วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

การคำนวนการรับน้ำหนักของรถโฟร์คลิฟท์

หลายท่านอาจสงสัยว่าในการใช้โฟร์คลิฟท์ยกของ เราจะทราบได้อย่างไรว่าโฟร์คลิฟท์สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้  เมื่อยกไปแล้วรถจะไม่หน้่าทิ่ม เรามาดูตัวอย่างการคำนวนกันครับ
ในการคำนวนความสามารถในการยกของรถโฟร์คลิฟท์นั้นเราต้องรู้ข้อมูล 2 ส่วน คือ ในส่วนของรถโฟร์คลิฟท์ และ สิ่งของที่จะยก
ข้อมูลของวัตถุที่จะยก เราต้องทราบน้ำหนักของวัตถุ และ ระยะจากขอบข้างใดข้างหนึ่งไปยังจุดศูนย์ถ่วงของวัตถุ
สำหรับข้อมูลของรถโฟร์คลิฟท์เราสามารถดูได้จากแผ่นเพลทที่ติดอยู่ที่โฟร์คลิฟท์ได้เลยครับ ลองดูตัวอย่างในภาพข้างล่าง
คำนวนโฟร์คลิฟท์
ที่แผ่นเพลทจะบอกข้อมูลที่เราต้องใช้ ดังนี้
ประเภทของรถโฟร์คลิฟท์  เป็นแบบใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง (G / LP)
ความสามารถในการรับน้ำหนัก คือ 5000 ปอนด์ (LB)
ระยะห่างจากจุดที่รับน้ำหนักของโฟร์คลิฟท์(บริเวณหน้ารถ) ไปยังจุดศูนย์กลางในการรับน้ำหนักบรรทุก(กลางงา ที่ใช้ยก) คือ 24 นิ้ว
ความสูงในการยก คือ 173 นิ้ว
โฟร์คลิฟท์รับน้ำหนัก
จากภาพ รถโฟร์คลิฟท์กำลังยกของ หนัก 4000 ปอนด์ ซึ่งสิ่งของที่ยกมีระยะจากขอบถึงจุดศูนย์กลางที่สมดุล 18 นิ้ว
ส่วนรถโฟร์คลิฟท์ใช้ ค่าจากภาพด้านบน คือ รับน้ำหนักบรรทุกได้ 5000 ปอนด์ มีระยะจากจุดที่รับน้ำหนักของโฟร์คลิฟท์(บริเวณหน้ารถ) ไปยังจุดศูนย์กลางในการรับน้ำหนักบรรทุก(กลางงา ที่ใช้ยก) คือ 24 นิ้ว
จะคำนวนแรงที่มากระทำในการยก ที่เรียกว่าโมเมนท์ ได้ดังนี้
โมเม้นท์ ของ รถโฟร์คลิฟท์ = (24 นิ้ว x 5000 ปอนด์) = 120,000 นิ้ว-ปอนด์
โมเม้นท์ ของ วัตถุที่ยก       = (18 นิ้ว x 4000 ปอนด์) = 72,000 นิ้ว-ปอนด์
จากการคำนวนข้างต้น  พบว่ารถโฟร์คลิฟท์สามารถยกวัตถุนี้ได้อย่างปลอดภัย เพราะโมเมนท์ที่โฟล์คลิฟท์สามารถรับน้ำหนักได้ มีค่ามากกว่าโมเม้นท์ของวัตถุที่ยก
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าวัตถุที่ยกจะมีน้ำหนักเท่ากัน แต่ถ้าของที่ยกมีความกว้างมากขึ้น รถโฟร์คลิฟท์ก็อาจจะไม่สามารถที่จะทำงานได้อย่างปลอดภัย เช่น  สมมุติว่าวัตถุที่ยกมีความกว้าง 66 นิ้ว ซึ่งระยะจากขอบถึงจุดศูนย์กลางที่สมดุลก็จะเป็น 33 นิ้ว เมื่อคำนวนโมเม้นท์ออกมา ก็จะเป็น (33 นิ้ว x 4000 ปอนด์) = 132,000 นิ้ว-ปอนด์  เป็นค่ามากกว่าโมเม้นท์ที่รับได้ของโฟร์คลิฟท์
ดังนั้น พึงระลึกไว้เสมอว่า ของที่หนักเท่ากัน แต่ขนาดไม่เท่ากัน โฟร์คลิฟท์ไม่สามารถบรรทุกได้เหมือนกัน
ประเด็นถัดมาที่ควรจะให้ความสำคัญคือ เมื่อโฟร์คลิฟท์ยกงาตักขึ้นสูง จะส่งผลให้จุดรับน้ำหนักของโฟร์คลิฟท์ขยับไปด้านหน้า นั่นหมายความว่า ระยะจากจุดที่รับน้ำหนักของโฟร์คลิฟท์(บริเวณหน้ารถ) ไปยังจุดศูนย์กลางในการรับน้ำหนักบรรทุก(กลางงา ที่ใช้ยก) จะมีค่าลดน้อยลง (ตามตัวอย่างด้านบน คือ ค่าที่มีตัวเลขเท่ากับ 24 นิ้ว แต่ถ้ายกงาสูงขึ้น ค่าตรงนี้จะลดน้อยลง ความสามารถในการยกก็จะน้อยลง)
นอกจากการยกงาขึ้นสูงจะทำให้จุดศุนย์ถ่วงการรับน้ำหนักของโฟร์คลิฟท์ เปลี่ยนไปแล้ว ยังมีประเด็นอื่น เช่น
- วัตถุที่ยกเลื่อนไปที่ปลายงาของโฟล์คลิฟท์ (อาจจะวางสิ่งของไม่ดีตั้งแต่แรก หรือ สิ่งของเคลื่อนขณะยก)
- วัตถุที่ยก เอียง ไม่สมดุล
- การขับรถบนพื้นที่ลาดเอียง
- การเลี้ยว
- อื่นๆ
รับน้ำหนักโฟร์คลิฟท์
จากภาพด้านบน จะเห็นถึงจุดน้ำหนักที่สมดุลของโฟล์คลิฟท์ที่เปลี่ยนไปได้เข้าใจง่ายขึ้น

อุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยกโฟล์คลิฟท์
1. เสารถยก (Mast) คือ อุปกรณ์รางเลื่อนให้งาขึ้น-ลง โดยทั่วไปเสารถยกจะมี 2 ท่อน ซึ่งยกได้ประมาณ 3 เมตร แต่ถ้าต้องการยกได้สูประมาณ 5-6 เมตร จะต้องเปลี่ยนเสาให้สูงขึ้น หรือ ใช้เสา 3 ท่อน Full Free Mast คือ อุปกรณ์พิเศษของเสา เป็นเสาที่สามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีความจำกัด
2. กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic) โดยมาตราฐาน รถยกจะมีกระบอกไฮดรอลิคอยู่จำนวน 3 ชุด ดังนี้
2.1) กระบอกยก คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่ยกงาขึ้นลง มีสองกระบอก
2.2) กระบอกคว่ำ-หงาย คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่เอียงเสาไปหน้าและหลัง มีสองกระบอก
2.3) กระบอกบังคับเลี้ยว คือ กระบอกไอดรอลิคที่ทำหน้าที่บังคับการเลี้ยวของรถยก มีหนึ่งกระบอก
3. งารถยก (Fork) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ยกสัมภาระต่าง ๆ และงารถยกยังเป็นอุปกรณ์ที่ \”อันตราย\” ที่สุด งานของรถยกมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของสัมภาระที่จะยก
4. ล้อหน้า (Front Wheel) คือ ล้อที่มีหน้าที่ 3 ประการ ดังนี้
4.1) รับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด
4.2) ขับเคลื่อน
4.3) เบรค
ล้อของรถยกไฟฟ้าแบบยืนขับ จะมีล้ออยู่ 3 ชนิด ดังนี้
- ล้อรับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด
- ล้อขับเคลื่อน
- ล้อประคอง
5. ล้อหลัง (Rear Wheel) คือ ล้อที่ทำหน้าที่บังคับเลี้ยวเพียงอย่างเดียว
:: ทำไมเราต้องตรวจสภาพรถยก ก่อน และ หลัง การใช้งาน
1. เพื่อให้รถยกมีสภาพพร้อมใช้งาน
2. เพื่อความปลอดภัยของคนขับรถยกและผู้ร่วมงาน
3. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร

WWW.PCNFORKLIFT.COM

ระบบการทำงานและออกแบบระบบโครงสร้างตัวรถยก

รถยกต้องมีโครงสร้างตัวถังเหล็กที่ค่อนข้างแข็งแรง และมีความสมดุลพอที่จะรับน้ำหนักสิ่งของที่จะยกขึ้นไป ยิ่งต้องการยกน้ำหนักมากเท่าใด จะต้องมีโดครงสร้างตัวรถยกที่ใหญ่ และมีน้ำหนักตัวรถยกมากขึ้นไปตามสัดส่วน รวมทั้งอาจต้องมีขาหน้ามารองรับน้ำหนักด้วย
โครงสร้างตัวรถยกประกอบด้วยโครงรถ ชุดเสา และขารถ(ถ้ามี) ซึ่งรวมถึงล้อหน้าและล้อหลังที่ใช้ประคองตัวรถยก(ถ้าเป็นรถเล็กไม่จำเป็นต้องมีล้อประคอง แต่ใช้ล้อขับเคลื่อนทำหน้าที่รับน้ำหนักแทน)
การออกแบบจะต้องคำนึงถึงสภาพของคนขับว่าเป็นแบบเดินตาม ยืนบนรถหรือนั่งขับ ถ้าเป็นรถยกแบบStraddle และ reach truck ต้องคำนึงถึงขนาดของขาที่ยื่นไปข้างหน้า ถ้าเป็นรถยกประเภท CB(counterbalance) ต้องคำนึงน้ำหนักที่จะถ่วงดุลกับสิ่งของที่จะยก ในกรณีที่ตัวรถหนักไม่พอ (ถ้าเป็นเครื่องยนต์) อาจต้องเพิ่มน้ำหนักโดยเติมก้อนเหล็กติดไว้ที่ท้ายรถยก แต่ถ้าเป็นรถคันเล็กให้ใช้การเสริมแผ่นเหล็กที่หนาเพียงพอที่จะเป็นน้ำหนักช่วยถ่วงดุลย์ได้
การออกแบบโครงสร้างจะเป็นเงื่อนไขกำหนดขนาดกว้าง x ยาว x สูง ของตัวรถยก และระยะฐานระหว่างล้อหน้ากับล้อหลัง(wheels base) ทั้งหมดนี้จะมีผลต่อการใช้รัศมีวงเลี้ยวของตัวรถ ความคล่องตัวในการทำงาน การกลับลำเพื่อยกสินค้าขึ้นชั้น และการทรงตัวของตัวรถ
ยิ่งไปกว่านั้น โครงสร้างดังกล่าวยังเป็นเงื่อนไขในการกำหนดน้ำหนักตัวรถโดยรวม (ไม่รวมน้ำหนักแบตเตอรี่) ซึ่งมีผลต่อการนำรถไปใช้งานในอาคารที่มีชั้น 2,3 และชั้นลอย โดยเฉพาะการยกตัวรถขึ้นลิฟท์ ที่ต้องสามารถรับน้ำหนักของตัวรถให้ได้
สำหรับล้อที่จะนำมาใช้กับตัวรถ ถ้าน้ำหนักมาก ล้อต้องมีความสามารถที่จะรองรับน้ำหนักได้ โดยทั่วไปล้อที่ใช้กับรถยกในอาคารเป็นล้อยางตัน ล้อปลายขาจะมีขนาดเล็ก(Rollers) ล้อประคองกับล้อขับเคลื่อนจะมีขนาดใหญ่ (Wheels) ซึ่งอาจเป็นล้อยางตัน (cushion tire) หรือ ยางลม (pneumatic tire) ได้
สำหรับรถยก ล้อหน้าหลังใช้เหมือนกัน และนอกจากใช้ล้อยางตันแล้ว ยังนิยมใช้ล้อยางลมที่อัดสาร neoprene แทนที่อากาศ ทำให้คุณสมบัติล้อยางตันแต่รับแรงสะเทือนได้ดีกว่า และไม่มีปัญหาลมรั่ว ซึ่งจะเป็นอันตรายในขณะยกสินค้า

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วิธี การ ขับ รถ โฟล์คลิฟท์ ให้ ประหยัด น้ำมัน

1. การ ออก รถ ยก ควร ทำ อย่าง นิ่มนวล เพราะ การ ออก รถ ยก อย่าง รุนแรง และ รวดเร็ว จะ ทำให้ สิ้น เปลือง น้ำมัน มาก เครื่องยนต์ และ ชิ้น ส่วน ต่างๆ ก็ สึกหรอ มาก เช่น กัน
2. หาก ต้อง รอ ประมาณ 3-4 นาที ขึ้น ไปก็ ควร ดับเครื่อง
3. มี จุด มุ่งหมาย ใน การ เดินทาง การ ใช้ รถ ยก จะ ต้อง มี แผนการ เดินทาง ว่า จะ ไป ยก ที่ไหน ทาง ไหน ใกล้ สุด
4. อย่า ใช้ ยก น้ำหนัก เกิน อัตรา การ รับ น้ำหนัก ที่ กำหนดนอกจาก จะ ทำให้ สิ้น เปลือง แล้ว ยัง เสี่ยง ต่อ อันตราย ด้วย
5. ใช้ ความเร็ว สม่ำเสมอ ไม่ ขับ ขึ้น ลง ทาง ลาด ชัน บ่อยๆ
6. ตรวจ เช็ค และ ตั้ง เครื่องยนต์ ตาม กำหนดควร ตรวจ สภาพ ของ รถ ยก ก่อน ใช้ งาน ทุก ครั้ง เพื่อ ช่วย ให้ อายุ การ ใช้ งาน นาน ขึ้น และ ช่วย ประหยัด น้ำมัน
7. ไม่ ขับ รถ ยก เร็ว การ ขับ รถ ยก เร็ว จะ ทำให้ เปลือง น้ำมัน มาก ขึ้น โดย ไม่มี ความ จำเป็นการ ใช้ ความเร็ว ตาม ที่ กำหนด จะ ประหยัด น้ำมัน ได้ 10-15 เปอร์เซ็นต์

ชั้นวางสินค้า บทความที่แล้วเราได้กล่าวถึง ขนาดและชนิดของแพลเลท กันไปในบทความนี้เราจะพูดถึงชนิดและความสูงของ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน ว่ามี ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน ชนิดอะไรบ้างและแต่ละชนิดนั้นมีความสูงเท่าไหร่
ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน หรือชั้นวางในคลังสินค้ามีหลายประเภทด้วยกัน และเป็นเงื่อนไขในการเลือกใช้ชนิดรถยก ตลอดจนขนาดรถยกที่แตกต่างกันไป
1) Selective racks หรือ pallet racks
เป็นชั้นวางหันด้วนยาวกับทางวิ่ง ทำให้รถยกสามารถเลือกที่จะนำสินค้าขึ้นชั้นได้สะดวกตลอดแนวยาวของ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน โดยปกติจะวางเป็นคู่ให้รถยกสามารถเข้าตักสินค้าได้จากทั้งสองด้าน
โดยทั่วไปการวางผัง (layout) คลังสินค้า และติดตั้ง ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน จะต้องคำนวณและวางแผนการเลือกใช้ชนิดรถยก ขนาดรถยก รวมถึงรัศมีวงเลี้ยวไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะความกว้างของทางวิ่ง (aisle) ควรมีบริเวณกว้างเพียงพอสำหรับการกลับลำของตัวรถยกได้ คือเป็น RASA ดังนั้น เมื่อต้องการซื้อรถยกเพิ่มจะต้องพิจารณา RASA ให้เพียงพอสำหรับรถยกคันใหม่ด้วย
2) Drive-in racks
เป็นชั้นวางที่มีโครงสร้างติดกันเป็นแนวยาว รถยกจะเข้าทำงานจากด้านหน้าแทนด้านแนวยาวของ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน รถยกที่เลือกใช้ต้องสามารถรอดเข้าไประหว่างเสาคู่หน้าในแต่ละช่องของ drive-in rack แล้ววิ่งเข้าไปทำงานลึกถึงภายใน ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน แล้วขับถอยกลับออกมาได้
การเลือกใช้รถยกจึงควรพิจารณาที่ขนาดความกว้างสุดของตัวรถยก ซึ่งหากตัวรถมีขนาดกว้างเกิดช่องเสาจะไม่สามารถนำมาทำงานกับ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน ชนิดนี้ ดังนั้น การเลือกชนิดและแบบของรถยกจึงต้องพิจารณาสัดส่วนขนาด(dimension) ของตัวรถเป็นสำคัญด้วย
3) Double deep racks
เ็ป็นชั้นวางที่มีผังดครงสร้างแบบเดียวกัน selective rack โดยจัดเป็น 3-4 แถวคู่ขนานกัน เพื่อช่วยให้ลดขนาดของพื้นที่ลงได้ 1 ช่องทางวิ่งในทุก 4 แถว อย่างไรก็ตาม พบว่ามีรถเพียงประเภทเดียวเท่านั้นที่ทำงานในลักษณะนี้ได้ คือ double reach truck เพราะมีชุดขากรรไกรสำหรับยื่นงาได้ 2 ชุด ทำให้ยื่นไปได้ไกลขึ้นหนึ่งเท่าตัว
4) Flow racks
เป็นชั้นวางที่จัดเรียงกันคล้าย drive-in rack แต่ flow rack มีระบบ rollers อยู่ภายใน และใช้ระดับความเอียงช่วยให้แพลเลทไหลไปอีกข้างหนึ่งตามแรงโน้มถ่วง รถยกจะทำงานอยู่ภายนอกที่ด้านหัวและท้ายของชุด racking เท่านั้น รถยกทุกชนิดจึงสามารถทำงานกับ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน ชนิดนี้ได้
5) Mobile racks
เป็นชั้นวางที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับ selective rack แต่ชุด ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน จะมีรางวางใต้พื้นเพื่อให้ชั้นวางแต่ละชุดเคลื่อนตัวไปมาด้วยแรงมอเตอร์ และสามารถเปิดเป็นช่องทางวิ่งเมื่อต้องการเข้าไปทำงานได้
6) High rise racks
เป็นชั้นวางที่มีความสุงมากระดับ 10 เมตรขึ้นไป และส่วนใหญ่มีการวางผังลักษณะเดียวกับ selective rack อย่างไรก็ตาม ช่องทางวิ่งเป็นแบบ VNA ทำให้ต้องเลือกใช้รถยกในกลุ่ม VNA เช่นกัน ได้แก่ turrent truck, swing mast truck และ hybrid truck
เราก็ทราบแล้วนะค่ะว่า ชนิดของ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน มีอะไรบ้าง ในบทความหน้าเราจะมาพูดเรื่องสภาพพื้นที่สำหรับการใช้งานรถยกภายในอาคารและ นอกอาคารกันค่ะ


แพลเลทพลาสติก
ข้อดี แพลเลทพลาสติก
1.รูปร่างการขึ้นรูป และขนาดจะมีความแม่นยำ และใกล้เคียงกันทุกชิ้น
2.ไม่ดูดซับความชื้นได้ง่าย เหมือนไม้ จึงทนต่อสภาพการใช้งานในสภาวะต่าง ๆ ได้ดีกว่า
3.กระบวนการผลิตจะทำได้ง่ายกว่ารูปแบบอื่น ๆ หากต้องการทำตามรูปแบบเดิมที่มีอยู่ ดังนั้นสามารถจัดหาทดแทนได้เร็วกว่า ไม่ต้องมีการเก็บสต็อกเยอะมาก และระยะเวลาการสั่งซื้อทดแทนสั้นกว่า
4.ไม่มีส่วนแหลมคม หรือตะปู ที่จะแทงทะลุสิ่งของที่จะวาง หรือชั้นวาง และพื้นจะไม่ถูกทำลาย เพราะสาเหตุดังกล่าวได้
5.สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีความสกปรกหมักหมม เหมือนที่ทำจากวัสดุอื่น จึงลดโอกาสการเพาะเชื้อ หรือปนเปื้อนได้ดีกว่า
6.ทำการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม น้อยมาก เหมือนวัสดุอื่น โดยเฉพาะที่ทำจากไม้
7.สามารถผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วได้ เป็นการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม
8.สามารถออกแบบให้มีน้ำหนัก เบา รูปร่างโปร่งได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการรับน้ำหนัก
9.สามารถใช้งานได้ทนทานกว่า หากใช้งานอย่างถูกวิธี และบรรทุกน้ำหนักเกินจากมาตราฐาน
ข้อเสีย แพลเลทพลาสติก
1.ราคาจะสูงกว่า วัสดุบางอย่าง
2.มีความย่งยากในการทำสี และสีไม่ค่อยคงมน
3.การติดสติกเกอร์ ความคงทนติดแน่นไม่ค่อยดีเท่าที่ควร
4.เนื่องจากการใช้งานยังไม่เป็นที่แพร่หลายในวงการมากนัก ฉะนั้นการแลกเปลี่ยนแพลเลทระหว่างผู้ประกอบการ ซึ่งนิยมทำอยู่ในบางวงการอาจไม่มีความสะดวกเท่าที่ควร เพราะคู่ค้าอาจใช้วัสดุที่เป็นไม้ ซึ่งเป็นที่นิยมในอดีตมากว่าอยู่

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยกไฟฟ้า

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยกไฟฟ้า  

ความหมาย  battery forklift

Batteries เป็นแหล่งสะสมพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงปฏิกริยาทางเคมี  พลังงานไฟฟ้าที่สะสมไว้ได้นี้เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสตรง (Direct Current)

  1. ส่วนประกอบ (กรณีแบตเตอรี่ตะกั่วกรด หรือ Lead Acid Battery)
1.1        แผ่นธาตุบวก ทำด้วยตะกั่วไดออกไซด์ (Pb2)  มีหลายชนิด เช่น
*        แผ่นเรียบ
*        แผ่นหลอด
ซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป
1.2        แผ่นธาตุลบ  ทำด้วยตะกั่วบริสุทธิ์ (Pb) ส่วนใหญ่เป็นแผ่นเรียบ
1.3        แผ่นกั้น (Separator) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แผ่นธาตุบวกและลบสัมผัส ลัดวงจรกัน คุณสมบัติของแผ่นกั้นที่ดีต้องยอมให้โมเลกุลของน้ำกรดผ่านได้สะดวก แต่ต้องไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าไหลผ่านได้ มีหลายชนิด เช่น
*        ไมโคร โพรัสรัมเบอร์
*        PVC
*        กระดาษเซลลูโลส
1.4        น้ำยาอีเล็คโตรไลท์ (Electrolyte) คือสารละลายที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ในที่นี้จะเป็นสารละลายกรดกำมะถัน (Sulphuric Acid) หรือเรียกกันสั้นๆว่า น้ำกรด
1.5         เปลือกเซลแบตเตอรี่ (Cell Jar) ทำหน้าที่ประจุส่วนประกอบต่าง ๆ  กรุ๊ปแผ่นธาตุและน้ำกรดไว้ภายใน มีหลายชนิด เช่น
*        เปลือกยางสีดำ (Hard Rubber)
*        เปลือกพลาสติกขุ่น หรือสีดำ (Polypropolyne - PP)
1.6        ฝาปิดเซลแบตเตอรี่ (Cell Lid) ทำหน้าที่ปกปิดไม่ให้เศษวัสดุหรือสารที่ไม่ต้องการตกลงภายในเซลแบตเตอรี่ ส่วนมากทำมาจากวัสดุชนิดเดียวกับเปลือกเซลแบตเตอรี่
1.7        นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบด้วย
*        ขั้ว (Therminal Post)
*        ยางอัดขั้ว (Rubber Grommet)
*        ขารองกรุ๊ปแผ่นภายในเซล (Prism)
*        จุกปิดฝา (Vent Plug)
*        สะพานไฟ (Intercell Connector)

  1. การทำงานของแบตเตอรี่ชนิดน้ำกรด (Lead Acid Battery)
ค่าความต่างศักย์ระหว่างขั้วบวกและขั้วลบ = 2.1 Volts

          เมื่อแบตเตอรี่ประจุไฟฟ้าเต็ม (Charged) จะมีแรงดันต่อเซลเท่ากับ  2.1 Volts  (แต่โดยทั่วไปมักจะพูดกันที่ค่าแรงดันต่อเซลเท่ากับ  2 Volts)  และค่าความถ่วงจำเพาะ หรือ ถ.พ. ของน้ำกรดจะสูงขึ้นจนได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น 1.270 เป็นต้น
          ต่อมาเมื่อแบตเตอรี่ถูกนำมาใช้งาน (Discharged) อนุมูลซัลเฟตจะแยกตัวและถูกดูดซับเข้าไปในแผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ  ทำให้ความเข้มข้นและ ถ.พ.ของน้ำกรดลดต่ำลงจนมีค่าใกล้ 1.150 ซึ่งจะทำให้ค่าแรงดันของแบตเตอรี่ลดตามลงไปด้วย เมื่อนำแบตเตอรี่กลับมาประจุไฟใหม่ (Recharge) เครื่องประจุไฟฟ้า (Charger) จะจ่ายกระแสไฟคืนเข้าไปยังตัวแบตเตอรี่เพื่อขับไล่อนุมูลซัลเฟตที่อยู่ในแผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบให้กลับมาผสมกับน้ำทำให้ ถ.พ. และแรงดันของแบตเตอรี่เพิ่มกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

  1. หน้าที่ของแบตเตอรี่เมื่อนำมาใช้งานกับรถยกไฟฟ้า
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์ปั้มไฮโดรลิค
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์ขับเคลื่อน
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์พวงมาลัย
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับระบบแสงสว่าง , สัญญาณต่างๆ และระบบควบคุม (ควรใช้ DC To Dc converter)
*        เป็นน้ำหนักถ่วงในขณะยกของ(Counterbalance)

  1. อายุของแบตเตอรี่
โดยปกติอายุของแบตเตอรี่จะกำหนดเป็นจำนวน Cycles
*       แบตเตอรี่ชนิดแผ่นหลอด    =  1200 - 1500 Cycles
*       แบตเตอรี่ชนิดเรียบ            =  700 - 800 Cycles
                                      (Discharged 80% and Recharge 8 – 12 Hr )
1 Cycles  หมายถึง การใช้งาน (Discharge) 1 ครั้ง และประจุไฟกลับคืน(Recharge) 1 ครั้ง

ข้อเสนอแนะในการใช้แบตเตอรี่  เพื่อการบำรุงรักษา

สิ่งที่ควรปฏิบัติ
1.     ตรวจเช็คระดับของน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับอยู่เสมอ
2.     ใช้น้ำกลั่นบริสุทธิ์เท่านั้น เติมลงในแบตเตอรี่
3.     บำรุงรักษาแบตเตอรี่ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า
4.     สวมถุงมือและแว่นตา เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
5.     ให้รีบประจุไฟให้กับแบตเตอรี่ทันทีเมื่อใช้งานแบตเตอรี่เสร็จแล้ว
6.     เปิดจุกปิดฝา ในขณะที่ประจุไฟ เพื่อระบายความร้อนและแก๊สได้ดียิ่งขึ้น
7.     ประจุไฟให้เต็มทุกครั้ง ก่อนนำไปใช้งาน (ถ.พ 1.270-1.280)
8.     เมื่อประจุไฟเต็มแล้วก่อนนำออกใช้ควรทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีเพื่อให้อุณหภูมิลดลงก่อน
9.     ปิดฝาครอบขั้วแบตเตอรี่ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการลัดวงจร
10. ตรวจเช็คอุปกรณ์ของแบตเตอรี่อยู่เสมอ หากชำรุดควรแก้ไขหรือแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบ


สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
1.     ใช้แบตเตอรี่เกินอัตราที่กำหนด ถ.พ ต่ำกว่า 1.150
2.     ประจุไฟเกิน (Over Charger) อัตราที่กำหนด
3.     เติมน้ำกลั่นน้อยหรือมากเกินไป
4.     ใช้เครื่องมือที่เป็นโลหะโดยไม่มีฉนวนหุ้ม
5.     สูบบุหรี่ หรือทำให้เกิดประกายไฟใดๆ ใกล้แบตเตอรี่
6.     เปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายแบตเตอรี่โดยไม่ระมัดระวังอาจเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานหรือตัวแบตเตอรี่ได้

ประกาศข่าวสารงานโฟล์คลิฟท์


(สำเนา)
ประกาศ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
เรื่อง ประมูลซื้อ รถยกไฟฟ้า (FORKLIFT) พร้อมแท่นชาร์ตแบตเตอรี่ จำนวน 10 คัน ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์


               ด้วย ฝ่ายจัดหาและคลังพัสดุ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มีความประสงค์จะประมูลซื้อ รถยกไฟฟ้า (FORKLIFT) พร้อมแท่นชาร์ตแบตเตอรี่ จำนวน 10 คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)
โดยมี รายละเอียดดังนี้


เชิญชวนประกวดราคาซื้อรถยกไฟฟ้า (FORKLIFT) พร้อมแท่นชาร์ตแบตเตอรี่ จำนวน 10 คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)


- หลักประกันซองประกวดราคา จำนวน 525,000 .- บาท (ห้าแสนสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

คุณสมบัติของผู้เสนอราคา

1 บุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ประกอบอาชีพค้าขายสินค้ารวมทั้งค้าขายพัสดุที่ประกาศประกวดราคาฯ ด้วย และซื้อเอกสารข้อกำหนดในการประกวดราคาซื้อฯ (กรณีมีการจำหน่ายเอกสารข้อกำหนดในการประกวดราคาซื้อฯ)
2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่ได้
จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีอาชีพค้าขายพัสดุที่ประกาศประกวดราคาฯ นี้ และซื้อเอกสารข้อกำหนดในการประกวดราคาซื้อฯ (กรณีมีการจำหน่ายเอกสารข้อกำหนดในการประกวดราคาซื้อฯ)
3 ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทาง ราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้วหรือไม่เป็นผู้ที่ได้รับผลของการสั่งให้ นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบของทางราชการ
4 ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น และ/หรือต้องไม่เป็นผู้มี
ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้เสนอราคากับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ณ วันประกาศ
ประกวดราคาฯ หรือ ไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
5 ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยเว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้ สละสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นว่านั้น


- กำหนดเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2553


ผู้ที่ผ่านการพิจารณาข้อกำหนดทางวิชาการและเทคนิคแล้ว หากไม่ดำเนินการในกรณีต่อไปนี้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะยึดหลักประกันซอง
1.ไม่ส่งผู้แทนมาลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่กระบวนการเสนอราคาตามวันเวลาและสถาน ที่ที่กำหนด
2.มาลงทะเบียนแล้ว ไม่ LOG IN เข้าสู่ระบบ
3. LOG IN แล้ว แต่ไม่มีการเสนอราคา หรือเสนอราคาผิดเงื่อนไขที่กำหนดโดยการเสนอราคาสูงกว่าหรือเท่ากับราคาเริ่ม ต้นการประมูล
4. ไม่ลงลายมือชื่อในแบบ บก.008 แบบยืนยันราคาสุดท้ายในการเสนอราคา

               ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมี คุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
               
               
               
                กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 29 มิถุนายน 2553 ระหว่างเวลา 09.00 น. ถึง 11.15 กำหนดเปิดซองประกวดราคาในวันเดียวกัน เวลาประมาณ 11.30 น. ณ ฝ่ายจัดหาและคลังพัสดุ ชั้น1 อาคารบริหาร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ - มกราคม 2553 เวลา - น.
               ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ 1,177 บาท ได้ที่ ส่วนจัดหาพัสดุครุภัณฑ์ ฝ่ายจัดหาและคลังพัสดุ ชั้น1 อาคารบริหาร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เลขที่ 111 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210-0299 ระหว่างวันที่ 3 มิถุนายน 2553 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2553 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.thailandpost.com , www.gprocurement.go.th หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 02-831-3903 ในวันและเวลาราชการ











ร่างขอบเขตของงาน (TERM OF REFERENCE : TOR)
การประกวดราคาซื้อรถยกขนาดพิกัดน้ำหนักยกไม่น้อยกว่า 3 เมตริกตัน
แบบ STANDARD TYPE  ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
จำนวน 7 คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
1.     ความเป็นมา
ท่าเรือกรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้รับงบประมาณปี พ.ศ. 2553 ให้จัดซื้อรถยกขนาดพิกัดน้ำหนักยกไม่น้อยกว่า 3 เมตริกตันแบบ STANDARD TYPE ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า           จำนวน 7 คัน  เพื่อทดแทนของเก่าที่ใช้งานมานาน มีสภาพชำรุดทรุดโทรมต้องซ่อมบำรุงรักษาบ่อยครั้ง  และหมดอายุการใช้งาน ไม่คุ้มค่าต่อการซ่อมใช้งานต่อไป
2.     วัตถุประสงค์
2.1  เพื่อทดแทนรถเดิมที่เสื่อมสภาพและหมดอายุการใช้งานจำนวน  7  คัน
2.2  เพื่อให้มีรถยกไฟฟ้าขนาดพิกัดน้ำหนักยกไม่น้อยกว่า 3 เมตริกตันแบบ STANDARD TYPE ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า  เพียงพอต่อการให้บริการ และมีประสิทธิภาพสูงสุดอันจะทำให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ
3.  คุณสมบัติผู้เสนอราคา
3.1  ผู้เสนอราคาต้องซื้อเอกสารการประกวดราคาซื้อรถยกไฟฟ้าขนาดพิกัดน้ำหนักยก         ไม่น้อยกว่า 3 เมตริกตันแบบ STANDARD TYPE ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จำนวน 7 คัน ด้วยวิธี        การทางอิเล็กทรอนิกส์ไปจากการท่าเรือฯ เท่านั้น
3.2  ผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่ประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นตัวแทนจำหน่ายโดยตรงจากบริษัทผู้ผลิตหรือสาขาบริษัทผู้ผลิตที่จำหน่ายรถยกฯ ดังกล่าวอย่างน้อย 1 ปี (นับถึงวันที่ยื่นข้อเสนอการประกวดราคาฯ)
3.3  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว หรือไม่เป็นผู้ที่ได้รับผลของการสั่งให้นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบ      ของทางราชการ
3.4  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น และ/หรือต้อง    ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้เสนอราคากับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ณ วันประกาศ        การประกวดราคาซื้อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม  
3.5  ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาล-ไทย เว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นว่านั้น
3.6  ผู้เสนอราคาต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 2,000,000.-บาท (สองล้านบาทถ้วน) โดยชำระเต็มมูลค่า
4.      แบบรูปรายการ หรือคุณลักษณะเฉพาะ    
1.  ลักษณะ  
1.1    เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ หรือญี่ปุ่น
1.2    เป็นรถชนิดขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า  แบบ 4 ล้อ โดยขับเคลื่อนด้วย  2  ล้อหน้า  และ
บังคับเลี้ยวด้วย 2 ล้อหลัง
1.3    เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (BRAND NEW) ที่กำลังอยู่ในสายการผลิต
2.  ความสามารถในการยก (CAPACITY) สามารถยกน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 3 เมตริกตัน          ที่จุดศูนย์ถ่วง (LOAD CENTER) ไม่น้อยกว่า 500 มิลลิเมตร และยกได้สูงไม่น้อยกว่า 3,000 มิลลิเมตร        วัดจากพื้นถึงขอบบนของงาในแนวดิ่ง
3.  คันบูม (MAST) มีลักษณะดังนี้.-
3.1    เป็นแบบ 2 ชั้น (TWO STAGE  FREE VIEW MAST)
3.2    มีที่กั้นของตก(LOAD BACKREST)
3.3    มีระยะยกฟรี (FREE LIFT) ไม่น้อยกว่า 150 มิลลิเมตร
3.4    ก้มและเงยได้สูงสุดไม่น้อยกว่า 6 องศา และ 10 องศา ตามลำดับ
4.  โครงหลังคา (OVERHEAD GUARD) ทำด้วยโครงเหล็กแข็งแรง สามารถป้องกันอันตรายจากสิ่งของตก ด้านบนของหลังคาเป็นแผ่นโลหะบังแดดและบังฝนได้โดยยึดติดแน่นกับโครงหลังคาและด้านบนของโครงหลังคาต้องไม่มีชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ของระบบไฮดรอลิค
5.  งา  (FORK) ทำด้วยเหล็กแข็งดีเหนียวยาวไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตร มีความหนา และความกว้างตามมาตรฐานของบริษัทผู้ผลิต 
6. มอเตอร์ไฟฟ้า
6.1  มอเตอร์ระบบยกแบบไฟฟ้ากระแสสลับ (LIFT AC MOTOR) ขนาดไม่น้อยกว่า 12.5 กิโลวัตต์ มี RATING ไม่น้อยกว่า 5 min.
6.2  มอเตอร์ระบบขับเคลื่อนตัวรถแบบไฟฟ้ากระแสสลับ (DRIVE  AC  MOTOR) ขนาดไม่น้อยกว่า 9 กิโลวัตต์ มี RATING ไม่น้อยกว่า 60 min.
6.3  มอเตอร์ระบบบังคับเลี้ยวแบบไฟฟ้ากระแสสลับหรือกระแสตรง (POWER STEERING AC/DC  MOTOR) ขนาดไม่น้อยกว่า 0.5 กิโลวัตต์ มี RATING ไม่น้อยกว่า 60 min.
7.  ระบบไฟฟ้า (ELECTRICAL SYSTEM) 
7.1 เป็นแบบทำงานด้วยแบตเตอรี่ มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 72 VOLT มีความจุ                  ( BATTERY CAPACITY )ไม่น้อยกว่า 450Ah/5h แบตเตอรี่เป็นแบบเปียก (LEAD ACID TRACTION BATTERY ) จำนวน 1 ชุดต่อ 1 คัน และต้องมี สวิทช์ สำหรับตัดกระแสไฟจากแบตเตอรี่(CUTOUT SWITCH ) เมื่อเลิกใช้งานทุกระบบต้องไม่ทำงาน ติดตั้งในที่ที่เหมาะสม
7.2 ต้องมีระบบลดความเร็วในการยกอัตโนมัติ เมื่อแบตเตอรี่ มีกำลังไฟเหลือน้อยกว่า 20%
7.3 เครื่องชาร์จไฟฟ้าจำนวน 1 ชุดต่อคัน เป็นแบบที่ใช้กับรถยกที่ส่งมอบให้กับ การท่าเรือฯโดยเฉพาะ (ครบชุดพร้อมสาย) ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 380 VAC. โดยผู้ขายต้องติดตั้งให้เป็นไปตามที่         การท่าเรือฯกำหนด
8.   ระบบการเลี้ยวหัน (STEERING SYSTEM)  
 ขณะที่ล้อหลังตรง ปุ่มหมุนพวงมาลัยจะต้องอยู่ที่ตำแหน่ง   8 หรือ 9 นาฬิกาเสมอ และไม่สบัดกลับ
9.    ระบบเบรค   (SERVICE BRAKE  SYSTEM) 
เป็นไปตามมาตรฐานผู้ผลิต พร้อมเบรคมือ (PARKING BRAKE)  
10.  ความเร็ว (SPEED) กำหนดเมื่อยกน้ำหนักเต็มพิกัด
10.1   ความเร็วขับเคลื่อน (LOADED TRAVEL SPEED) เดินหน้าและถอยหลังไม่น้อยกว่า 12 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
10.2   ความเร็วในการยกสินค้าขึ้น (LOADED LIFTING SPEED)ไม่น้อยกว่า 260  มิลลิเมตรต่อวินาที
11.  รัศมีวงเลี้ยว (TURNING RADIUS) ไม่เกินกว่า 2,250 มิลลิเมตร
12.  ล้อยาง (TYRES) 
ยางเป็นแบบ UNIQUE  CUSHION TYRES มีขนาดวงล้อตามมาตรฐานของผู้ผลิต และสามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ พร้อมกงล้อและยางอะไหล่อย่างละ 2 ชุด/คัน (ล้อหน้า 1 ชุด และล้อหลัง 1 ชุด)
13.  อุปกรณ์และเครื่องวัดต่าง
13.1   เครื่องบันทึกชั่วโมงการทำงาน (HOUR METER)
13.2   เครื่องวัดอุณหภูมิมอเตอร์ (MOTOR TEMPERATURE GAUGE)
13.3   เครื่องวัดอุณหภูมิน้ำมันไฮดรอลิก(HYDRAULIC OIL TEMPERATURE GAUGE)  
13.4   เครื่องวัดระดับกำลังไฟแบตเตอรี่ (BATTERY DISCHARGE INDICATOR)
13.5      เครื่องแสดงสัญญาณไฟการห้ามล้อ (PARKING BREAK LIGHT)
13.6   เครื่องแสดงสัญญาณไฟเตือนการบำรุงรักษา (SERVICE MONITOR)
13.7   เครื่องแสดงสัญญาณไฟเลี้ยว (TURN SIGNAL INDICATOR LIGHT)
13.8   มีอุปกรณ์สะท้อนแสง (REFLECTOR) ขนาดประมาณเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว ติดตั้งด้านหลังตัวรถ 2 ชุด และติดตั้งที่ด้านข้างตัวรถข้างละ 2 ชุด พร้อมทั้งติดตั้งแผ่นกันลื่นที่บันได ทั้ง 2 ข้าง
13.9   กระจกส่องหลัง (REAR VIEW MIRROR ) ติดตั้งข้างซ้าย-ขวา คันละ 1 ชุด
13.10 กุญแจสตาร์ทและหยุดการทำงานของรถจำนวน 4 ชุดต่อคัน
13.11 แตรไฟฟ้า (HORN)   
13.12 เบาะนั่งแบบลดแรงสั่นสะเทือนแบบปรับระดับน้ำหนักได้ มีเข็มขัดนิรภัยพร้อมสวิทช์ใต้เบาะตัดการทำงานของระบบยก และระบบขับเคลื่อน
13.13  เครื่องวัดความเร็วในการขับเคลื่อน(TRAVEL SPEED METER)
14.  โคมไฟ ไฟสัญญาณ และสัญญาณต่าง ๆ ขนาดไม่เกิน 24 โวลท์ มีดังนี้.-
14.1   โคมไฟฉาย (SPOT LIGHTS) สำหรับส่องเวลาปฏิบัติงานกลางคืนหน้า-หลังด้านหน้า 2 ดวง และด้านหลัง 2 ดวง (FRONT AND REAR WORKING LAMPS) ติดตั้งอยู่บริเวณเสาคู่หลังของโครงหลังคารถ
14.2   ไฟท้าย ไฟหยุด ไฟข้างและไฟเลี้ยว (TAIL STOP SIDE AND TURNING SIGNAL LAMPS) จำนวน 1 คู่ ติดตั้งอยู่บริเวณเสาคู่หลังของโครงหลังคารถ
14.3      ไฟและเสียงสัญญาณเวลาถอยหลัง (REVERSING LAMP AND BUZZER)
14.4      มีเสียงสัญญาณเตือนเมื่อยกขึ้นสูงเกินพิกัด (AUTO LIFT BUZZER)
14.5   ไฟสัญญาณการปฏิบัติงานขนาด 24 โวลท์ สีเหลืองติดตั้งบนหลังคา
15.  สี (COLOR) ตัวรถต้องเป็นเหลือง และบริเวณด้านท้ายรถคาดด้วยสีเหลือง/ดำสะท้อนแสง ตามที่การท่าเรือฯ กำหนด
16.  อะไหล่และอุปกรณ์ตามระบบ PMS (PERIODIC MAINTENANCE SYSTEM) ในระยะเวลา 2,000 ชั่วโมง และตามรอบระยะเวลาการบำรุงรักษาในช่วง 5 ปีแรก
ผู้เสนอราคาต้องแจ้งรายการละเอียดของอะไหล่และอุปกรณ์ตามระบบ PMS (PERIODIC MAINTENANCE SYSTEM) ในระยะเวลา 2,000 ชั่วโมง (RECOMMENDED SPARE PART) และตามรอบระยะเวลาการบำรุงรักษาในช่วง 5 ปีแรก ตามรายการข้างล่างนี้ พร้อมข้อเสนอทางด้านเทคนิค ซึ่งการท่าเรือฯ สงวนสิทธิที่จะพิจารณาเลือกซื้อหรือไม่ซื้อก็ได้ ในกรณีที่จะจัดซื้อจะแยกพิจารณาการจัดซื้อต่างหากจากตัวรถ
16.1   PART NUMBER LISTS
16.2   ชื่ออะไหล่
16.3   จำนวน
16.4   ราคาต่อหน่วย
16.5   ชื่อผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทย
17.  หนังสือคู่มือ (INSTRUCTION MANUAL)
ผู้ขายต้องส่งมอบหนังสือคู่มือเป็นภาษาอังกฤษและหรือภาษาไทยพร้อมทั้งแผนผังระบบต่างๆ ขนาดใหญ่ติดฝาผนัง ในวันส่งมอบรถ ดังนี้    
17.1   หนังสือคู่มือ (INSTRUCTION MANUAL) ให้จัดทำในรูปแบบ CD-ROM จำนวน  3 ชุด และเป็นเอกสารจำนวนอย่างละ 3 ชุด อย่างน้อยประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้
§    การใช้และบำรุงรักษาเบื้องต้น (OPERATION AND MAINTENANCE MANUAL )            
§    รายการชิ้นส่วนอะไหล่ (SPARE PART LIST)           
§    การซ่อมและการแก้ไขข้อขัดข้อง (MAINTENANCE AND TROUBLE SHOOTING)
17.2   แผนผังขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 4 เท่าของหนังสือคู่มือ (เคลือบแข็งแยกสีตามระบบ) อย่างละ 3 ชุด อย่างน้อยดังนี้
§    แผนผังแสดงทางติดต่อของระบบไฮดรอลิก            
§    แผนผังแสดงทางติดต่อของระบบไฟฟ้า                  
§    แผนผังแสดงจุดบำรุงรักษา
18.  การฝึกอบรม (TRAINING)
                          ผู้ขายออกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ณ การท่าเรือฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้.-
                          18.1 พนักงานขับรถอย่างน้อยจำนวน 7 นาย เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ              การท่าเรือฯ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วันหลังจากการส่งมอบรถ เพื่อฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้และซ่อมบำรุงรักษาเบื้องต้นให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานดังกล่าว พร้อมทั้งประเมินผลเสนอต่อ       การท่าเรือฯ                 
                          18.2 พนักงานช่างเทคนิค อย่างน้อยจำนวน 4 นาย เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ ณ การท่าเรือฯ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วันหลังจากการส่งมอบรถ เพื่อฝึกอบรมเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรักษา และการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องทางด้านเครื่องกล ไฟฟ้า เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานดังกล่าวพร้อมทั้งประเมินผลเสนอต่อการท่าเรือฯ                
                          ผู้ขายต้องจัดเตรียมหลักสูตร วิทยากรและเอกสารต่าง ๆ ในการฝึกอบรม ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นของผู้ขาย กองเครื่องมือทุ่นแรง เป็นผู้จัดหาสถานที่อบรม 
          
5.      ระยะเวลาดำเนินการ
90 วัน
6.      ระยะเวลาส่งมอบรถ
ระยะเวลาส่งมอบ 180 วัน นับถัดจากวันลงนามรับใบสั่งซื้อ
7.      เงื่อนไขในการรับประกันสินค้า 
365 วัน นับถัดจากวันรับมอบรถ
8.      วงเงินในการจัดซื้อ
ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 11,576,250.-บาท
 ทั้งนี้หากผู้ที่สนใจมีข้อเสนอแนะ วิจารณ์ หรือมีความเห็นเป็นอย่างอื่น ก็สามารถส่งข้อเสนอแนะ วิจารณ์ หรือความคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทางเว็บไซต์ได้โดยเปิดเผยตัว ดังนี้
·   เลขานุการกรรมการร่างขอบเขตของงาน (TOR) หัวหน้าแผนกพัสดุ 1 ท่าเรือกรุงเทพ     ชั้น13 อาคารที่ทำการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กรุงเทพฯ 10110        โทรศัพท์ 0-2269-5812 โทรสาร 0-2249-3257


ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553


( นางสาวพุทธวดี ทินวัฒน์ )
ตำแหน่ง
ผู้จัดการฝ่ายจัด หาและคลังพัสดุ

สำเนาถูกต้อง
( นายสำนวน สุขพัฒนากุล )
ตำแหน่ง
นบง.7
WWW.PCNFORKLIFT.COM