วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

รถโฟร์คลิฟท์ ไฮบริด

โฟร์คลิฟท์ชนิดไฮบริด  โฟร์คลิฟท์ชนิดไฮบริดของโคมัตสุมีข้อแตกต่างจากรถยนต์ชนิดไฮบริด  โฟร์คลิฟท์ชนิดไฮบริดของโคมัตสุไม่มีเครื่องยนต์   แต่ถือว่าเป็นชนิดไฮบริด อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นแล้วว่าไฮบริดนั้นหมายถึงอะไรที่ผสมผสานกัน 
                โฟร์คลิฟท์ชนิดไฮบริด เป็นโฟร์คลิฟท์ระบบไฟฟ้า (
Electrical Forklift) ใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานสำหรับขับเคลื่อนใช้งาน  โฟร์คลิฟท์ไฟฟ้ามีผลิตออกมาใช้งานกันมาก โฟร์คลิฟท์ระบบไฟฟ้านั้นมันแตกต่างจากโฟร์คลิฟท์ไฟฟ้าแบบเดิมอย่างไร
โฟร์คลิฟท์ไฟฟ้าทั่วไปจะมีชุดผลิตกระแสไฟฟ้า (พลังงาน) ป้อนกลับให้ตัวแบตเตอรี่ขณะที่ทำการเบรก เราเรียกว่า “Regenerative Brake” ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปสำหรับโฟร์คลิฟท์ไฟฟ้า ในปัจจุบัน  แต่ในด้วยในระบบ Regenerative Brake ของโฟร์คลิฟท์ไฟฟ้าเองมีความต้านทานไฟฟ้า (Reaistance) อยู่สูงทำให้กระแสไฟฟ้า (พลังงาน) ที่เกิดจาก  Regenerative Brake นั้นสูญเสียไปในรูปของความร้อนเยอะมาก และเหลือเก็บไปที่แบตเตอรี่เพียง 2 -3 % เท่านั้น
แบตเตอรี่ซึ่งเป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้านั้นตัวแบตเตอรี่เองไม่ได้เก็บพลังงานไว้ในตัวเองในรูปของพลังงานไฟฟ้า  แบตเตอรี่เก็บพลังงานไว้ในตัวเองในรูปของกระขบวนการทางเคมี นั่นคือเมื่อแบตเตอรี่รับกระแสไฟฟ้าเข้ามา  กระแสไฟฟ้านั้นจะไปสร้างให้เกิดกระขบวนการทางเคมีในตัวแบตเตอรี่และแปรรูปพลังงานไฟฟ้าเข้ามานั้นไปเป็นพลังงานทางเคมีเก็บไว้ในตัวแบตเตอรี่เอง  และเมื่อต้องการนำพลังงานที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่ออกมาใช้ก็ต้องผ่านขบวนการทางเคมีเพื่อแปรรูปพลังงานที่เก็บไว้นั้นออกมาใช้ในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้า
                ด้วยจุดอ่อนที่กล่าวของต้น  ด้วยความต้องการลดพลังงานสูญเสียของ 
Regenerative Brake และท้ายสุดคือต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน (หรือประหยัดพลังงานนั้นเอง) โฟร์คลิฟท์ชนิดไฮบริดจึงเปลี่ยนจากการเอากระแสไฟฟ้า (พลังงาน)ที่เกิดจาก  Regenerative Brake ไปชาร์จกลับให้แบตเตอรี่ตามแบบเดิมที่โฟร์คลิฟท์ไฟฟ้าทั่วไปในปัจจุบันใช้กันซึ่งมีการสูญเสียพลังงานไปมากนั้นมาเป็นการเก็บพลังงานที่เกิดจาก Regenerative Brake ไว้ในตัวเก็บประจุ (Capacitor) แทน ซึ่งปริมาณกระแสไฟฟ้า (พลังงาน) ที่เกิดจาก Regenerative Brake จะถูกเก็บไว้ที่ตัวเก็บประจุนรูปของประจุไฟฟ้าแทน ซึ่งมีข้อดีหลักๆอยู่สามประการคือ (1) ไม่ต้องแปรรูปพลังงานและลดการสูเสียพลังงานไปได้มาก (2) ขบวนการเก็บพลังงานที่เกิดจาก Regenerative Brake เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว รวดเร็วกว่าแบบเดิมมาก (3)  ขบวนการ การนำพลังงานที่เก็บไว้ในตัวเก็บประจุไปใช้ก็จะรวดเร็วมากเช่นกัน
                การที่โฟร์คลิฟท์ชนิดไฮบริดของโคมัตสุเลือกเปลี่ยนการเก็บพลังงานที่ได้จาก
Regenerative Brake ในแบบเดิมที่มีอยู่ในโฟร์คลิฟท์ไฟฟ้าทั่วไปมาเก็บไว้ในตัวเก็บประจุ
ตัวอย่างการทำงานของระบบไฮบริดของโคมัตสุ
               
ขณะโฟร์คลิฟท์ออกตัว  ตัวเก็บประจุจะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาเสริมกับกระแสไฟฟ้าที่มาจากแบตเตอรี่ เพราะช่วงโฟร์คลิฟท์ออกตัวมีความต้องการกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่สูงกว่าปกติ (ในเวลาสั้นๆ)
                ขณะโฟร์คลิฟท์ขับเคลื่อน  จะใช้กระแสไฟฟ้าที่มาจากแบตเตอรี่
                ขณะโฟร์คลิฟท์ลดความเร็ว  (เบรกหรือถอนคันเร่ง) หรือลงทางลาดจะมีการสร้างพลังงานไปเก็บไว้ที่ตัวเก็บประจุ
                ขณะโฟร์คลิฟท์เริ่มยกสินค้า  ตัวเก็บประจุจะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาเสริมกับกระแสไฟฟ้าที่มาจากแบตเตอรี่ เพราะช่วงโฟร์คลิฟท์เริ่มยกสิ้นค้ามีความต้องการกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่สูงกว่าปกติ
(ในเวลาสั้น)
                ขณะโฟร์คลิฟท์ยกสินค้า  จะใช้กระแสไฟฟ้าที่มาจากแบตเตอรี่
                ขณะโฟร์คลิฟท์เปลี่ยนจากเดินหน้าไปเป็นถอยหลัง (หรือเปลี่ยนจากถอยหลังไปเป็นเดินหน้า) จะมีการสร้างพลังงานไปเก็บไว้ที่ตัวเก็บประจุ
                ตัวเก็บประจุที่ใช้เก็บพลังงานที่มาจาก Regenerative Brake ทำตัวเสมือนเป็นแหล่งจ่ายพลังงานอีกหน่วยหนึ่งผสมผสานกับแบตเตอรี่ จึงเป็นลูกผสมและจัดเป็นโฟร์คลิฟท์ชนิดไฮบริดนั่นเอง