็อคเบรคมือให้เรียบร้อย
      4. หล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น โซ่ยกของ ชุดแผ่นทองเหลืองหลังเสา
5. ตรวจเช็คดูการรั่วซึมจากการใช้งาน เช่น น้ำมันไฮโดรลิค น้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำ
 6. ตรวจเช็คฟังเสียงว่ามีเสียงอะไรผิดปกติหรือไม่
7. หลังจากการใช้งาน ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาในตำแหน่งเกียร์ว่างประมาณ 3 นาที จึงค่อยดับเครื่องยนต์
        หลังดับเครื่องยนต์
    1. เติมน้ำมันให้เต็มถังเพื่อพร้อมการใช้งานในวันต่อไป
    2. ปลดเกียร์ว่างไว้เสมอ และดึงลูกกุญแจรถออกเก็บยังที่เก็บ