วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ระบบเครื่องยนต์

ระบบเครื่องยนต์เป็นต้นกำเนิดพลังการขับเคลื่อน ภายในเครื่องยนต์ จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ทำงานประสานกัน เป็นจังหวะ ตามที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ สำหรับรถยนต์ทั่วไปในปัจจุบัน ถ้าเป็นเครื่องยนต์ ประเภท ขับเคลื่อนล้อหน้าแล้ว โดยมากจะวางเครื่องในลักษณะแนวขวาง แต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์ ประเภทขับเคลื่อนล้อหลัง จะวางเครื่องในลักษณะแนวตรง
หากมองตามลักษณะการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รถที่ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชี้อเพลิง เรียกเครื่องยนต์ชนิดว่า “เครื่องยนต์แก๊สโซลีน” (Gasoline Engine) และรถที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เรียกว่า “เครื่องยนต์ดีเซล” (Diesel Engine) อาจเรียกกันง่ายๆ ว่าเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซลก็ไม่ว่ากัน
เครื่องยนต์ในปัจจุบัน ใช้ลักษณะการจุดระเบิดในกระบอกสูบ เพื่อทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ไปในแนวตรงกันข้าม และด้านล่างของลูกสูบ ก็จะต่อกับก้านสูบ ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งของก้านสูบ ก็จะต่อกับเพลาข้อเหวี่ยงอีกที เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ไปมาในแนวลูกสูบ ก็จะมีผลให้ไปดึงเพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปด้วย ยิ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร่ เพลาข้อเหวี่ยง ก็จะหมุนเร็วมากขึ้นเท่านั้น แรงหมุนนี้เองที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ในระบบรถยนต์ ลักษณะการทำงานแบบนี้เองที่เรียกว่า เครื่องยนต์ชนิดลูกสูบชัก
จะพบว่า บริษัทผลิตเครื่องยนต์ อาจมีเทคโนโยลี การผลิต ที่แตกต่างกันไปบ้าง ดังนั้น การออกแบบเครื่องยนต์ ก็แตกต่างกัน เป็นธรรมดา เครื่องยนต์บางแบบถูกออกแบบ ให้วางแนวกระบอกสูบ แตกต่างกันไป เช่น จัดวางกระบอกสูบแบบเรียง แบบตัววี แบบแนวนอน เป็นต้น

แบบตัววี
แบบเรียง
ระบบเครื่องยนต์เป็นต้นกำเนิดพลังการขับเคลื่อน ภายในเครื่องยนต์ จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ทำงานประสานกัน เป็นจังหวะ ตามที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ สำหรับรถยนต์ทั่วไปในปัจจุบัน ถ้าเป็นเครื่องยนต์ ประเภท ขับเคลื่อนล้อหน้าแล้ว โดยมากจะวางเครื่องในลักษณะแนวขวาง แต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์ ประเภทขับเคลื่อนล้อหลัง จะวางเครื่องในลักษณะแนวตรง
หากมองตามลักษณะการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รถที่ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชี้อเพลิง เรียกเครื่องยนต์ชนิดว่า “เครื่องยนต์แก๊สโซลีน” (Gasoline Engine) และรถที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เรียกว่า “เครื่องยนต์ดีเซล” (Diesel Engine) อาจเรียกกันง่ายๆ ว่าเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซลก็ไม่ว่ากัน
เครื่องยนต์ในปัจจุบัน ใช้ลักษณะการจุดระเบิดในกระบอกสูบ เพื่อทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ไปในแนวตรงกันข้าม และด้านล่างของลูกสูบ ก็จะต่อกับก้านสูบ ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งของก้านสูบ ก็จะต่อกับเพลาข้อเหวี่ยงอีกที เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ไปมาในแนวลูกสูบ ก็จะมีผลให้ไปดึงเพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปด้วย ยิ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร่ เพลาข้อเหวี่ยง ก็จะหมุนเร็วมากขึ้นเท่านั้น แรงหมุนนี้เองที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ในระบบรถยนต์ ลักษณะการทำงานแบบนี้เองที่เรียกว่า เครื่องยนต์ชนิดลูกสูบชัก
จะพบว่า บริษัทผลิตเครื่องยนต์ อาจมีเทคโนโยลี การผลิต ที่แตกต่างกันไปบ้าง ดังนั้น การออกแบบเครื่องยนต์ ก็แตกต่างกัน เป็นธรรมดา เครื่องยนต์บางแบบถูกออกแบบ ให้วางแนวกระบอกสูบ แตกต่างกันไป เช่น จัดวางกระบอกสูบแบบเรียง แบบตัววี แบบแนวนอน เป็นต้น

แบบตัววี
แบบเรียง

WWW.PCNFORKLIFT.COM

เซนเซอร์ความเร็วรถยนต์ (Speed Sensor)

เซนเซอร์นี้มีหน้าที่ส่งสัญญาณตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง ตำแหน่งเพลาราวลิ้น ความเร็วรถยนต์ไปให้กับ ECU/ECM  ประกอบด้วยเซนเซอร์ดังนี้
  • เซนเซอร์ตำแหน่งเพลาราวลิ้น/G Pickup Coil  (สัญญาณ G)
  • เซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง/NE Pickup Coil (สัญญาณ NE)
  • เซนเซอร์ความเร็วรถยนต์/Speed Sensor (สัญญาณ SPD)
เพื่อใช้ในการตัดการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง(Fuel Cut Off) ควบคุมความเร็วรอบเดินเบา(Idle Speed Control) และควบคุมอัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงในขณะเร่งเครื่องหรือผ่อนคันเร่ง

เซนเซอร์ตำแหน่งเพลาราวลิ้น (สัญญาณ G)
สัญญาณตำแหน่งเพลาข้อราวลิ้นจะทำให้ ECU/ECM ทราบว่าสูบไหนที่อยู่ในตำแหน่งอัดเพื่อใช้กำหนดการฉีดน้ำมันของหัวฉีด และจังหวะการเปิดปิดวาล์ว

เซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง (สัญญาณ NE)
สัญญาณ NE เป็นสัญญาณตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยงที่ส่งให้ ECU/ECM เพื่อให้ทราบความเร็วรอบของเครื่องยนต์ (RPM) และการเผาไหม้ที่ผิดปกติของเครื่องยนต์

สัญญาณ NE ที่ขาดช่วงไปเนื่องจากตำแหน่งนั้นโรเตอร์ไม่มีเฟืองอยู่ เพื่อให้ ECU/ECM ใช้อ้างอิงตำแหน่งของเพลาข้อเหวี่ยงสัญญาณ NE เมื่อนำมารวมกับสัญญาณ G (G22) ทำให้ ECU/ECM ทราบถึงตำแหน่งและระยะชักของลูกสูบ

เซนเซอร์ความเร็วรถยนต์ (Vehicle Speed Sensor-VSS)
มีหน้าที่ตรวจจับความเร็วรถยนต์เพื่อใช้ในการตัดการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ควบคุมความเร็วรอบเดินเบา (Idle Speed Control) และควบคุมอัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ในขณะเร่งเครื่องหรือเบาเครื่องยนต์ เซนเซอร์ตัวนี้จะวัดสัญญาณจากเพลาส่งกำลังด้านท้ายเกียร์(Transmission or Transaxe) เพื่อวัดความเร็วของรถยนต์ นอกจากนี้ ECU/ECM ยังใช้สัญญาณนี้ในการวิเคราะห์การทำงานของเครื่องยนต์ขณะเริ่มต้นด้วย
สัญญาณ VSS นี้จะมีลูกแบบวิธีการส่งไปให้ ECU/ECM แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการออกแบบ ในรถยนต์บางรุ่นที่ติดตั้งระบบเบรก ABS จะใช้สัญญาณจากความเร็วล้อรถกับสัญญาณความเร็ว ไปให้มาตรวัดรวม(Combination Meter) แล้วถึงจะส่งไปให้ ECU/ECM ดังรูป


เซนเซอร์ VSS ที่ติดตั้งอยู่บริเวณเพลาส่งกำลัง (Transaxle)
เซนเซอร์ตรวจจับความเร็วรถยนต์มีอยู่ 4 แบบ คือ
  1. เซนเซอร์วัดความเร็วแบบขดลวดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Pickup Type)
  2. เซนเซอร์ความเร็วแบบ MRE (Magnetic Resistance Element-MRE)
  3. เซนเซอร์ความเร็วแบบรีดสิวทช์ (Reed Switch Type)
  4. เซนเซอร์ความเร็วแบบใช้ชุดตรวจจับแสง (Photo Coupler Type)
1. เซนเซอร์วัดความเร็วแบบขดลวดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Pickup Type)
เซนเซอร์วัดความเร็วแบบขดลวดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จะติดตั้งอยู่บริเวณเสื้อเกียร์เพื่อตรวจจับความเร็วของเพลาส่งกำลัง ประกอบด้วย
  • แม่เหล็กถาวร (Magnet)
  • ขดลวด (Coil)
  • แกนขดลวด (Core)
  • โรเตอร์ (Rotor)

เซนเซอร์ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าทำงานโดยใช้หลักการขดลวดปิคอัพ (Pickup Coil) ซึ่งประกอบด้วย แม่เหล็กถาวร(Magnet) ขดลวด (coil) และแกนขดลวด(Core) โดยติดตั้งอยู่ใกล้กับฟันของเฟือง เมื่อเพลาของเกียร์หมุนจะทำให้โรเตอร์หมุนไปด้วย แต่ละครั้งที่ฟันเฟือง(โรเตอร์) หมุนผ่านเซนเซอร์จะเหนี่ยวนำให้เกิดลูกคลื่นแรงกระแสสลับ AC ขึ้นที่ขดลวด ถ้าความเร็วของรถยนต์สูง เฟืองก็จะหมุนเร็วลูกคลื่นที่ได้ก็จะมากตามไปด้วย แต่ถ้าความเร็วของรถยนต์ต่ำลูกคลื่นที่ได้ก็จะน้อยลง จำนวนรูปคลื่นที่ได้ต่อวินาทีก็คือสัญญาณความถี่ (signal frequency)นั่นเอง ความถี่นี้จะถูกส่งไปให้กับ ECU

2. เซนเซอร์ความเร็วแบบ MRE (Magnetic Resistance Element-MRE)


เซนเซอร์ตรวจจับความเร็วรถยนต์แบบใช้สาร MRE ซึ่งเป็นสารที่เปลี่ยนค่าความต้านทานตามความเข้มของสนามแม่เหล็ก จะติดตั้งอยู่ที่เพลาส่งกำลังด้านท้ายเกียร์ ประกอบด้วยวงจรไฮบริด (Hybrid Integrated Circuit) และวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Ring) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
  1. ชนิดส่งสัญญาณออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้า
  2. ชนิดความต้านทานปรับค่าได้
2.1 ชนิดส่งสัญญาณออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้า
เมื่อวงแหวนแม่เหล็กหมุน(Magnetic Ring) จะได้สัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับออกมาจากวงจรไฮบริด MRE ขา 2 และ 4 และถูกส่งให้กับวงจรเปรียบเทียบแรงดันไฟฟ้า(Comparator) เพื่อเปลี่ยนสัญญาณกระแสสลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล แล้วส่งไปให้มาตรวัดรวม(Combination Meter) เพื่อแปลงเป็นสัญญาณความถี่ก่อนส่งไปให้ ECU


3. เซนเซอร์ความเร็วแบบรีดสิวทช์ (Reed Switch Type)
แบบรีดสวิตช์ (Reed Switch Type) ติดตั้งอยู่ที่ด้านหลังหน้าปัดบริเวณที่ต่อสายไมล์ เมื่อสายไมล์หมุนกลไกตรวจจับความเร็วที่มีแม่เหล็กอยู่ก็จะหมุนตามไปด้วย ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไปดึงดูดให้รีดสวิทช์เปิดปิดเมื่อสายไมล์หมุน 1 รอบจะได้สัญญาณไฟฟ้า 4 ครั้ง สัญญาณนี้จะถูกส่งไปให้ ECU เพื่อใช้เป็นข้อมูลความเร็วของรถยนต์


4. เซนเซอร์ความเร็วแบบใช้ชุดตรวจจับแสง (Photo Coupler Type)
ในขณะที่ซี่ล้อ(Slotted wheel) หมุนโดยแรงขับจากสายไมล์(speedometer cable) ทุกครั้งที่ช่องว่างของซี่ล้อตรงกับตำแหน่งตรวจจับแสงซึ่งมีไดโอดเปล่งแสง(LED) อยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นโฟโตทรานซิสเตอร์ (Photo Transistor) จะทำให้โฟโตทรานซิสเตอร์นำกระแสไฟฟ้า และจะหยุดนำกระแสไฟฟ้าเมื่อซี่ล้อหมุนมาบังแสง ดังนั้นสัญญาณที่ได้จึงเป็นลักษณะ ON-OFF โดยจะทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้า 20 คลื่นต่อการหมุนของสายไมล์หรือซี่ล้อหนึ่งรอบ หลังจากนั้นจะถูกเปลี่ยนให้เหลือ 4 คลื่นโดยมาตรวัดดิจิตอล(Digital Meter) ก่อนส่งไปให้ ECU

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อะไหล่โฟร์คลิฟท์

                                               
                                                         อะไหล่โฟร์คลิฟท์
                      แผ่นเพลท ระบุยี่ห้อรถ  โมเดลและรุ่นของรถ ซึ่งใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่ใช้ในการสอบถามอะไหล่ของรถโฟร์คลิฟท์

                       ปลั๊กแบตเตอรี่แบตเตอรี่ ซึ่งเราต้องรู้ขนาดของแอป์และโวลด์ที่เราต้องการด้วย
ด้านในของTorque converter                                                  
                                                                                     
                                                                                     
                                                                                   
                                                                                       
                                                                                     
                                                                                   
                                                                                 
                                                                                           





Torque converter                                                    
                                                                                         



RELAY AND FLASHER

 แบตเตอรี่รถโฟร์คลิฟท์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายขนาด

Controlboard หรือ แผงบอร์ดควบคุมของโฟร์คลิฟท์











WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

hall senser

แม่เหล็ก (magnet) เป็นสิ่งที่สามารถดูวัสดุบางชนิดได้ เช่น เหล็ก นิกเกิล โคบอลต์ เป็นต้น การที่แม่เหล็กดูดสารบางอย่างได้ เนื่องจากมีสนามแม่เหล็ก (magnetic field) ในบริเวณโดยรอบแม่เหล็ก เราสามารถตรวจสอบว่าบริเวณใดมีสนามแเม่เหล็กหรือไม่ โดยใช้เข็มทิศ แต่เราไม่สามารถทราบได้ว่ามีค่าเท่าใด นักวิทยาศาสตร์พยายามวัดสนามแม่เหล็กด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันเราสามารถวัดสนามแม่เหล็กได้สะดวกและรวดเร็วโดยใช้ตัวรับรู้ฮอลล์ (Linear Hall sensor) ซึ่งทำงานโดยอาศัยหลักการของปรากฏการณ์ฮอลล์ (Hall effect) ตัวรับรู้ฮอลล์เป็นวงจรรวมที่ทำให้เกิดความต่างศักย์ซึ่งเป็นสัดส่วนตรงกับความเข้มของสนามแม่เหล็กที่ผ่านในแนวดิ่ง เมื่อนำตัวรับรู้ฮอลล์ไปต่อกับโวลต์มิเตอร์ แล้วนำไปวางใกล้บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กก็จะทำให้ทราบค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กได้ 

ตัวรับรู้ฮอลล์ (Linear Hall sensor)


รูปที่ 1 ตัวรับรู้ฮอลล์
ตัวรับรู้ฮอลล์เป็นวงจรรวม มีขนาดและลักษณะดังรูปที่ 1 และมีสมบัติดังนี้
input voltage 4.5-6V
offset voltage 2.5 V (ประมาณ)
sensitivity 13 V/T
เมื่อต่อแหล่งจ่ายไฟกระแสตรงหรือเซลล์ไฟฟ้า 4.5-6 โวลต์ เข้ากับขา 1 และขา 2 และ ต่อโวลต์มิเตอร์เข้ากับขา 2 และขา 3 ดังรูปที่ 2 โวลต์มิเตอร์จะแสดงค่าประมาณ 2.5 โวลต์ ค่านี้เป็นความต่างศักย์ขณะที่ไม่มีสนามแม่เหล็ก เรียกว่า offset voltage ค่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยขึ้นอยู่กับโวลเตจของแหล่งจ่ายไฟกระแสตรงที่ต่อกับขา 1 และขา 2 แต่จะมีค่าประมาณครึ่งหนึ่งของโวลเตจของแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง 


รูปที่ 2 การต่อตัวรับรู้ฮอลล์กับแหล่งจ่ายไฟกระแสตรงและโวลต์มิเตอร์


รูปที่ 3 การวัดความเข้มของสนามแม่เหล็ก
เมื่อนำแม่เหล็กเข้าใกล้ active area ของตัวรับรู้ฮอลล์ ความต่างศักย์จะมีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับทิศของสนามแม่เหล็ก กล่าวคือถ้านำขั้วใต้เข้าใกล้ ความต่างศักย์จะมีค่าเพิ่มขึ้น แต่ถ้านำขั้วเหนือเข้าใกล้ ความต่างศักย์จะมีค่าลดลง ความต่างศักย์ที่เปลี่ยนไปมีความสัมพันธ์กับความเข้มของสนามแม่เหล็กหรือความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux density) ดังนี้
B = (Vout (B) - Vout (O) ) S-1
เมื่อ Vout (O) เป็นความต่างศักย์ขณะไม่มีสนามแม่เหล็ก
Vout (B) เป็นความต่างศักย์ขณะมีสนามแม่เหล็ก
S เป็นสัมประสิทธิ์ความไว มีหน่วยเป็นโวลต์ต่อเทสลา (V/T)
สำหรับตัวรับรู้ฮอลล์ที่ใช้ในบทความนี้ S = 13 V/T
B เป็นความเข้มของสนามแม่เหล็ก หรือความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก มีหน่วยเป็นเทสลา (T)
ตัวรับรู้ฮอลล์สามารถวัดสนามแม่เหล็กในบริเวณใกล้แม่เหล็กถาวร สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นบริเวณปลายโซเลนอยด์และสนามแม่เหล็กใกล้เส้นลวดตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านได้ 

ปรากฏการณ์ฮอลล์ (Hall Effect)
ใน ค.ศ. 1879 เอ็ดวิน ฮอลล์ (Edwin Hall) นักศึกษามหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพคินส์ ซึ่งในขณะนั้นมีอายุ 24 ปี ได้พบว่า เมื่อนำแผ่นตัวนำบางที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านไปวางไว้ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก พาหะประจุ (charge carriers) ในตัวนำสามารถเบนไปจากแนวทางเดิมได้ และการเบนนี้มีผลทำให้เกิดสนามไฟฟ้าในตัวนำบางในทิศตั้งฉากกับทั้งกระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก การค้นพบนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์ฮอลล์ 


รูป 1 ก-ค แสดงการเกิดปรากฏการณ์ฮอลล์
การเกิดปรากฏการณ์ฮอลล์อาจอธิบายได้โดยใช้รูป 1 ก-ค ดังนี้
รูป 1 ก แสดงแผ่นตัวนำบางที่มีความกว้าง d หนา t และมีกระแสไฟฟ้า (conventional current) I ผ่านในทิศจากด้านซ้ายไปด้านขวา พาหะประจุคืออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ (ด้วยอัตราเร็วลอยเลื่อน Vd) ในทิศตรงข้ามกับกระแสไฟฟ้า I จากด้านขวาไปด้านซ้าย
รูป 1 ข เมื่อใส่สนามแม่เหล็ก B ในทิศพุ่งเข้าหาและตั้งฉากกับระนาบแผ่นตัวนำบางหรือกระดาษ จะเกิดแรงแม่เหล็ก FB กระทำกับอิเล็กตรอน ทำให้อิเล็กตรอนเบนไปทางขอบด้านบนของแผ่นตัวนำบาง
รูป 1 ค เมื่อเวลาผ่านไปจะมีอิเล็กตรอนถูกผลักไปที่ขอบด้านบนจำนวนมาก ส่วนขอบด้านล่างจะเกิดประจุไฟฟ้าบวกจำนวนมากเช่นกัน การที่มีประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันที่ขอบทั้งสอง ทำให้เกิดสนามไฟฟ้า เรียกว่า สนามไฟฟ้าฮอลล์ (hall field) EH ในแผ่นตัวนำบางมีทิศจากขอบด้านล่างไปขอบด้านบน สนามไฟฟ้าจะทำให้เกิดแรงไฟฟ้า FE กระทำกับอิเล็กตรอน ซึ่งจะทำให้อิเล็กตรอนถูกผลักไปทางขอบด้านล่าง เมื่อแรงไฟฟ้าและแรงแม่เหล็กมีขนาดเท่ากัน อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ในทิศไปทางซ้ายโดยไม่เบน
สนามไฟฟ้าที่เกิดในแผ่นตัวนำบางมีความสัมพันธ์กับความต่างศักย์หรือโวลเตจ V ดังนี้
ความต่างศักย์หรือโวลเตจที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ความต่างศักย์ฮอลล์ (hall potential difference หรือ hall voltage) VH พบว่า ความต่างศักย์ฮอลล์มีค่ามากที่สุด เมื่อแผ่นตัวนำบางทำจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน และเจอร์เมเนียม ส่วนตัวนำไฟฟ้าที่ดี ความต่างศักย์ฮอลล์จะมีค่าน้อยกว่ามาก (เหตุผล พิจารณาได้จากสมการ (7) หรือสมการ (8) ในตอนท้าย)
จากสมการ (1) จะได้ว่า
 


รูป 2 การวัดความต่างศักย์ฮอลล์ VH
เราสามารถวัด VH โดยต่อ มิลลิโวลต์มิเตอร์เข้ากับจุด x และจุด y ดังรูป 2 ก
สภาพขั้วของ VH ทราบได้จากเครื่องหมายที่อ่านได้จาก มิลลิโวลต์มิเตอร์
จากรูป 2 ก พาหะประจุคืออิเล็กตรอนจึงมีประจุลบ ถ้าพาหะประจุมีประจุบวก ทิศของ Vd และ EH จะตรงข้ามกับในรูป 2 ก แต่ทิศของ FB และ EE ยังคงเดิม ดังแสดงในรูป 2 ข ทำให้ประจุบวกถูกผลักไปที่ขอบด้านขวา ส่วนประจุลบถูกผลักไปที่ขอบด้านซ้าย และสภาพขั้วของ VH จะตรงข้ามกับกรณีที่พาหะประจุมีประจุลบ
จากรูป 1 ค ขณะที่แรงแม่เหล็กและแรงไฟฟ้ามีขนาดเท่ากัน เราจะได้
จากสมการ (2) จะได้
เนื่องจากอัตราเร็วลอยเลื่อน Vd มีค่า
เมื่อ n คือจำนวนพาหะประจุต่อลูกบาศก์เมตร (หรือความหนาแน่นของพาหะประจุ)
และ A คือพื้นที่หน้าตัดของแผ่นตัวนำบาง
แทนสมการ (5) ลงในสมการ (4) จะได้
เนื่องจาก  คือความหนาของแผ่นตัวนำบาง ดังนั้น
สมการ (7) เขียนได้ใหม่เป็น
ปริมาณ VHI และ t ในสมการ (8) หาได้จากการวัด ส่วนค่า n ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ใช้ทำหัววัด วัสดุที่เป็นสารกึ่งตัวนำจะมีจำนวนพาหะประจุน้อยกว่าตัวนำไฟฟ้าที่ดี แต่ก็ยังมีค่ามากพอที่จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่สามารถวัดได้ ส่วนฉนวนมีจำนวนพาหะประจุน้อยมาก แต่ก็ยอมให้กระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยผ่าน จากการศึกษาพบว่า สารกึ่งตัวนำที่เจือสิ่งเจือปนมีค่า n  1022m-3 และโลหะทั่วไปมีค่า n  1028m-3 ดังนั้น เราจึงสามารถหาความเข้มของสนามแม่เหล็กที่ไม่ทราบค่าจากสมการ (8) ได้
ความเข้มของสนามแม่เหล็กมีหน่วยในระบบเอสไอเป็นเทสลา (tesla) แทนด้วยสัญลักษณ์ T หน่วยเดิมของความเข้มของสนามแม่เหล็กคือ เกาส์ (gauss) แทนด้วยสัญลักษณ์ G โดยที่ 1T = 104 G
ที่มา : รังสรรค์ ศรีสาคร
สาขาวิชาฟิสิกส์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี