วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

ซ่อมปั๊มไฮดรอลิค รถยกโฟล์คลิฟท์


ระบบไฮดรอลิคได้รับแรงดันจากปั๊มไฮดรอลิค  เราแบ่งปั๊มออกเป็น 2  ประเภทดังนี้
  • ปั๊มแบบเกียร์
ปั๊มแบบเกียร์
  • ปั๊มแบบลูกสูบที่ปรับความจุได้ ( variable  - displacement pumps )
ปั๊มแบบลูกสูบที่ปรับความจุได้
    ปั๊มแบบเกียร์ มีลักษณะเป็นแบบเฟืองหมุนขบกัน  และขับดันน้ำมันไฮดรอลิคให้เกิดความดันที่สูงขึ้น  ข้อเสียก็คือ  แรงดันขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของเครื่องยนต์  และวิธีเดียวที่จะได้แรงดันสูงสุด  คือ เร่งเครื่องยนต์ให้กำลังที่ได้มากสุด
ปั๊มแบบเกียร์
    ปั๊มแบบลูกสูบที่ปรับความจุได้  ประกอบขึ้นจากลูกสูบหลายอัน บรรจุอยู่ในทรงกระบอกขนาดใหญ่  ลักษณะคล้ายกับลูกโม่ของปืนพก   เครื่องยนต์ต่อกับทรงกระบอก และหมุนทรงกระบอก ทำให้กระบอกสูบยืดและหด  โดยปลายของกระบอกสูบทุกอันต่อกับแผ่นจาน (Swash plate)  เมื่อทรงกระบอกหมุน  แผ่นจานทำมุมเอียงจะหมุนตาม  และผลักให้กระบอกสูบชักเข้าและออก  ในรูปภาพเมื่อแผ่นจานดึงกระบอกสูบออก  มันจะเกิดสูญญากาศดูดน้ำมันออกจากถัง   และเมื่อกระบอกสูบถูกอัดเข้า  น้ำมันไฮดรอลิค  จะถูกอัดเข้าไปในระบบ
ปั๊มแบบลูกสูบที่ปรับความจุได้
       ปั๊มแบบลูกสูบที่ปรับความจุได้  สามารถปรับจำนวนน้ำมันที่อยู่ในปั๊มได้  โดยการเปลี่ยนมุมของจาน   ถ้าแผ่นจานวางอยู่ในแนวเดียวหรือขนานกับทรงกระบอก (มุมเป็นศูนย์)  จะไม่มีการปั๊มน้ำมันออก   และถ้าเอียงทำมุมน้อย  ความแตกต่างของน้ำมันในลูกสูบทางซ้ายกับขวามีน้อย  ก็จะปั๊มน้ำมันออกไปได้น้อย  ถ้าเอียงมาก สามารถปั๊มน้ำมันออกไปได้มาก
      มุมของแผ่นจานจึงใช้ควบคุมปริมาณของน้ำมันในระบบไฮดรอลิคได้  เมื่อเซนเซอร์วัดความดันที่อยู่ในกระบอกไฮดรอลิค  และต้องการปรับอัตราการไหลของน้ำมัน   มันจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปที่อุปกรณ์ควบคุมเพื่อปรับมุมของแผ่นจาน  ข้อดีของปั๊มมีดังนี้
  1. การเปลี่ยนมุมของจานให้ประสิทธิภาพดีกว่า    เมื่อระบบไฮดรอลิคต้องการน้ำมันน้อยลง  ปั๊มพวกนี้สามารถปรับเปลี่ยน และตอบสนองได้ทัน   ถ้าไม่มีการทำงาน ปั๊มสามารถหยุดการจ่ายน้ำมันได้ทันที
  2. เครื่องยนต์มีความเร็วรอบไม่คงที่   ถ้าความเร็วรอบมาก กำลังจะได้มาก  ถ้าความเร็วน้อย กำลังจะน้อย   การปรับมุมสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบของเครื่องยนต์ได้ดีกว่า
คลิกดูวีดีโอการทำงานของปั๊มไฮดรอลิค
     กำลังของแบ็กโฮได้จาก  อัตราการไหล คูณด้วยความดันของน้ำมันไฮดรอลิค   แรงดันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภาระที่กระบอกไฮดรอลิคต้องรับ   ถ้ายกของหนักต้องใช้แรงดันมากกว่า ยกของเบาเป็นต้น
ปั๊มไฮดรอลิค
      ถ้าปั๊มไม่สามารถเปลี่ยนความจุได้   อัตราการไหลของน้ำมันจะคงที่  ทุกๆความเร็วรอบของเครื่องยนต์   และเนื่องจาก  อัตราการไหลคูณกับความดันสูงสุดของน้ำมัน ไม่สามารถเกินกำลังของเครื่องยนต์ได้  ระบบไฮดรอลิคที่ใช้ปั๊มประเภทนี้ จึงต้องใส่วาวล์ป้องกันความดันสูงสุดไว้    เมื่อแรงดันเกินกว่าค่าหนึ่ง  วาวล์จะเปิดและปล่อยให้น้ำมันไหลย้อนกลับเข้าถังเก็บ  เป็นการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
      ปั๊มที่สามารถเปลี่ยนค่าความจุได้   จะไม่มีปัญหานี้  ระบบมีตัวเซนเซอร์ตรวจวัดความดันของกระบอกไฮดรอลิค  ถ้าระบบไม่ต้องการความดันมาก  ปั๊มจะเพิ่มอัตราการไหล โดยปรับมุมของจานให้เอียงมากขึ้น  กระบอกสูบไฮดรอลิคเลื่อนได้เร็ว  แต่มีแรงกระทำน้อย   แต่ถ้าระบบต้องการแรงดันสูง  ปั๊มจะลดอัตราการไหล  คูณกับความดันสูงสุดไม่เกินจากกำลังของเครื่องยนต์

ที่มา: ฟิสิกส์ราชมงคล

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

แบ็ตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ น้ำกลั่นแห้ง





 น้ำกลั่นคือน้ำบริสุทธิที่คุณสามารถซื้อหาได้เพราะเกิดจากกระบวนการระเหยของน้ำและกลั่นตัวออกมา น้ำที่ได้จากการกลั่นจะสะอาด ไม่มีปราศจากสิ่งสกปรกที่สามารถมองเห็นได้ และมีค่า pH ที่เป็นกลางหรือมีค่าความเป็นกรดอ่อนๆ น้ำกลั่นที่คุณซื้อจากเรา จะมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำ ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสมของน้ำบริสุทธิ์สิ่งสกปรกเกือบทั้งหมดจะถูกกำจัดออกในกระบวนการกลั่น กล่าวคือ ในกระบวนการกลั่นนั้นจะต้มน้ำจนเกิดการระเหยเป็นไอน้ำและการควบแน่นเป็นหยดน้ำ น้ำที่ได้นั้นเราจะเก็บในภาชนะที่สะอาด ปราศจากธาตุต่างๆ ส่วนน้ำ DI (Deionized water ) ยังอาจมีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่แต่น้ำกลั่นจะบริสุทธิ์มากเพราะสิ่งสกปรกเกือบทั้งหมดได้ถูกกำจัดออกในกระบวนการกลั่น ซึ่งน้ำกลั่นจะมีกรรมวิธีในการผลิตที่ค่อนข้างช้า เพื่อให้ได้น้ำกลั่นบริสุทธิ์อย่างแท้จริง น้ำกลั่นถูกใช้ในลักษณะงานที่หลากหลาย รวมทั้งงานอุตสาหกรรม, งานห้องปฏิบัติการ ,การทำความสะอาด,การล้าง,การทดสอบ,การแลกเปลี่ยนอิออนในแบตเตอรี่รถยนต์,การตัดด้วยเลเซอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย หรือท่านสามารถติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้น้ำกลั่นในลักษณะงานของท่าน น้ำกลั่นส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการใช้ในการทดลองที่จำเป็นต้องใช้น้ำบริสุทธิ์และยังใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมที่ต้องการให้มีสิ่งสกปรกหรือสารปนเปื้อนให้น้อยที่สุด น้ำปราศจากไอออน (น้ำ DI) เป็นน้ำที่มีราคาไม่แพงใช้สำหรับงานในห้องปฏิบัติการและงานอุตสาหกรรม น้ำ DI ที่ใช้กันมากคือ ใช้เติมแบตเตอรี่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ องค์ประกอบของธาตุต่างๆที่พบในน้ำ DI อาจทำให้ช่วงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ลดลง ดังนั้นนี่คือเหตุผลที่คุณอาจจะต้องการซื้อน้ำกลั่น ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่มีราคาสูง มักจะใช้น้ำกลั่น ที่ไม่มีองค์ประกอบธาตุต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อปลาที่เลี้ยง นอกจากนั้นน้ำกลั่นยังใช้แทนน้ำประปาในเตารีดไอน้ำ เพราะน้ำประปาจะทำให้เกิดการสะสมของธาตุต่างๆจนเกิดตะกรันและทำให้ไม่สามารถ พ่นไอน้ำได้ น้ำกลั่นควรเก็บในอุณหภูมิห้องปกติระหว่าง 20 - 30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น ควรเก็บไว้ในภาชนะปิดผนึก หลีกเลี่ยงความร้อนและเย็นที่มากเกินไป เมื่อเปิดใช้น้ำกลั่น น้ำกลั่นจะเริ่มรับธาตุและสิ่งเจือปนต่างๆในบรรยากาศ ซึ่งจะมีผลต่อค่าการนำไฟฟ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ ดังนั้นจึงควรเก็บน้ำกลั่นในภาชนะปิดสนิทที่สุดเท่าที่จะทำได้
WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

โลจิสติกส์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม (Green Logistics)


การบริหารด้วยระบบโลจิสติกส์ (Logistics) เป็นกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการนำส่งสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในแง่การลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม การประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย ปัจจุบันในเวทีโลกได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ มลภาวะในอากาศที่เกิดจากการขนส่ง การใช้พลังงานในกระบวนการผลิต และการใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ การบริหารงานด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่มุ่งเน้นเฉพาะการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ก็นำไปสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการกล่าวถึง “Green Logistics” เพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรมากยิ่งขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะประเด็นการเปลี่ยนแปลงอากาศ (Climate Change) จากผลกระทบของภาวะโลกร้อน (Global Warming) และ Greenhouse effect
นอกจากนั้น มลพิษทางอากาศอันเนื่องมาจากก๊าซ Carbon dioxide (CO2) เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันในการขนส่งสินค้าจากรถบรรทุกชนิดต่างๆ การใช้ระบบการขนส่งในรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้ศูนย์กระจายสินค้า(Distribution Center) สามารถทำให้จำนวนรอบในการขนส่งลดลง นำมาซึ่งต้นทุนขององค์กรที่ลดลง และประการสำคัญคือ มลภาวะที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด การทำ Repackaging และ Re-used Packaging ในศูนย์กระจายสินค้าก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลำเลียงสินค้าบนพาหนะได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผลกระทบจากการขนส่งอย่างไม่มีระบบที่ดี นำมาซึ่งต้นทุนที่สูง ระยะเวลาการขนส่งที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และมลภาวะที่เกิดจาก Carbon dioxide (CO2) ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 ผลกระทบของการปลดปล่อยก๊าซ Carbon dioxide (CO2)


จาก รูปที่ 1 แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากก๊าซ Carbon dioxide (CO2) ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมประการแรกคือ การเกิดภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งมีผลทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ (Global Warming)
ดังนั้น โลจิสติกส์จึงต้องเป็น “Green Logistics” ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับมลภาวะในอากาศที่เกิดจากการขนส่ง การประหยัดพลังงาน และการใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Recycle) การบริหารงานด้านโลจิสติกส์ จึงต้องให้ความสำคัญต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมทั้งของจำกัดของน้ำหนักสินค้าที่สามารถจะบรรทุกหรือบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ (Container) ซึ่งในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน นอกจากนี้ การจัดการโลจิสติกส์จะต้องให้ความสำคัญต่อปัญหาอุบัติภัยที่จะมีต่อสังคมและการทำงานที่ปลอดภัย (Safety First) ของบุคคลที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่โลจิสติกส์และที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงศีลธรรมและบรรษัทภิบาล (Good Corporate) ทั้งนี้ การค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศตะวันตกได้ให้ความสำคัญกับ Reverse Logistics หรือโลจิสติกส์ย้อนกลับในการที่ผู้ขาย (Shipper) จะต้องรับผิดชอบในการขนส่งนำซากของเสียหรือวัสดุเหลือใช้กลับคืนประเทศของผู้ส่งออก
Green Logistics จึงได้เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กระบวนการจัดซื้อจัดหา การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation Enhancement) เช่น การเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างองค์กร (B2B business) ดังแสดงใน รูปที่2 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในติดต่อสื่อสารทุกกระบวนการ ตัวอย่างระบบการสั่งซื้อสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-ordering) เช่น ระบบการสั่งซื้อสินค้าของบริษัทบุญถาวรที่เชื่อมโยงกับระบบของบริษัท อเมริกันสแตนดาร์ดบีแอนเค (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นระบบที่รวดเร็ว และทำให้ลดขั้นตอนด้านเอกสาร (paperless) ลงอย่างมาก รวมทั้งลดขั้นตอนความผิดพลาดในการผลิตด้วย ดังแสดงในรูปที่ 3

รูปที่ 2 ระบบ B2B business






รูปที่ 3 ระบบ e-ordering


สำหรับระบบการขายสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ช่วยลดปริมาณเอกสาร และการเดินทางเพื่อรับส่งเอกสารได้เป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน ซึ่งการลดปริมาณกระดาษที่ใช้ สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างมาก ตั้งแต่การตัดต้นไม้เพื่อกระบวนการผลิตกระดาษ หรือแม้กระทั่งการนำกระดาษ มาผลิตใหม่ ก็ยังคงใช้พลังงานเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน การพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ (Logistics Service Internationalization) เช่น การใช้หลัก Global Sourcing มากขึ้น โดยหาวัตถุดิบจากแหล่งที่ถูกที่สุด และเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่ผลิตตามการวางแผนของผู้ผลิต มาเป็นผลิตตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น เทคโนโลยี RFID เพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง แม่นยำ เพื่อการจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างตรงเวลา รวดเร็ว และปลอดภัย
กระบวนการผลิต โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในภาคการผลิต (Business Logistics Improvement) เช่น การลดการใช้พลังงาน ตัวอย่างในอุตสาหกรรมเซรามิก การลดอุณหภูมิเตาเผา โดยที่ยังคงคุณภาพสินค้าดีเหมือนเดิม การนำความร้อนจากกระบวนการเผามาใช้ประโยชน์ ไม่ปล่อยความร้อนสู่สิ่งแวดล้อม การลดของเสียจากกระบวนการผลิต การนำน้ำดินกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การบำบัดของเสียเพื่อสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Recycle) เป็นต้น กระบวนการจัดการคลังสินค้า เช่น การนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ การเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้า ในการขนสินค้า และควรมีการวางแผนรับ-ส่งสินค้าภายในเพื่อไม่ให้รถ Folk lift วิ่งรถเปล่าในขากลับเพื่อลดจำนวนเที่ยววิ่ง รวมทั้งลดการเกิด Double handling ทำให้ลดปริมาณพลังงานและน้ำมัน การพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า เช่น จากเดิมมีคลังสินค้า 5 สาขา ก็เปลี่ยนเป็นศูนย์กระจายสินค้า1 ที่ เพื่อกระจายสินค้าให้กับ 5 สาขา ซึ่งนอกจากลดต้นทุนคลังสินค้าแล้ว ยังลดการขนส่งสินค้า และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในที่สุด นอกจากนั้นอาจใช้ระบบ Warehouse Management ช่วยดำเนินการ ดังแสดงใน รูปที่ 4
ที่มา:   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวรรณี อัศวกุลชัย






Written by Editorial Staff   
กระแส Green Logistics มาแรง อเมริกา-ยุโรปเอาจริงบีบซัพพลายเออร์เร่งดำเนินการ ญี่ปุ่นเดินหน้านโยบายให้ภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือน และขนส่งร่วมลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
green1.jpgGreen Logistics กำลังเป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเป็นการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในมิติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรมตลอดกระบวนการโลจิสติกส์ เช่น การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือฝุ่นจากวัตถุดิบการผลิต การปล่อยของเสียจากกระบวนการผลิต การตีรถเที่ยวเปล่าทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน การบริหารสินค้าคงคลังที่ดีทำให้มีสินค้าหมดอายุก่อนการใช้งานน้อยลง กระบวนการจัดการสินค้าย้อนกลับจากลูกค้า (Reverse Logistics) เป็นต้น
ทั้งนี้ การบริหาร Green Logistics มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารโลจิสติกส์ เนื่องจากต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย และแนวคิดด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์เข้ามาใช้ตลอดกระบวนการ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 
ปัจจุบันในอเมริกา และยุโรป ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ได้มีข้อตกลงทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมาเป็นข้อจำกัดทางการค้ามากขึ้น โดย Wal- Mart ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกได้ออกมาตรการเกี่ยวกับการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์กับซัพพลายเออร์ ซึ่ง Wal- Mart ระบุว่า มีส่วนในการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 8% ที่เหลือกว่า 92% มาจากซัพพลายเออร์ จึงได้เริ่มออกกฎเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้ 
ด้านยุโรปมีนโยบายทางการขนส่ง และตั้งเป้าหมายลดมลภาวะจากการขนส่งให้ได้ 20% ภายในปี 2020 
ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้มีการดำเนินการเรื่อง Green Logistics อย่างจริงจัง โดยมีนโยบายให้ภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือน และภาคขนส่งมีส่วนร่วมในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเก็บสถิติเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 
ส่วนประเทศไทยมีความตื่นตัวพอสมควร และมีการดำเนินงานหลายส่วนที่สอดคล้องกับแนวคิด Green Logistics เช่น การสนับสนุนให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางรถมาเป็นทางราง และทางน้ำมากขึ้น (Modal Shift) การเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน (Energy Shift) การบริหารรถเที่ยวเปล่า เป็นต้น อย่างไรก็ดี แนวคิดดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก เนื่องจากขาดโครงสร้างพื้นฐานรองรับ  
green3.jpg“กระแสเรื่อง Green Logistics เป็นกระแสทางการค้าที่ผู้ส่งออกหนีไม่พ้น คู่ค้าจากต่างประเทศเริ่มนำมาเป็นข้อบังคับเพราะเขาก็ถูกบีบมาจากลูกค้าและกฎระเบียบของอเมริกา ยุโรป ดังนั้นเดิมที่เราเคยเน้นที่การบริหารจัดการโลจิสติกส์ และมองแค่การปล่อยของเสียอย่างเดียว ตอนนี้ไม่พอแล้วต้องมองทั้งกระบวนการ Green Logistics ถ้าทำได้ก็จะทำให้มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนได้” คุณเตชะ บุณยะชัยรองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าว  
Green Logistics Contest 
ตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยหรือสภาผู้ส่งออก (สรท.) ได้ร่วมมือกับภาครัฐอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยเป็นเจ้าภาพยุทธศาสตร์ การพัฒนากําลังคนและกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (Capacity Building) ตามแผนยุทธศาสตร?การพัฒนาระบบโลจิสติกส?ของประเทศไทย
ทั้งนี้ สรท. เล็งเห็นถึงกระแสทางการค้าเรื่อง Green Logistics ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ส่งออกไทย จึงเริ่มกระตุ้นให้ผู้ส่งออกหันมาตระหนักเรื่องการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ล่าสุด ในงาน International Thailand Logistics Fair 2008 สรท. ได้จัดให้มี Green Logistics Contest เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักเรื่อง Green Logistics ด้วย โดยให้นักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท นำเสนอโครงการ-แนวทางในการพัฒนา Green Logistics ในองค์กร เพื่อนำแนวคิดดังกล่าวไปต่อยอดประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่อไป  
โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม MFU STAR จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทีม MIEMU จากมหาวิทยาลัยมหิดล และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทีม Logistics on Green (LOG) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
green2.jpgCase Study Green Logistics ในประเทศญี่ปุ่น
เพื่อปฏิบัติตามการลงนามพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการรับมือกับสภาวะโลกร้อน ประเทศญี่ปุ่นจึงได้เริ่มดำเนินการ Green Logistics อย่างจริงจังเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 
โดยมีนโยบายให้ภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือน และภาคขนส่ง มีส่วนร่วมในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะการดำเนินการในภาคขนส่ง ได้มีภาครัฐ องค์กรด้านโลจิสติกส์ และบริษัทภาคเอกชนกว่า 2,800 ร่วมประชุมหุ้นส่วนโลจิสติกส์สีเขียว และมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง การขนส่งสินค้าร่วมกันเพื่อลดจำนวนรถเที่ยวเปล่า การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อลดการใช้พลังงาน Mr. Masaaki Toma Director of Public Relations, Japan External Trade Organization (JETRO Bangkok) กล่าว  
ทั้งนี้ Green Logistics ของประเทศญี่ปุ่นหมายถึง โลจิสติกส์ที่มองแบบเป็นองค์รวม เน้นการลดต้นทุนจากกิจกรรมโลจิสติกส์และการตอบสนองสภาพแวดล้อม โดยให้ความสำคัญทั้งในเรื่องนิเวศวิทยา (Ecology) และเรื่องเศรษฐศาสตร์ เช่น การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการลดต้นทุนโดยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง 
สำหรับการดำเนินการด้าน Green Logistics ของประเทศญี่ปุ่น มี 4 ด้านหลักๆ คือ
  1. Corporative Transport คือ การรวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบการหลายรายไว้ที่จุดพักสินค้า แล้วจัดเส้นทางเพื่อขนส่งสินค้าร่วมกัน จากการทดลองของผู้ประกอบการ 8 ราย โดยขนส่งสินค้าระยะทาง 600 กิโลเมตร พบว่า สามารถลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงได้มาก และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 40%
  2. Eco-Dive มีการอบรม เพิ่มจิตสำนึกการขับขี่ให้กับพนักงานขับรถ เพื่อลดการขับรถเร็วเกินมาตรฐาน ลดการเดินเครื่องยนต์เปล่าในขณะที่พักผ่อนหรือขนถ่ายสินค้า จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่า บริษัทรถบรรทุกรายใหญ่สามารถลดต้นทุนค่าพลังงานเชื้อเพลิงได้ปีละ 200 ล้านบาท 
  3. Modal Shift เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาใช้ทางรางมากขึ้น ซึ่งในญี่ปุ่นมีการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าทางรถไฟค่อนข้างมาก การขนส่งสินค้าด้วยรถไฟ 1 เที่ยวเท่ากับการขนส่งด้วยรถบรรทุก 28 คัน ส่วนในด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า การขนส่งสินค้าทางรถไฟ 1 ตันต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.02 กิโลกรัม ขณะที่ทางเรือ 0.04 กิโลกรัม รถบรรทุก 0.35 กิโลกรัม และเครื่องบิน 1.51 กิโลกรัม 
  4. Eco-Wrapping เน้นการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิล และปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากกระดาษมาเป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 
Green Logistics เป็นเทรนด์การค้าโลกที่ทวีความสำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องศึกษาอย่างจริงจัง และปรับตัวให้ทันกับแนวโน้มที่เกิดขึ้น เพราะหากตกกระแสย่อมส่งผลโดยตรงต่อความสามารถทางการแข่งขัน

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

ซ่อมรถโฟล์คลิฟท์ komatsu แบบสามล้อ

ตรวจเช็ครถแฮนด์ พาเลท อาการยกไม่ขึ้น












สัญลักษณ์ และ รหัสแสดงอันตรายของสารเคมี

WWW.PCNFORKLIFT.COM


สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ยุคปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีระดับหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้อง และเพื่อจะสามารถหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดกับสุขภาพหรือชีวิต

      นอกจากนี้สารเคมีที่เหลือทิ้งจะต้องมีวิธีการกำจัดที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายกับระบบนิเวศน์ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืชได้ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตราย (Safety Signs) เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายสากลที่เข้าใจตรงกัน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถป้องกันอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ สัญลักษณ์และรหัสต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถพบได้ในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย (Material Safety Data Sheet, MNDS) ในคู่มือการใช้สารเคมีของบริษัทผู้ผลิต จากฉลากที่ติดบนภาชนะบรรจุ หรือที่ติดอยู่บนรถบรรทุกสารเคมีนั้น ๆ
สัญลักษณ์แสดงอันตราย (Safety Signs)
      ระบบสัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้กันมีหลายระบบ เช่น ระบบ NFPA (The National Fire Protection Association ) ของสหรัฐอเมริกา ระบบ EEC (The European Economic Council) และระบบ IMO (International Maritime Organization) เป็นต้น ซึ่งจะขอกล่าวรายละเอียดเฉพาะสองระบบแรก


รูปที่ 1 สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบ NFPA


1. ระบบ NFPA กำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) กล่าวคือเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทะแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อยขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่ สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ(Flammability) สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health) สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกริยาของสาร (Reactivity) สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลย 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย ดังรูปที่ 1 และสรุปรายละเอียดสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบนี้ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 สรุปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของระบบ NFPA
สี่เหลี่ยมพื้นสีแดง
ด้านบน
สี่เหลี่ยมพื้นสีน้ำเงิน
ด้านซ้าย
สี่เหลี่ยมพื้นสีเหลือง
ด้านขวา
สี่เหลี่ยมพื้นสีขาว
ด้านล่าง
แสดงอันตรายจากไฟ(Flammability)แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health)แสดงความไวต่อปฏิกริยาของสาร (Reactivity)แสดงช้อควรระวังพิเศษ (Special notice)
ระดับ 4 สารไวไฟมาก ได้แก่สารที่ระเหยเป็นไอได้รวดเร็วที่อุณหภูมิห้องที่ความดันบรรยากาศ เมื่อกระจายตัวผสมกับอากาศแล้วติดไฟได้ หรือของเหลวที่มีจุดวาบไฟ (Flash point) ต่ำกว่า 22.8 oC จุดเดือดน้อยกว่า 37.8 oC รวมทั้งสารที่ติดไฟได้เอง เมื่อสัมผัสกับอากาศระดับ 4 สารที่ได้รับเพียงเล็กน้อยจะทำให้ตายได้ หรือเป็นอันตรายรุนแรงได้รวมทั้งสารที่จะเป็นอันตรายอย่างมาก ถ้าใช้งานโดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันระดับ 4 สารที่สามารถย่อยสลายตัวหรือระเบิดได้ด้วยตัวเองที่อุณหภูมิห้องและความดันปกติ รวมถึงสารที่ไวต่อความร้อน และแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากสารบางชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวที่ควรสนใจเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ คุณสมบัติของสารเหล่านี้จะแสดงด้วยอักษรย่อ หรือสัญลักษณ์ ดังนี้
OX: เป็นสารออกซิไดซ์ สารเหล่านี้เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีจะให้ออกซิเจน หรืออีเลคตรอน
W: เป็นสารที่ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
ระดับ 3 ของเหลวหรือของแข็งที่ติดไฟได้ในอากาศ ที่อุณหภูมิปกติ ได้แก่สารที่มีจุดวาบไฟน้อยกว่า 22.8 oC และมีจุดเดือดมากกว่า 37.8 oCระดับ 3 สารที่เมื่อสูดดมในเวลาสั้น ๆ หรือสัมผัสผิวหนัง ประมาณเล็กน้อยจะเป็นอันตรายร้ายแรงชั่วคราว หรือมีผลตกค้างได้ระดับ 3 สารที่สลายหรือเกิดระเบิดได้ เมื่อได้รับความร้อนหรือแรงสันสะเทือนที่สูงพอ รวมถึงที่เกิดระเบิดได้เมื่อถูกน้ำ
ระดับ 2 สารที่ต้องใช้ความร้อนปานกลางก่อนจะติดไฟในอากาศ ถ้ามีปริมาณมากพออาจก่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นพิษได้ ได้แก่ของเหลวที่มีจุดวาบไฟ สูงกว่า 37.8 oC แต่ไม่เกิน 93.4oCระดับ 2 สารที่เมื่อได้รับในปริมาณที่มากพอจะทำให้เกิดทุพพลภาพชั่วคราว หรือถาวรได้ รวมถึงสารที่ต้องใช้เครื่องป้องกันอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจระดับ 2 สารที่จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงในอุณหภูมิและความดันปกติ รวมถึงสารที่เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
ระดับ 1 สารประเภทที่ต้องให้ความร้อนสูงก่อนจะติดไฟและเผาไหม้ในอากาศได้ ได้แก่สารที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 93.4 oCระดับ 1 สารที่เมื่อได้รับในระยะเวลาสั้น ๆ จะเกิดการระคายเคืองได้ระดับ 1 สารประเภทนี้ จะมีความคงตัวในสภาวะปกติ แต่ไม่มีความคงตัวเมื่ออุณหภูมิหรือความดันเพิ่ม รวมถึงสารที่สลายตัวเมื่อถูกอากาศ แสงสว่าง หรือความชื้น
ระดับ 0 วัตถุที่ไม่ติดไฟในอากาศ แม้ว่าจะให้ความร้อนสูงถึง 815.5 oC นานถึง 5 นาทีระดับ 0 สารประเภทนี้ ไม่เป็นอันตราย นอกจากเวลาติดไฟระดับ 0 สารประเภทนี้มีความคงตัวสูง แม้ว่าจะได้รับความร้อนก็ตาม รวมถึงสารที่ไม่ทำปฏิกริยากับน้ำ
2. ระบบ EEC ตามข้อกำหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงอันตรายจะแบ่งออกตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์แสดงอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม และมีอักษรย่อกำกับที่มุมขวา สัญลักษณ์ระบบ EEC ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่

ภาพที่ 1 สารที่ระเบิดได้ (Explosive) เป็นสารที่อาจระเบิดได้ เมื่อได้รับการกระทบกระเทือน การเสียดสี ประกายไฟ และความร้อน
ภาพที่ 2 สารเร่งการติดไฟ (Oxidizing) เป็นสารที่สามารถให้ออกซิเจนออกมาเร่งการลุกไหม้ เมื่อสัมผัสกับสารไวไฟ หรือสารที่ติดไฟง่าย อาจก่อให้เกิดการติดไฟขึ้น


ภาพที่ 3 สารไวไฟสูง (Highly Flammable) เป็นแก๊สที่ไวไฟสูงหรือของเหลว ที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 0 oC และมีจุดเดือดไม่เกิน 35oC


ภาพที่ 4 สารไวไฟ (Flammable) เป็นของเหลวไวไฟที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 21oC พวกเปอร์ออกไซด์ของสารอินทรีย์และแก๊ซหรือแก๊สเหลวที่ติดไฟที่ความดันปกติ รวมทั้งสารเคมีที่เมื่อสัมผัสกับน้ำและอากาศชื้นแล้วก่อให้เกิดแก๊สไวไฟสูง


ภาพที่ 5 สารกัดกร่อน (Corrosive) เป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนและทำลายเมื่อสัมผัสกับสารหรือไอสาร

ภาพที่ 6 สารมีพิษ (Toxic) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทางระบบหายใจ ทางปาก และทางผิวหนัง อาจก่อให้เกิดพิษชนิดเฉียบพลันหรือชนิดสะสมในร่างกาย


ภาพที่ 7 สารระคายเคือง (Irritant) สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนี้อเยื่อตา ผิวหนัง หรือระบบทางเดินหายใจ


ภาพที่ 8 สารอันตราย (Harmful) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ ทางปากและทางผิวหนัง สารบางชนิดอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้


ภาพที่ 9 สารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) เป็นสารที่ให้กัมมันตรังสีออกมาในปริมาณที่มากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม
รหัสแสดงความเสี่ยง (Risk phase)
     เป็นรหัสที่ใช้บ่งบอกลักษณะของความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดจากสารเคมี ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 59 แบบ โดยใช้อักษร R นำหน้า ตามด้วยตัวเลข 1 ถึง 59 ที่แสดงรหัสความเสี่ยง รหัสแสดงความเสี่ยงอาจเป็นแบบรหัสเดี่ยว เช่น R20 หมายถึง เป็นสารที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดม หรือรหัสแบบผสม เช่น R 20/21 หมายถึง เป็นสารอันตรายที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดมและสัมผัสทางผิวหนัง และ R20/21/22 หมายถึง สารที่เกิดอันตรายได้เมื่อสูดดมสัมผัสทางผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไปเป็นต้น รหัสแสดงความเสี่ยงต่ออันตรายมีดังนี้

รหัสแสดงอันตราย แบบรหัสเดี่ยว
R1เกิดระเบิดได้เมื่อสารแห้ง
R2มีความเสี่ยงต่อการระเบิดเมื่อกระเทือน เสียดสี ถูกเปลวไฟ หรือมีประกายไฟเกิดขึ้น
R3มีความเสี่ยงสูงต่อการระเบิดเมื่อกระเทือน เสียดสี ถูกเปลวไฟ หรือมีประกายไฟเกิดขึ้น
R4เกิดเป็นสารประกอบโลหะที่ไวไฟต่อการระเบิด
R5เกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อน
R6เกิดระเบิดได้ไม่ว่าจะสัมผัสกับอากาศหรือไม่
R7อาจติดไฟได้
R8อาจติดไฟได้เมื่อสัมผัสกับวัตถุเชื้อเพลิง
R9ระเบิดเมื่อผสมกับวัตถุเชื้อเพลิง
R10สารไวไฟ
R11สารไวไฟสูง
R12สารไวไฟสูงมาก
R13ก๊าซเหลวไวไฟสูงมาก
R14เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
R15เกิดก๊าซไวไฟสูงเมื่อสัมผัสกับน้ำ
R15.1เกิดก๊าซไวไฟสูงเมื่อสัมผัสกับกรด
R16ระเบิดเมื่อผสมกับสารออกซิไดซ์
R17ติดไฟได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศ
R18ขณะใช้งานอาจเกิดสารผสมระหว่างอากาศกับไอระเหยที่ติดไฟได้หรือระเบิดได้
R19อาจเกิดสารเปอร์ออกไซด์ที่ระเบิดได้
R20อันตรายเมื่อสูดดม
R21อันตรายเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R22อันตรายเมื่อกินเข้าไป
R23เป็นพิษเมื่อสูดดม
R24เป็นพิษเมื่อสัมผัสผิวหนัง
R25เป็นพิษเมื่อกินเข้าไป
R26เป็นพิษมากเมื่อสูดดม
R27เป็นพิษมากเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R28เป็นพิษมากเมื่อกินเข้าไป
R29เกิดก๊าซพิษเมื่อสัมผัสกับน้ำ
R30เปลี่ยนเป็นสารไวไฟสูงได้ในขณะใช้งาน
R31เกิดก๊าซพิษเมื่อสัมผัสกับกรด
R 31.1เกิดก๊าซพิษเมื่อสัมผัสกับด่าง
R32เกิดก๊าซมิพิษมากเมื่อสัมผัสกับกรด
R33อันตรายจากการสะสม (ในร่างกาย)
R34เกิดแผลไหม้ได้
R35เกิดแผลไหม้รุนแรงได้
R36ระคายเคืองต่อตา
R37ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ
R38ระคายเคืองต่อผิวหนัง
R39อันตรายร้ายแรงต่อร่างกายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R40มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R41เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายร้ายแรงที่ตา
R42อาจเกิดอาการแพ้เมื่อสูดดม
R43อาจเกิดอาการแพ้เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R44เสี่ยงต่อการระเบิดเมื่อได้รับความร้อนภายในพื้นที่จำกัด
R45อาจก่อให้เกิดมะเร็ง
R46อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
R47อาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์
R48เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ เมื่อได้รับติดต่อเป็นเวลานาน
R49อาจก่อให้เกิดมะเร็งจากการสูดดม
R50เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
R51อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
R52อาจเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
R53อาจเกิดผลเสียในระยะยาวต่อสภาพแวดล้อมของน้ำ
R54เป็นพิษต่อพืช
R55เป็นพิษต่อสัตว์
R56เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในดิน
R57เป็นพิษต่อน้ำ
R58อาจเกิดผลเสียในระยะยาวต่อสภาพแวดล้อม
R59ก่อเกิดผลเสียต่อชั้นโอโซน

รหัสแสดงอันตราย แบบรหัสผสม
R14/15เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำแล้วให้ก๊าซที่ไวไฟสูง
R15/29เกิดก๊าซพิษที่ไวไฟสูง เมื่อสัมผัสกับน้ำ
R20/21อันตรายเมื่อสูดดม และเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R20/22อันตรายเมื่อสูดดมและเมื่อกินเข้าไป
R20/21/22อันตรายเมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนังและเมื่อกินเข้าไป
R21/22อันตรายเมื่อสัมผัสกับผิวหนังและเมื่อกินเข้าไป
R23/24เป็นพิษ เมื่อสูดดม และเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R23/25เป็นพิษ เมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไป
R23/24/25เป็นพิษ เมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป
R24/25เป็นพิษ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป
R26/27เป็นพิษมาก เมื่อสูดดม และเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R26/28เป็นพิษมาก เมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไป
R26/27/28เป็นพิษมาก เมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป
R27/28เป็นพิษมาก เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไป
R36/37ระคายเคืองต่อตา และทางเดินหายใจ
R36/38ระคายเคืองต่อตา และผิวหนัง
R36/37/38ระคายเคืองต่อตา ทางเดินหายใจ และผิวหนัง
R37/38ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ และผิวหนัง
R39/23เป็นพิษ เมื่อสูดดม เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/24เป็นพิษเมื่อสัมผัสกับผิวหนังเกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/25เป็นพิษเมื่อกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจเกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/23/24เป็นพิษ เมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนังเกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/23/25เป็นพิษ เมื่อสูดดมและกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/23/24/25เป็นพิษ เมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/26เป็นพิษมากเมื่อสูดดม เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/27เป็นพิษมากเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/28เป็นพิษมากเมื่อกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/26/27เป็นพิษมากเมื่อสูดดมและ สัมผัสกับผิวหนัง เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/26/28เป็นพิษมากเมื่อสูดดมและกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/27/28เป็นพิษมากเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R39/26/27/28เป็นพิษมากเมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป เกิดอันตรายร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
R40/20เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม
R40/21เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง
R40/22เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อกินเข้าไป
R40/20/21เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนัง
R40/20/22เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม และกินเข้าไป
R40/21/22เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป
R40/20/21/22เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ เมื่อสูดดม เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไป
R42/23อาจเกิดการแพ้เมื่อสูดดมและสัมผัสกับผิวหนัง
R48/20อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดมเป็นเวลานาน
R48/21อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน
R48/22อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/20/21อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน
R48/20/22อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/21/22อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/20/21/22อันตรายอย่างแรงต่อสุขภาพ เมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/23เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดมเป็นเวลานาน
R48/24เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน
R48/25เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/23/24เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดม และสัมผัสกับผิวหนังเป็นเวลานาน
R48/23/25เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดม และเมื่อกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/24/25เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไปเป็นเวลานาน
R48/23/24/25เป็นพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพเมื่อสูดดม สัมผัสกับผิวหนัง และกินเข้าไปเป็นเวลานาน


รหัสแสดงความปลอดภัย (Safety phase)
      เป็นรหัสที่แสดงคำแนะนำด้านความปลอดภัยจากสารเคมีต่าง ๆ ปัจจุบันมีอยู่ 60 แบบ โดยใช้อักษร S นำหน้าตามด้วยตัวเลข 1- 60 โดยอาจแสดงเป็นรหัสเดี่ยว เช่น S1 เป็นสารที่ต้องเก็บให้มิดชิด และแสดงรหัสผสมเช่น S1/2 เป็นสารที่ต้องเก็บให้มิดชิดและห่างจากเด็ก S3/9/14 เป็นสารที่ต้องเก็บไว้ในที่เย็น มีการระบายอากาศที่ดีและเก็บห่างจาก… (สารที่อยู่ใกล้กันไม่ได้ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตจะเป็นผู้ระบุไว้) รหัสแสดงคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยมีดังนี้

รหัสความปลอดภัย แบบรหัสเดี่ยว
S1เก็บในสถานที่มิดชิด
S2เก็บให้ห่างจากเด็ก
S3เก็บในที่เย็น
S4เก็บให้ห่างจากสิ่งมีชีวิต
S5เก็บสารไว้ใน…
S5.1…น้ำ
S5.2…ปิโตเลียม
S6เก็บไว้ภายใต้สภาวะ…
S6.1…ก๊าซไนโตรเจน
S6.2…ก๊าซอาร์กอน
S6.3…ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
S7เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท
S8เก็บในภาชนะแห้ง
S 9เก็บในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี
S12ห้ามเก็บในภาชนะปิดสนิท
S13เก็บให้ห่าง อาหาร เครื่องดื่ม และอาหารสัตว์
S14เก็บให้ห่างจาก…
S14.1…สารรีดิวซ์, สารประกอบโลหะหนัก ,กรดและด่าง
S14.2…สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก
S14.3…เหล็ก
S14.4…น้ำและด่าง
S14.5…กรด
S14.6…ด่าง
S14.7…โลหะ
S14.8…สารออกซิไดซ์และกรด
S14.9…สารอินทรีย์ไวไฟ
S14.10…กรด, สารรีดิวซ์ ,และวัสดุไวไฟ
S14.11…วัสดุไวไฟ
S15เก็บให้ห่างจากความร้อน
S16เก็บให้ห่างจากแหล่งที่มีสารติดไฟ-ห้ามสูบบุหรี่
S17เก็บให้ห่างจากวัสดุที่ไหม้ไฟได้
S18ถือและเปิดภาชนะด้วยความระมัดระวัง
S20ห้ามรับประทานหรือดื่มขณะใช้สารนี้
S21ห้ามสูบบุหรี่ขณะใช้สารนี้
S22ห้ามดูดฝุ่นละออง
S23ห้ามสูดดมแก๊ส/ควัน/ไอระเหย/ละออง
S23.1ห้ามสูดดมแก๊ส
S23.2ห้ามสูดดมไอระเหย
S23.3ห้ามสูดดมละออง
S23.4ห้ามสูดดมควัน
S23.5ห้ามสูดดมไอระเหย/ละออง
S24หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนัง
S25หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับตา
S26กรณีที่สารเข้าตา ให้ล้างออกทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ และไปพบแพทย์
S27ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกทันที
S28กรณีที่สารถูกผิวหนังให้ล้างออกทันทีด้วย…ปริมาณมาก ๆ
S28.1…น้ำ
S28.2…น้ำและสบู่
S28.3…น้ำและสบู่ และ Polyethylene glycol 400 ถ้าหาได้
S28.4…Polyethylene glycol 300: Ethanol (2:1) แล้วตามด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ และสบู่
S28.5… Polyethylene glycol 400
S28.6… Polyethylene glycol 400 และล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ
S28.7… น้ำและสบู่ที่เป็นกรด
S29ห้ามเทลงในท่อระบายน้ำ
S30ห้ามเติมน้ำลงในสารนี้
S33ระมัดระวังในการตรวจวัดประจุไฟฟ้าสถิตย์
S34หลีกเลี่ยงการกระเทือนและเสียดสี
S35สารนี้และภาชนะบรรจุต้องทำลายอย่างปลอดภัย
S35.1สารนี้และภาชนะบรรจุจะต้องเติม 2% NaOH ก่อนนำไปทำลายต่อไป
S36สวมเสื้อผ้าที่ป้องกันอย่างเหมาะสม
S37สวมถุงมือที่เหมาะสม
S38ในกรณีที่ระบบถ่ายเทอากาศไม่เพียงพอให้สวมเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสม
S39สวมเครื่องป้องกันตาและหน้า
S40ทำความสะอาดพื้นและวัสดุที่เปื้อนสารด้วย…
S41ในกรณีเกิดไฟลุกไหม้ และ /หรือระเบิด ห้ามสูดดมควัน
S42ในระหว่างเกิดควัน/ละออง ให้สวมเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสม
S43ในกรณีติดไฟ ใช้…
S43.1…น้ำ
S43.2…น้ำหรือผงดับไฟ
S43.3…ผงดับไฟ-ห้ามใช้น้ำ
S43.4…คาร์บอนไดออกไซด์-ห้ามใช้น้ำ
S43.5…Halons-ห้ามใช้น้ำ
S43.6…ทราย-ห้ามใช้น้ำ
S43.7…ผงดับไฟ-ห้ามใช้น้ำ
S43.8…ทราย,คาร์บอนไดออกไซด์ หรือผงดับไฟ-ห้ามใช้น้ำ
S44หากรู้สึกไม่สบาย ให้พบแพทย์ (นำฉลากของสารไปด้วย)
S45กรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือรู้สึกไม่สบาย ให้พบแพทย์ทันที (นำฉลากของสารไปด้วย)
S46หากกลืนสารนี้ ให้พบแพทย์ทันที และนำฉลากของสารไปด้วย
S47เก็บในที่ซึ่งอุณหภูมิไม่เกิน…oC
S48เก็บในที่เปียกด้วย…
S48.1…น้ำ
S49เก็บในภาชนะบรรจุดั้งเดิม
S50ห้ามสัมผัสกับ…
S50.1…กรด
S50.2…ด่าง
S50.3…กรดแก่, ด่างแก่, โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก หรือเกลือของมัน
S51ใช้ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทดีเท่านั้น
S52ไม่แนะนำให้ใช้ในบริเวณกว้าง
S53หลีกเลี่ยงการสัมผัส-ได้รับคำแนะนำพิเศษก่อนใช้
S54ก่อนปล่อยลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานควบคุมมลพิษ
S55ต้องมีการบำบัดด้วยวิธีที่ดีที่สุดก่อนการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
S56ห้ามปล่อยลงในท่อระบายหรือสิ่งแวดล้อม ต้องปล่อยในที่เก็บกักน้ำเสียที่ได้รับอนุญาติ
S57มีหลักการที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
S58ทำลายเช่นเดียวกับสารมีพิษอันตราย
S59ควรขอคำแนะนำจากผู้ผลิต/จำหน่อย เมื่อนำมาใช้ใหม่
S60สารนี้ และ/หรือ ภาชนะบรรจุต้องมีการทำลายเช่นเดียวกับสารมีพิษอันตราย

รหัสความปลอดภัย แบบรหัสผสม
S1/2เก็บในสถานที่ปิดสนิท และพ้นจากเด็ก
S3/7/9เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท และเก็บในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี
S3/9เก็บในที่เย็น และอากาศถ่ายเทดี
S3/9/14เก็บในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี และห่างไกลจาก…
S3/9/14.1…สารรีดิวซ์ สารประกอบโลหะหนัก กรดและด่าง
S3/9/14.2…สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก
S3/9/14.3…เหล็ก
S3/9/14.4…น้ำและด่าง
S3/9/14.5…กรด
S3/9/14.6…ด่าง
S3/9/14.7…โลหะ
S3/9/14.8…สารออกซิไดซ์ และกรด
S3/9/14/49เก็บในภาชนะเดิม ในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี และห่างไกลจาก…
S3/9/14.1/49…สารรีดิวซ์ สารประกอบโลหะหนัก กรดและด่าง
S3/9/14.2/49…สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก
S3/9/14.3/49…เหล็ก
S3/9/14.4/49…น้ำและด่าง
S3/9/14.5/49…กรด
S3/9/14.6/49…ด่าง
S3/9/14.7/49…โลหะ
S3/9/14.8/49…สารออกซิไดซ์ และกรด
S3/9/49เก็บในภาชนะเดิม และ อากาศถ่ายเทดี
S3/14เก็บในที่เย็น และห่างไกลจาก…
S3/14.1…สารรีดิวซ์ สารประกอบโลหะหนัก กรดและด่าง
S3/14.2…สารออกไซด์ และกรด รวมทั้งสารประกอบโลหะหนัก
S3/14.3…เหล็ก
S3/14.4…น้ำและด่าง
S3/14.5…กรด
S3/14.6…ด่าง
S3/14.7…โลหะ
S3/14.8…สารออกซิไดซ์ และกรด
S7/8เก็บในภาชนะที่ปิดสนิทและแห้ง
S7/9เก็บในภาชนะที่ปิดสนิทและอากาศถ่ายเทดี
S20/21ห้ามรับประทาน ดื่ม หรือสูบบุหรี่ขณะที่ใช้สารนี้
S24/25หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนังและ ตา
S36/67สวมเสื้อผ้าและถุงมือที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน
S36/37/39สวมเสื้อผ้าและถุงมือที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน และปกป้องบริเวณตา /หน้า
S36/39สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน และปกป้องบริเวณตา /หน้า
S37/39สวมถุงมือที่เกมะสมเพื่อป้องกัน และปกป้องบริเวณตา /หน้า
S47/49เก็บในภาชนะเดิมเท่านั้นที่อุณหภูมิไม่เกิน…oC (กำหนดโดยผู้ผลิต)


ระบบสัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้มีหลายระบบ เช่น ระบบ UN ระบบ NFPA (The National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา ระบบ EEC และระบบ GHS เป็นต้น ซึ่งสัญลักษณ์ของทั้ง 4 ระบบนั้น มีดังนี้

1. ระบบ UN - United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods จำแนกสารที่เป็นอันตรายและเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้ หรือก่อให้เกิดความพินาศ เสียหาย ออกเป็น 9 ประเภท (UN-Class) ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย ดังนี้
ประเภท 1 - ระเบิดได้ (Explosives)

สารระเบิดได้ หมายถึง ของแข็งหรือของเหลว หรือสารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวมันเอง ทำให้เกิดก๊าซที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายแก่บริเวณโดยรอบได้ ซึ่งรวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย แบ่งเป็น 6 กลุ่มย่อย คือ

1.1 สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงทันทีทันใดทั้งหมด (Mass Explosive) ตัวอย่างเช่น เชื้อปะทุ ลูกระเบิด เป็นต้น
1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใด ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ชนวนปะทุ เป็นต้น
1.3 สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และอาจมีอันตรายบ้าง จากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กระสุนเพลิง เป็นต้น

1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการปะทุหรือปะทุในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุ ตัวอย่างเช่น พลุอากาศ เป็นต้น
1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด
1.6 สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมากและไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัด เฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุหรือแผ่กระจาย



ประเภทที่ ก๊าซ (Gases)

ก๊าซ หมายถึง สารที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีความดันไอมากกว่า 300 กิโลปาสคาล หรือมีสภาพเป็นก๊าซ อย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และมีความดัน 101.3 กิโลปาสคาล ได้แก่ ก๊าซอัด ก๊าซพิษ ก๊าซในสภาพ ของเหลว ก๊าซในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ และรวมถึงก๊าซที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดัน เมื่อเกิดการรั่ว ไหลสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการลุกติดไฟและ/ หรือเป็นพิษและแทนที่ออกซิเจนในอากาศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
2.1 ก๊าซไวไฟ (Flammable Gases) หมายถึง ก๊าซที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสและมีความดัน 101.3 กิโลปาสกาล สามารถติดไฟได้เมื่อผสมกับ อากาศ 13 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่าโดยปริมาตร หรือมีช่วงกว้างที่สามารถติดไฟได้ 12 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป เมื่อผสมกับอากาศโดยไม่คำนึงถึง ความเข้มข้นต่ำสุดของการผสม โดยปกติก๊าซไวไฟ หนักกว่าอากาศ ตัวอย่างของก๊าซกลุ่มนี้ เช่น อะเซทิลีน ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี เป็นต้น
2.2 ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases) หมายถึง ก๊าซที่มีความดันไม่น้อยกว่า 280 กิโลปาสคาล ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส หรืออยู่ ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซหนักกว่าอากาศ ไม่ติดไฟและ ไม่เป็นพิษหรือแทนที่ออกซิเจนในอากาศและทำให้เกิด สภาวะขาดแคลน ออกซิเจนได้ ตัวอย่างของก๊าซกลุ่มนี้ เช่น ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน เป็นต้น
2.3 ก๊าซพิษ (Poison Gases) หมายถึง ก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือถึงแก่ชีวิตได้จาก การหายใจ โดยส่วนใหญ่หนักกว่าอากาศ มีกลิ่นระคายเคือง ตัวอย่างของก๊าซในกลุ่มนี้ เช่น คลอรีน เมทิลโบรไมด์ เป็นต้น


ประเภทที่ ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)

ของเหลวไวไฟ หมายถึง ของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด (Closed-cup Test) หรือไม่เกิน 65.6 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด (Opened-cup Test) ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีแหล่งประกายไฟ ตัวอย่างเช่น อะซีโตน น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ เป็นต้น


ประเภทที่ ของแข็งไวไฟ

สารที่ลุกไหม้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้

4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง ของแข็งที่สามารถติดไฟได้ง่ายจากการได้รับความร้อน จากประกายไฟ/เปลวไฟ หรือเกิดการลุกไหม้ได้จากการเสียดสี ตัวอย่างเช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไนโตรเซลลูโลส เป็นต้น หรือเป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง ตัวอย่างเช่น เกลือไดอะโซเนียม เป็นต้น หรือเป็นสารระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการเกิดระเบิด ตัวอย่างเช่น แอมโมเนียมพิเครต (เปียก) ไดไนโตรฟีนอล (เปียก) เป็นต้น
4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้เองในสภาวะการขนส่งตามปกติ หรือเกิดความร้อนสูงขึ้นได้เมื่อ สัมผัสกับอากาศและ มีแนวโน้มจะลุกไหม้ได้ 
4.3 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases) หมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้ว มีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เองหรือทำให้เกิด ก๊าซไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตราย


ประเภทที่ สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้

5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing Substances) หมายถึง ของแข็ง ของเหลวที่ตัวของสารเองไม่ติดไฟ แต่ให้ออกซิเจนซึ่งช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้และอาจจะก่อให้เกิดไฟ เมื่อสัมผัสกับสารที่ลุกไหม้และ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ โซเดียมคลอเรต เป็นต้น
5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่มีโครงสร้าง ออกซิเจนสองอะตอม -O-O- และช่วยในการเผาสารที่ลุกไหม้ หรือทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้วก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือเมื่อได้รับความร้อนหรือลุกไหม้แล้วภาชนะบรรจุสารนี้อาจระเบิดได้ ตัวอย่างเช่น อะซีโตนเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น


ประเภทที่ สารพิษและสารติดเชื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้

6.1 สารพิษ (Toxic Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่สามารถทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ รุนแรงต่อสุขภาพของคน หากกลืน สูดดมหรือหายใจรับสารนี้เข้าไป หรือเมื่อสารนี้ได้รับความร้อนหรือลุกไหม้จะ ปล่อยก๊าซพิษ ตัวอย่างเช่น โซเดียมไซยาไนด์ กลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น
6.2 สารติดเชื้อ (Infectious Substances) หมายถึง สารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนหรือสารที่มีตัวอย่าง การตรวจสอบของพยาธิ สภาพปนเปื้อนที่เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคในสัตว์และคน ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียเพาะเชื้อ เป็นต้น 


ประเภทที่ วัสดุกัมมันตรังสี

วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive Materials) หมายถึง วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม ตัวอย่างเช่น โมนาไซด์ ยูเรเนียม โคบอลต์-60 เป็นต้น


ประเภทที่ สารกัดกร่อน

สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดย ปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือ ทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของ สารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อจมูกและตา ตัวอย่างเช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นต้น


ประเภทที่ วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด

วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substances and Articles) หมายถึง สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 8 ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต เป็นต้น และให้รวมถึงสารที่ต้อง ควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส ในสภาพของเหลว หรือมีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 240 องศาเซลเซียสในสภาพของแข็งในระหว่างการขนส่ง

2. ระบบ NFPA - The National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา กำหนด สัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อย ขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่
  •  สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability)
  •  สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health)
  •  สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกิริยาของสาร (Reactivity)
  •  สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย


วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

เครื่องเชื่อมเวลาจำเป็น

injection pump

ซ่อมรถโฟล์คลิฟท์ สมุทรปราการ



 

รายชื่อโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปู สมุทรปราการ



 บริษัท กระสอบเกษตร จำกัด  226 นิคมฯบางปู ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 4060-1   โทรสาร: 0 2709 3497 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 3497 FREE  end_of_the_skype_highlighting
ประเภทอุตสาหกรรม: ผ้าพลาสติกสาน ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ และกระสอบพลาสติกสาน 
- บริษัท กรุงเทพฯ วนิชชา เท็กซ์ไทล์ จำกัด 
616 หมู่ 4 ซ.8A ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0971-3   โทรสาร: 0 2324 0970 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0970 FREE  end_of_the_skype_highlighting
ประเภทอุตสาหกรรม: ให้เช่าที่ดินและอาคารโรงงาน 
- บริษัท กวงหงส์ อีเลคโทรนิค (ไทยแลนด์) จำกัด 
694 หมู่4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0247-8   โทรสาร: 0 2324 0798 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0798 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: หลอดไฟขนาดเล็ก (MICRO & SUBMINIATURE LAMPS & ELECTRONIC PRODUCT), ทำการค้าและบริการวัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ บรรจุหีบห่อและอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำหลอดไฟ 
- บริษัท กูด พอยท์ จำกัด 
681 หมู่ 2 ถ.สุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2323 3218-20   โทรสาร: 0 2323 3221 begin_of_the_skype_highlighting 0 2323 3221 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: รับจ้างปั๊มและผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำจากเหล็ก, สแตนเลส 
- บริษัท เกา จี๋ อาร์ต บิลดิ้ง แม็ททีเรียล จำกัด 
977/1 หมู่ที่4 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สุมทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 6724-5   โทรสาร: 0 2709 6723 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 6723 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตกรอบรูปพลาสติก 
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม 
792 หมู่ 2 1C/1 ถ.สุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2323 07142-1   โทรสาร: 0 2323 0724 begin_of_the_skype_highlighting 0 2323 0724 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม (เตาเผาขยะอุตสาหกรรม) 
- บริษัท เกรทป่าว เมททัล จำกัด 
859 หมู่ 4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2710 6355-6   โทรสาร: 0 2710 6358 begin_of_the_skype_highlighting 0 2710 6358 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: เหล็ก, ทองเหลือง, อลูมิเนียม, สแตนเลส และผลิตภัณฑ์โลหะอื่น ๆ ที่เป็นเส้นและท่อน เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ 
- บริษัท โกเบ มิก ไวร์ (ประเทศไทย) จำกัด 
491 หมู่4 ซอย1 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0588 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0588 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2324 0797 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0797 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตลวดเชื่อม (CO2 WELDINGG SOLID WIRE) 
- บริษัท โกเวนเจอร์ จำกัด 
563 หมู่ 4 ซ.10 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 4782 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 4782 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2709 4792-3
ประเภทอุตสาหกรรม: คลังเก็บสินค้าเพื่อจำหน่าย และเก็บรักษาเคมีภัณฑ์อันตราย 
- บริษัท โกชู เทคโนเซอร์วิส จำกัด 
832 หมู่ 4 ซ.13 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 3387 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 3387 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2709 3387 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 3387 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: รับบริการล้างเมมเบรน ล้างเรซิน 
- บริษัท โกชู โคซัน จำกัด 
832 หมู่ 4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 3288 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 3288 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2323 0795 begin_of_the_skype_highlighting 0 2323 0795 FREE  end_of_the_skype_highlighting
ประเภทอุตสาหกรรม: ประกอบเครื่องจักรสำหรับใช้ทำน้ำให้บริสุทธิ์ และเตาเผาขยะ เครื่องจักรสำหรับผลิตน้ำดี และเครื่องจักรสำหรับบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งอุปกรณ์ควบคุม 
- บริษัท โกชู คาเซอิ จำกัด 
832 หมู่ 4 ซ.13 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 3288-9   โทรสาร: 0 2709 4557 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 4557 FREE  end_of_the_skype_highlighting
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตภัณฑ์เคมี, นำกากตะกอนอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ และอลูมิเนียมซัลเฟตมาผลิตเป็นสารส้ม 
- บริษัท โกบอล เอ็นไวรอนเมนทอล เทคโนโลยี จำกัด 
649/1 หมู่ 4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 2950-3   โทรสาร: 0 2709 2955 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 2955 FREE  end_of_the_skype_highlighting
ประเภทอุตสาหกรรม: ดำเนินโครงการพัฒนาและยกระดับระบบบำบัดน้ำเสีย นิคมอุตสาหกรรมบางปู
- บริษัท เค.ซี.เค.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
677-680 หมู่4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 3156-62   โทรสาร: 0 2324 0368-9   
ประเภทอุตสาหกรรม: แผ่นพิมพ์แผงวงจรไฟฟ้า 
- บริษัท เคมแฟค จำกัด 
25/13 หมู่ 10 ถ.สุขุมวิท 103 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 
โทรศัพท์: 0 2726 2329 begin_of_the_skype_highlighting 0 2726 2329 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2328 1196 begin_of_the_skype_highlighting 0 2328 1196 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตและบรรจุเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร 
- บริษัท เคมเทรด จำกัด 
หมู่ 2 ถ.พัฒนาการ 3 ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ      
ประเภทอุตสาหกรรม: เก็บรักษาเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร 
- บริษัท เคมเทรด จำกัด 
25/12 หมู่ 10 ถ.สุขุมวิท 103 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 
โทรศัพท์: 0 2726 2329 begin_of_the_skype_highlighting 0 2726 2329 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2328 1196 begin_of_the_skype_highlighting 0 2328 1196 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: แบ่งบรรจุเคมีทางการเกษตร โดยไม่มีการผลิต 
- บริษัท เคมทรานส์ เอเชียติ๊ก จำกัด 
567 นิคมฯ บางปู ซ.1 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ     
ประเภทอุตสาหกรรม: เพื่อเป็นสถานีจอดรถขนส่งสารเคมี     
- บริษัท เคมมาร์ท เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด 
463 ซ.ท้ายบ้าน21 ถ.สุขุมวิท ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2701 6650-3   โทรสาร: 0 2701 6654 begin_of_the_skype_highlighting 0 2701 6654 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมผลิตเคมี 
- บริษัท เคอร์รี่ อินกรีเดียนท์ (ไทยแลนด์) จำกัด 
79/113 หมู่ 8 แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ       
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิต ค้าส่ง ค้าปลีก และส่งออก ซึ่งสิ่งปรุงแต่งอาหาร 
- บริษัท แคล พล้านท์ จำกัด 
519 หมู่ 4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ  
ประเภทอุตสาหกรรม: ผสมและแบ่งบรรจุเคมีเกษตร        
- บริษัท โคคูโย-ไอเค (ประเทศไทย) จำกัด 
529 หมู่ 4 ซ. 8 C ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 4675 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 4675 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2709 4680 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 4680 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตแฟ้มเอกสารเพื่อส่งออก ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับเครื่องใช้สำนักงาน 
- บริษัท คราวน์ เบ็บแคน แอนด์ โคลสเชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 
405 หมู่ 4 ซ.2C ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ   
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตกระป๋องสเปรย์ กระป๋องสี ฝาจุกจีบ    
- บริษัท คลาเรียนท์ เคมิคอลซ (ประเทศไทย) จำกัด 
851 หมู่ 4 ซ.11 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 3131 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 3131 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2323 0791 begin_of_the_skype_highlighting 0 2323 0791 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: เคมีภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ หนัง และกระดาษ วัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมสีทา พ่น เคลือบ และเคมีภัณฑ์ เพื่อป้องกันกำจัด จุลินทรีย์ในน้ำเพื่อใช้ทางการประมง และเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ 
- บริษัท คลีนวี่ (ประเทศไทย) จำกัด 
635 หมู่ 4 ซ. 6 A ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0062-4   โทรสาร: 0 2324 0278 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0278 FREE  end_of_the_skype_highlighting
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตเครื่องจักรที่ใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆ ที่ได้จากการขึ้นรูป 
- บริษัท คอนเซพท์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 
380 หมู่ 4 ซ.6 ถ.พัฒนา 4 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0446-9   โทรสาร: 0 2324 0450 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0450 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: เครื่องประดับเทียมและของชำร่วยโดยการหลอมและชุบโลหะ 
- บริษัท คอมพาสส์ อีสต์ อินดัสตรี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 
290-1 หมู่ 4 ซ.5 บางปู ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0529-34   โทรสาร: 0 2324 0528 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0528 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตพัดลม, อุปกรณ์ตลอดจนส่วนประกอบของพัดลม และอบพ่นสีชิ้นส่วนที่ทำจากเหล็ก, พลาสติก 
- บริษัท คอร์เนล โพลิเมอร์ จำกัด 
548 หมู่ 4 ซ.9 ถ.พัฒนา 1 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 6717-9   โทรสาร: 0 2323 0895 begin_of_the_skype_highlighting 0 2323 0895 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตสีผง (POWDER COATINGS) 
- บริษัท คอลโลเดียม จำกัด 
266/1 แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0546-7   โทรสาร: 0 2324 0547 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0547 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิต ROSIN DISPERSION,WAX DISPERSION และ ROSIN DERIVATIVES 
- บริษัท คอสมิค ดิจิตอล เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด 
80/1 หมู่ 2 ถ.บางนา-ตราด ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2325 0611-3   โทรสาร: 0 2325 0616 begin_of_the_skype_highlighting 0 2325 0616 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ประกอบ ผลิต ซ่อมแซม เครื่องเล่นดีวีดี วีซีดี ซีดี มินิ ไฮ-ไฟ โฮมเธียร์เตอร์ โทรทัศน์ รวมทั้งชิ้นส่วน อะไหล่ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 
- บริษัท คอสมิคออยล์ จำกัด 
951 หมู่ 4 ซ. 11B ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 6961-5   โทรสาร: 0 2709 6960 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 6960 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผสมและแบ่งบรรจุน้ำมันหล่อลื่น 
- บริษัท คาร์โบเท็กซ์ จำกัด 
711 หมู่4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0884-5, 0279-80   โทรสาร: 0 2324 0942 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0942 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตตลับผ้าหมึกสำเร็จรูป (Printer Ribbon) ผงหมึก (Toner) ตลับน้ำหมึกสำเร็จรูป (Inkjet) ตลับผงหมึกสำเร็จรูป (Laser Cartridges) ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องรังส่งสัญญาณสำหรับเครื่องใช้สำนักงาน ผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้ทำจากพลาสติก
- บริษัท คาลบี้ธนาวัธน์ จำกัด 
258 หมู่ 4 ซ.3 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0580-1   โทรสาร: 0 2709 4052 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 4052 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ข้าวเกรียบกุ้ง 
- บริษัท คิงฟิชเชอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด 
233 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0570 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0570 FREE  end_of_the_skype_highlighting, 0 2249 5640 begin_of_the_skype_highlighting 0 2249 5640 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2324 0914 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0914 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: อาหารทะเลบรรจุกะรป๋อง และผลิตกระป๋อง ผลิต ประกอบ ซ่อมแซมเครื่องจักร เครื่องมือกลรวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ของเครื่องจักร ผลิตฝากระป๋อง 
- บริษัท คิวแฟค จำกัด 
263 หมู่ 4 ซ.4 C ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 4164-6   โทรสาร: 0 2323 0951 begin_of_the_skype_highlighting 0 2323 0951 FREE  end_of_the_skype_highlighting
ประเภทอุตสาหกรรม: ผสมและบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 
- บริษัท คีย์ไทย รับเบอร์ จำกัด 
744 หมู่4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 4010 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 4010 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2323 0745 begin_of_the_skype_highlighting 0 2323 0745 FREE  end_of_the_skype_highlighting
ประเภทอุตสาหกรรม: แป้นของเครื่องคำนวณ 
- บริษัท คุเรฮะ (ไทยแลนด์) จำกัด 
525 หมู่ 4 ซ.8C ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2710 6475-6   โทรสาร: 0 2710 6474 begin_of_the_skype_highlighting 0 2710 6474 FREE  end_of_the_skype_highlighting  
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ อุปกรณ์ และส่วนประกอบรถยนต์ทุกชนิด (พรมรถยนต์ และไส้กรองอากาศรถยนต์)  
บริษัท เจนคอน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด  25/27 หมู่ 10 ถ.สุขุมวิท แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 
โทรศัพท์: 0 2726 2688-9   โทรสาร: 0 2328 1187 begin_of_the_skype_highlighting 0 2328 1187 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตระบบบำบัดอากาศเสียในโรงงานอุตสาหกรรม 
- บริษัท เจนเนอรัลไนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 
846/188-9 หมู่ 1 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 
โทรศัพท์: 0 2870 4343 begin_of_the_skype_highlighting 0 2870 4343 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2870 3268 begin_of_the_skype_highlighting 0 2870 3268 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: แบ่งบรรจุถ่านโค้ก (FOUNDRY COKE), เฟอโร-ซิลิคอน (FERRO SILICON), ซิลิคอน-แมงกานิส (SILICON MANGANESE) 
- บริษัท เจ.ที.เอ็น.เท็กซ์ไทล์อินดัสตรีส์ จำกัด 
378 หมู่4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0436-40   โทรสาร: 0 2324 0442 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0442 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ทอผ้ามุ้ง, ผ้าทอจากด้ายย้อมสี ฟอกย้อมพิมพ์ผ้าและตกแต่งผ้า 
- บริษัท เจ็ท ไทย พลาสติก อินดัสตรีส์ จำกัด 
702 นิคมฯบางปู (เขตส่งออก) หมู่4 ซ.14 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
โทรศัพท์: 0 2709 6776 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 6776 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2324 0097 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0097 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ชิ้นส่วนเครื่องคำนวณที่ทำจากพลาสติก ชิ้นส่วนของพัดลม รถเข็นเด็ก รองเท้าสเก็ตทำจากพลาสติก
- บริษัท เจริญทรัพย์ ไออออนไวร์ แฟคทอรี่ จำกัด 
657 หมู่ 2 ซ.1 ถ.สุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ     
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตภัณฑ์จากลวดเหล็ก, ผลิตตะปูคอนกรีต    
- บริษัท เจียไต๋ จำกัด 
299-301 ถ.ทรงสวัสดิ์ เขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพฯ 
โทรศัพท์: 0 2233 8191-9    
ประเภทอุตสาหกรรม: เกี่ยวกับการเก็บรักษา และแบ่งบรรจุ ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืชและเมล็ดพันธุ์พืช 
- บริษัท เจียมพัฒนาเท็กซ์ไทล์ส จำกัด 
726/1 หมู่ 4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0995-6   โทรสาร: 0 2324 0996 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0996 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ให้เช่าที่ดินเพื่อการประกอบอุตสาหกรรม 
- บริษัท เจ.อี.พี.เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด 
1 ซอย13 เสรี4 ถ.รามคำแหง แขวงสวนหลวง เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 
โทรศัพท์: 0 2258 0446-9   
ประเภทอุตสาหกรรม: เครื่องมือแพทย์ 
- บริษัท จักรวาลเคมี จำกัด 
376 หมู่4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0473 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0473 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2324 0472 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0472 FREE  end_of_the_skype_highlighting  
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตเคมีภัณฑ์ (สังกะสีคลอไรด์, สังกะสีซัลเฟต, สังกะสีคาร์บอเนต, คาลาไมน์ บีพีเกรด, ฟลักซ์โซดาไฟ และ TITANIUM ANODE & HEAT EXCHANGER), นำฝุ่นสังกะสี (วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว) มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต 
- บริษัท จิ่นเหม่ยเปเปอร์ จำกัด 
590 หมู่ 2 ซ. 4A นิคมฯบางปู ถ.สุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 0997-8   โทรสาร: 0 2324 0999 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0999 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตแกนที่ทำจากกระดาษ (BOBIN) 
- บริษัท จินจั้น เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 
558 หมู่ 4 ถ.พัฒนา 1 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 3175 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 3175 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2324 0838 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 0838 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนรองเท้าทุกชนิด, ชิ้นส่วนหมวกทุกชนิด, ชิ้นส่วนถุงมือและกระเป๋าทุกชนิด 
- บริษัท จินป่าว พรีซิชั่น อินดัสทรี่ จำกัด 
629 หมู่ 4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 4895-6   โทรสาร: 0 2709 2640 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 2640 FREE  end_of_the_skype_highlighting
ประเภทอุตสาหกรรม: แม่พิมพ์, เครื่องอัดแม่พิมพ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 
- บริษัท จีไอเอฟ ไทย แมช จำกัด 
404 หมู่ 4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2323 9984-5   โทรสาร: 0 2323 2701 begin_of_the_skype_highlighting 0 2323 2701 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตไม้ขีดไฟ 
- บริษัท จีพีวี เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด 
297 หมู่ 4 ซอย 6 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 2550-5   โทรสาร: 0 2709 2564 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 2564 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตชิ้นส่วนโลหะ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการกัดเซาะและกลึงโลหะ ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรอื่น ๆ อะไหล่ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร เครื่องกลและเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ต่าง ๆ 
- บริษัท เฉียว เป่า เมททัล จำกัด 
859 หมู่ 4 ซ.11B ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 3188-91   โทรสาร: 0 2709 3221 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 3221 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ลวดเหล็ก, เหล็กเส้น, ลวดสแตนเลส, น๊อต, สกรู และผลิตภัณฑ์โลหะอื่นๆ 
- บริษัท เฉียวเป่า เมททัล จำกัด 
869 นิคมฯบางปู ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง สจ.สมุทรปราการ
โทรศัพท์: 0 2709 3188-91   โทรสาร: 0 2709 3221 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 3221 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: สกรู ลวด สลักเกลียว และวัสดุอื่น ๆ ทั้งสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป 
- บริษัท เฉียวฟู เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 
839 หมู่ 4 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 4449-57   โทรสาร: 0 2709 4448 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 4448 FREE  end_of_the_skype_highlighting
ประเภทอุตสาหกรรม: ฟองน้ำและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากฟองน้ำ 
- บริษัท เชลล์ ฟอร์มูเลเตอร์ จำกัด 
269/6 หมู่ 4 ซอย 4 ถ.พัฒนา 3 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 4608-9   โทรสาร: 0 2709 4609 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 4609 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: แบ่งบรรจุเคมีเกษตร 
- บริษัท ชไนเดอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด 
544 หมู่ 4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2324 6000 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 6000 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2324 6045 begin_of_the_skype_highlighting 0 2324 6045 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตและประกอบเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (LOAD CENTERS, PANEL BOARDS, LOW VOLTAGE BUSBAR TRUNKING, CONSUMER UNIT, MINIATURE CIRCUIT BREAKER, MOLDED CASE CIRCUIT BREAKER) อุปกรณ์ตัดต่อกระแสไฟฟ้า (SWITCH GEAR)
- บริษัท ชิโน-อเมริกา อิเล็กโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด 
817 หมู่4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 4511-4   โทรสาร: 0 2709 4510 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 4510 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: ผลิตอแด๊ปเตอร์ ทรานส์ฟอร์มเมอร์ บัลลาส สวิทซ์ซิ่งพาวเวอร์และยูพีเอส 
- บริษัท ชิน อี เมททัล จำกัด 
663 หมู่ 4 ถ.สุขุมวิท ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
โทรศัพท์: 0 2709 4167 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 4167 FREE  end_of_the_skype_highlighting   โทรสาร: 0 2709 4169 begin_of_the_skype_highlighting 0 2709 4169 FREE  end_of_the_skype_highlighting 
ประเภทอุตสาหกรรม: อะไหล่ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สินค้าอิเล็คโทรนิคส์