วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

Nissan ForkLift



ประวัติ และความเป็นมารถยก
ช่วงสงครามโลกครั้งที่1 ได้ผลักดันให้มีการพัฒนาการยกแท่นรองฐานปืนโดยช้ระบบไฟฟ้า แต่ด้วยความจำเป็นและสะดวกต่อการใช้งาน ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนของการยกย้ายลูกระเบิดด้วยความนิ่มนวลปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งมีการพัฒนาใช้ทั้งระบบแมคคานิค และรถยกไฟฟ้าขึ้นมาด้วย
ในรุ่นแรกๆทีเดียว รถยกจะเป็นแบบง่าย ๆ ไม่มีระบบไฮโรลิค หรือแม้กระทั่งงายกแบบปัจจุบัน แต่จะใช้ระบบรอก ขับเคลือ่นดึงโซ่ยกขึ้นมา ได้ระดับความสูงไม่มาก ,การยึดชิ้นงานก็ใช้วธีการผูกมัดแบบ และไม่มีคนนั่งขับแต่อย่างใด
ส่วนรถโฟล์คลิฟนั่งขับที่สามารถค้นพบ มีขึ้นในปี คศ1917 ของ Clark เรียกชื่อเป็น Trucktracter ซึ่งพัฒนาขึ้นมาใช้เฉพาะClark’ axle plant ซึ่งเป็บรูปแบบเฉพาะเท่านั้น ต่อมาใน คศ.1923 บริษัท Yale ก็ผลิตรถยกเยลไฟฟ้า โดยการเพิ่มอุปกรณ์งายกนน.ขึ้นมาเป็นครั้งแรก ซึ่งระบบกลไกการเคลื่อนที่ยกขึ้นลงใช้ระบบ Ratchet & Pinion (ระบบเฟืองมีสปริงรองหมุน)
หลังจากนั้นความนิยมการใช้โฟล์คยังขึ้นๆลงๆ จนกระทั่งมีการจัดสร้างพาเลทเพื่อรองรับสิ่งเป็นแบบมาตราฐานขึ้นในปี คศ.1930 จากนั้นเองการพัฒนารถยกเยลจึงมีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ก้าวกระโดดของรถยกเยล คือ การเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในปี คศ.1939 มีความต้องเครื่องอุปโภค และยุทโธปกรณ์สูงขึ้นมากจาก 500 หน่วยขนย้าย เป็น 23,500 หน่วย ในช่วงปีหลังของสงครามโลกครั้งที่สองจึงต้องการเร่งพัฒนาการยกขนย้ายโดยรถยกเยลอย่างมากในช่วงดังกล่าวด้วย โดยเฉพาะในรถรถยกเยลไฟฟ้าสามารถพัฒนาแบเตอรรี่ให้สามารถทำงานต่อเนื่องกันได้ถึง 8 ชม.โดยไม่การชาร์จแบตใหม่
ประมาณช่วง ปี คศ.1950 มีการพัฒนาสโตร์การจัดเก็บเพื่อให้ประสทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในการใช้พื้นที่ ฉะนั้นการออกแบบรถโฟล์ลิฟท์ในช่วงดังกล่าวจึงเน้นการ เคลื่อนย้ายและยกในพื้นที่แคบๆ ได้ดีขึ้น
ในระยะหลังมีการเน้นเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากพบว่ามีของตกลงบนพนักงานขับรถ จนกระทั่งช่วงปี คศ.1950 เป็นต้นมาจนกระทั่งช่วงก่อนถึงปี 1960 บริษัทผู้ผลิตรถยกเยลได้มีการพัฒนากรงสำหรับนั่งขับเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับคนขับ และได้กำหนดเป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่จะต้องมีในปี 1980 เป็นต้นมาอย่างไรก็ตามการพัฒนาทางด้านความปลอดภัย ในส่วนของการความสมดุลย์ในการยกย้าย และขณะขับเคลื่อนโยกย้ายมากขึ้นตามลำดับ นอกเหนือจากเรื่องดังกล่าว ได้มีพัฒนาเพิ่มขึ้นในส่วนของการใช้พลังงานเพื่อความประหยัด โดยการใช้แกสทดแทนน้ำมัน และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการลดปัญหาเรื่องควันไอเสียที่รบกวนการทำงานของพนักงานในพื้นที่ทำงาน
ปัจจุบันการพัฒนาการใช้เครื่องยนต์รถยกเยล โดยเริ่มการนำเครื่องยนต์ Hydrogen fuel cell มาทดลองใช้แล้วตั้งแต่ต้นปี คศ.2000 เป็นต้น คาดว่าอาจจะทำตลาดในเร็ววันนี้

WWW.PCNFORKLIFT.COM