วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

โลจิสติกส์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม (Green Logistics)


การบริหารด้วยระบบโลจิสติกส์ (Logistics) เป็นกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการนำส่งสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในแง่การลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม การประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย ปัจจุบันในเวทีโลกได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ มลภาวะในอากาศที่เกิดจากการขนส่ง การใช้พลังงานในกระบวนการผลิต และการใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ การบริหารงานด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่มุ่งเน้นเฉพาะการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ก็นำไปสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการกล่าวถึง “Green Logistics” เพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรมากยิ่งขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะประเด็นการเปลี่ยนแปลงอากาศ (Climate Change) จากผลกระทบของภาวะโลกร้อน (Global Warming) และ Greenhouse effect
นอกจากนั้น มลพิษทางอากาศอันเนื่องมาจากก๊าซ Carbon dioxide (CO2) เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันในการขนส่งสินค้าจากรถบรรทุกชนิดต่างๆ การใช้ระบบการขนส่งในรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้ศูนย์กระจายสินค้า(Distribution Center) สามารถทำให้จำนวนรอบในการขนส่งลดลง นำมาซึ่งต้นทุนขององค์กรที่ลดลง และประการสำคัญคือ มลภาวะที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด การทำ Repackaging และ Re-used Packaging ในศูนย์กระจายสินค้าก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลำเลียงสินค้าบนพาหนะได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผลกระทบจากการขนส่งอย่างไม่มีระบบที่ดี นำมาซึ่งต้นทุนที่สูง ระยะเวลาการขนส่งที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และมลภาวะที่เกิดจาก Carbon dioxide (CO2) ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 ผลกระทบของการปลดปล่อยก๊าซ Carbon dioxide (CO2)


จาก รูปที่ 1 แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากก๊าซ Carbon dioxide (CO2) ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมประการแรกคือ การเกิดภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งมีผลทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ (Global Warming)
ดังนั้น โลจิสติกส์จึงต้องเป็น “Green Logistics” ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับมลภาวะในอากาศที่เกิดจากการขนส่ง การประหยัดพลังงาน และการใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Recycle) การบริหารงานด้านโลจิสติกส์ จึงต้องให้ความสำคัญต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมทั้งของจำกัดของน้ำหนักสินค้าที่สามารถจะบรรทุกหรือบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ (Container) ซึ่งในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน นอกจากนี้ การจัดการโลจิสติกส์จะต้องให้ความสำคัญต่อปัญหาอุบัติภัยที่จะมีต่อสังคมและการทำงานที่ปลอดภัย (Safety First) ของบุคคลที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่โลจิสติกส์และที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงศีลธรรมและบรรษัทภิบาล (Good Corporate) ทั้งนี้ การค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศตะวันตกได้ให้ความสำคัญกับ Reverse Logistics หรือโลจิสติกส์ย้อนกลับในการที่ผู้ขาย (Shipper) จะต้องรับผิดชอบในการขนส่งนำซากของเสียหรือวัสดุเหลือใช้กลับคืนประเทศของผู้ส่งออก
Green Logistics จึงได้เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กระบวนการจัดซื้อจัดหา การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation Enhancement) เช่น การเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างองค์กร (B2B business) ดังแสดงใน รูปที่2 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในติดต่อสื่อสารทุกกระบวนการ ตัวอย่างระบบการสั่งซื้อสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(e-ordering) เช่น ระบบการสั่งซื้อสินค้าของบริษัทบุญถาวรที่เชื่อมโยงกับระบบของบริษัท อเมริกันสแตนดาร์ดบีแอนเค (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นระบบที่รวดเร็ว และทำให้ลดขั้นตอนด้านเอกสาร (paperless) ลงอย่างมาก รวมทั้งลดขั้นตอนความผิดพลาดในการผลิตด้วย ดังแสดงในรูปที่ 3

รูปที่ 2 ระบบ B2B business






รูปที่ 3 ระบบ e-ordering


สำหรับระบบการขายสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ช่วยลดปริมาณเอกสาร และการเดินทางเพื่อรับส่งเอกสารได้เป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน ซึ่งการลดปริมาณกระดาษที่ใช้ สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างมาก ตั้งแต่การตัดต้นไม้เพื่อกระบวนการผลิตกระดาษ หรือแม้กระทั่งการนำกระดาษ มาผลิตใหม่ ก็ยังคงใช้พลังงานเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน การพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ (Logistics Service Internationalization) เช่น การใช้หลัก Global Sourcing มากขึ้น โดยหาวัตถุดิบจากแหล่งที่ถูกที่สุด และเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่ผลิตตามการวางแผนของผู้ผลิต มาเป็นผลิตตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น เทคโนโลยี RFID เพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง แม่นยำ เพื่อการจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างตรงเวลา รวดเร็ว และปลอดภัย
กระบวนการผลิต โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในภาคการผลิต (Business Logistics Improvement) เช่น การลดการใช้พลังงาน ตัวอย่างในอุตสาหกรรมเซรามิก การลดอุณหภูมิเตาเผา โดยที่ยังคงคุณภาพสินค้าดีเหมือนเดิม การนำความร้อนจากกระบวนการเผามาใช้ประโยชน์ ไม่ปล่อยความร้อนสู่สิ่งแวดล้อม การลดของเสียจากกระบวนการผลิต การนำน้ำดินกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การบำบัดของเสียเพื่อสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Recycle) เป็นต้น กระบวนการจัดการคลังสินค้า เช่น การนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ การเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้า ในการขนสินค้า และควรมีการวางแผนรับ-ส่งสินค้าภายในเพื่อไม่ให้รถ Folk lift วิ่งรถเปล่าในขากลับเพื่อลดจำนวนเที่ยววิ่ง รวมทั้งลดการเกิด Double handling ทำให้ลดปริมาณพลังงานและน้ำมัน การพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า เช่น จากเดิมมีคลังสินค้า 5 สาขา ก็เปลี่ยนเป็นศูนย์กระจายสินค้า1 ที่ เพื่อกระจายสินค้าให้กับ 5 สาขา ซึ่งนอกจากลดต้นทุนคลังสินค้าแล้ว ยังลดการขนส่งสินค้า และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในที่สุด นอกจากนั้นอาจใช้ระบบ Warehouse Management ช่วยดำเนินการ ดังแสดงใน รูปที่ 4
ที่มา:   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวรรณี อัศวกุลชัย






Written by Editorial Staff   
กระแส Green Logistics มาแรง อเมริกา-ยุโรปเอาจริงบีบซัพพลายเออร์เร่งดำเนินการ ญี่ปุ่นเดินหน้านโยบายให้ภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือน และขนส่งร่วมลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
green1.jpgGreen Logistics กำลังเป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเป็นการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในมิติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรมตลอดกระบวนการโลจิสติกส์ เช่น การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือฝุ่นจากวัตถุดิบการผลิต การปล่อยของเสียจากกระบวนการผลิต การตีรถเที่ยวเปล่าทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน การบริหารสินค้าคงคลังที่ดีทำให้มีสินค้าหมดอายุก่อนการใช้งานน้อยลง กระบวนการจัดการสินค้าย้อนกลับจากลูกค้า (Reverse Logistics) เป็นต้น
ทั้งนี้ การบริหาร Green Logistics มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารโลจิสติกส์ เนื่องจากต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย และแนวคิดด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์เข้ามาใช้ตลอดกระบวนการ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 
ปัจจุบันในอเมริกา และยุโรป ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ได้มีข้อตกลงทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมาเป็นข้อจำกัดทางการค้ามากขึ้น โดย Wal- Mart ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกได้ออกมาตรการเกี่ยวกับการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์กับซัพพลายเออร์ ซึ่ง Wal- Mart ระบุว่า มีส่วนในการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 8% ที่เหลือกว่า 92% มาจากซัพพลายเออร์ จึงได้เริ่มออกกฎเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้ 
ด้านยุโรปมีนโยบายทางการขนส่ง และตั้งเป้าหมายลดมลภาวะจากการขนส่งให้ได้ 20% ภายในปี 2020 
ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้มีการดำเนินการเรื่อง Green Logistics อย่างจริงจัง โดยมีนโยบายให้ภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือน และภาคขนส่งมีส่วนร่วมในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเก็บสถิติเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 
ส่วนประเทศไทยมีความตื่นตัวพอสมควร และมีการดำเนินงานหลายส่วนที่สอดคล้องกับแนวคิด Green Logistics เช่น การสนับสนุนให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางรถมาเป็นทางราง และทางน้ำมากขึ้น (Modal Shift) การเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน (Energy Shift) การบริหารรถเที่ยวเปล่า เป็นต้น อย่างไรก็ดี แนวคิดดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก เนื่องจากขาดโครงสร้างพื้นฐานรองรับ  
green3.jpg“กระแสเรื่อง Green Logistics เป็นกระแสทางการค้าที่ผู้ส่งออกหนีไม่พ้น คู่ค้าจากต่างประเทศเริ่มนำมาเป็นข้อบังคับเพราะเขาก็ถูกบีบมาจากลูกค้าและกฎระเบียบของอเมริกา ยุโรป ดังนั้นเดิมที่เราเคยเน้นที่การบริหารจัดการโลจิสติกส์ และมองแค่การปล่อยของเสียอย่างเดียว ตอนนี้ไม่พอแล้วต้องมองทั้งกระบวนการ Green Logistics ถ้าทำได้ก็จะทำให้มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนได้” คุณเตชะ บุณยะชัยรองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าว  
Green Logistics Contest 
ตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยหรือสภาผู้ส่งออก (สรท.) ได้ร่วมมือกับภาครัฐอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยเป็นเจ้าภาพยุทธศาสตร์ การพัฒนากําลังคนและกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (Capacity Building) ตามแผนยุทธศาสตร?การพัฒนาระบบโลจิสติกส?ของประเทศไทย
ทั้งนี้ สรท. เล็งเห็นถึงกระแสทางการค้าเรื่อง Green Logistics ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ส่งออกไทย จึงเริ่มกระตุ้นให้ผู้ส่งออกหันมาตระหนักเรื่องการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ล่าสุด ในงาน International Thailand Logistics Fair 2008 สรท. ได้จัดให้มี Green Logistics Contest เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักเรื่อง Green Logistics ด้วย โดยให้นักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท นำเสนอโครงการ-แนวทางในการพัฒนา Green Logistics ในองค์กร เพื่อนำแนวคิดดังกล่าวไปต่อยอดประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่อไป  
โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม MFU STAR จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทีม MIEMU จากมหาวิทยาลัยมหิดล และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทีม Logistics on Green (LOG) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
green2.jpgCase Study Green Logistics ในประเทศญี่ปุ่น
เพื่อปฏิบัติตามการลงนามพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการรับมือกับสภาวะโลกร้อน ประเทศญี่ปุ่นจึงได้เริ่มดำเนินการ Green Logistics อย่างจริงจังเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 
โดยมีนโยบายให้ภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือน และภาคขนส่ง มีส่วนร่วมในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะการดำเนินการในภาคขนส่ง ได้มีภาครัฐ องค์กรด้านโลจิสติกส์ และบริษัทภาคเอกชนกว่า 2,800 ร่วมประชุมหุ้นส่วนโลจิสติกส์สีเขียว และมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง การขนส่งสินค้าร่วมกันเพื่อลดจำนวนรถเที่ยวเปล่า การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อลดการใช้พลังงาน Mr. Masaaki Toma Director of Public Relations, Japan External Trade Organization (JETRO Bangkok) กล่าว  
ทั้งนี้ Green Logistics ของประเทศญี่ปุ่นหมายถึง โลจิสติกส์ที่มองแบบเป็นองค์รวม เน้นการลดต้นทุนจากกิจกรรมโลจิสติกส์และการตอบสนองสภาพแวดล้อม โดยให้ความสำคัญทั้งในเรื่องนิเวศวิทยา (Ecology) และเรื่องเศรษฐศาสตร์ เช่น การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการลดต้นทุนโดยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง 
สำหรับการดำเนินการด้าน Green Logistics ของประเทศญี่ปุ่น มี 4 ด้านหลักๆ คือ
  1. Corporative Transport คือ การรวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบการหลายรายไว้ที่จุดพักสินค้า แล้วจัดเส้นทางเพื่อขนส่งสินค้าร่วมกัน จากการทดลองของผู้ประกอบการ 8 ราย โดยขนส่งสินค้าระยะทาง 600 กิโลเมตร พบว่า สามารถลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงได้มาก และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 40%
  2. Eco-Dive มีการอบรม เพิ่มจิตสำนึกการขับขี่ให้กับพนักงานขับรถ เพื่อลดการขับรถเร็วเกินมาตรฐาน ลดการเดินเครื่องยนต์เปล่าในขณะที่พักผ่อนหรือขนถ่ายสินค้า จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่า บริษัทรถบรรทุกรายใหญ่สามารถลดต้นทุนค่าพลังงานเชื้อเพลิงได้ปีละ 200 ล้านบาท 
  3. Modal Shift เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาใช้ทางรางมากขึ้น ซึ่งในญี่ปุ่นมีการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าทางรถไฟค่อนข้างมาก การขนส่งสินค้าด้วยรถไฟ 1 เที่ยวเท่ากับการขนส่งด้วยรถบรรทุก 28 คัน ส่วนในด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า การขนส่งสินค้าทางรถไฟ 1 ตันต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.02 กิโลกรัม ขณะที่ทางเรือ 0.04 กิโลกรัม รถบรรทุก 0.35 กิโลกรัม และเครื่องบิน 1.51 กิโลกรัม 
  4. Eco-Wrapping เน้นการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิล และปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากกระดาษมาเป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 
Green Logistics เป็นเทรนด์การค้าโลกที่ทวีความสำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องศึกษาอย่างจริงจัง และปรับตัวให้ทันกับแนวโน้มที่เกิดขึ้น เพราะหากตกกระแสย่อมส่งผลโดยตรงต่อความสามารถทางการแข่งขัน