ระบบจุดระเบิดแบบธรรมดาจะได้แรงเคลื่อนไฟแรงสูงมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับหน้าทองขาว ซึ่งเป็นตัวตัดต่อวงจรของขดลวดปฐมภูมิในคอยล์จุดระเบิด หน้าทองขาวของระบบจุดระเบิดแบบธรรมดาเมื่อถึง กำหนดระยะเวลาจะต้องบำรุงรักษาหรือเปลี่ยน เนื่องจากการเกิดออกซิไดซ์จากประกายไฟขณะที่ทำงาน ซึ่งทำให้หน้าทองขาวไม่สามารถเป็นสะพานไฟได้ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นกับหน้าทองขาวมักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ เพราะอายุการใช้งานของหน้าทองขาวไม่เกิน 5,000 กิโลกรัม จึงทำให้ระบบจุดระเบิดเกิดปัญหาอยู่ตลอด เวลาและประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ตกลง
ระบบจุดระเบิดทรานซิสเตอร์ (transistor ignition system) จึงได้ถูกนำมาใช้กับรถยนต์เพื่อให้ง่ายต่อการใช้และการบำรุงรักษา และทำให้การบำรุงรักษาลดน้อยลงไปด้วย ระบบจุดระเบิดทรานซิสเตอร์ให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงมากจึงทำให้การเผาไหม้ของไอดีในห้องเผาไหม้หมดจด ไม่มีการตกค้างของไอดี จึงไม่สิ้นเปลืองนํ้ามันเชื้อเพลิงและให้กำลังงานสูง ไอเสียออกมามีก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ซึ่งเป็นก๊าชพิษออกมาน้อยมาก ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์จึงสูงกว่าเมื่อใช้ระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา ระบบจุดระเบิดทรานซิสเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 แบบคือ
1. ระบบจุดระเบิดแบบกึ่งทรานซิสเตอร์
ระบบจุดระเบิดแบบกึ่งทรานซิสเตอร์ (semi-transistor ignition system) นี้ยังใช้จานจ่าย หน้าทองขาว และคอยล์จุดระเบิดแบบมีความต้านทานภายนอกแบบเดิมอยู่ร่วมในการทำงาน แต่ได้เพิ่มชุด
ช่วยจุดระเบิดซึ่งเป็นทรานซิสเตอร์เข้าไปในวงจรจุดระเบิด
การทำงาน เมื่อเปิดสวิตช์กุญแจจุดระเบิด กระแสไฟฟ้าจากขั้ว IG ก็จะไหลไปยังคอยล์จุดระเบิดทางขั้ว + และไปรออยู่ที่ขั้ว C ของ Tr2 และกระแสไฟจากขั้ว IG จะไหลเข้าขั้ว E ของ Tr1 ไปขั้ว B ของ Tr1 ผ่านหน้าทองขาวซึ่งติดกันอยู่ลงกราวด์ครบวงจร (ให้ดูการทำงานของทรานซิสเตอร์แบบ NPN และแบบ PNP ประกอบ) Tr1 ก็จะมีกระแสไฟไหลจากขั้ว E ไปขั้ว C เข้าขั้ว B ของ Tr2 ลงกราวด์ทางขั้ว E จึงทำไห้กระแสไฟในขดลวดปฐมภูมิของคอยล์จุดระเบิดที่รออยู่ที่ขั้ว C ของ Tr2 สามารถไหลลงกราวด์ทางขั้ว E ของ Tr2 ได้ ทำให้คอยล์จุดระเบิดเกิดสนามแม่เหล็กดังรูปที่ 5.45
รูปที่ 5.45 วงจรไฟจุดระเบิดกึ่งทรานซิสเตอร์ขณะหน้าทองขาวปิด
และเมื่อถึงจังหวะที่หน้าทองขาวแยกออกจากกันก็จะทำให้ Tr1 ถูกตัดวงจร Tr2 ก็จะถูกตัดวงจรด้วยเช่นกัน สนามแม่เหล็กในคอยล์จุดระเบิดก็ยุบตัวเกิดการเหนี่ยวนำตัวเองและการเหนี่ยวนำร่วมได้ แรงเคลื่อนไฟแรงสูงที่ขั้วไฟแรงสูง การเหนี่ยวนำตัวเองของขดลวดปฐมภูมิเกิดแรงเคลื่อนไฟถึง 500 โวลต์ ไม่สามารถที่จะไหลผ่าน Tr1, Tr2 และหน้าทองขาวได้ จากวงจรจุดระเบิดแบบกึ่งทรานซิสเตอร์ จะเห็นว่า หน้าทองขาวได้ต่อกับขั้ว B ของ Tr1 ซึ่งคุณสมบัติของขั้ว B คือให้กระแสไฟไหลได้เพียงเล็กน้อย หน้าทองขาวจึงมีกระแสไหลผ่านมันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อหน้าทองขาวแยกจากกันก็จะไม่มีผลใดๆ กับหน้าทองขาว เพราะหน้าทองขาวไม่เกิดการออกซิไดซ์จากประกายไฟจึงทำให้หน้าทองขาวมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา และการใช้ทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสวิตช์ตัดต่อวงจรขดลวดปฐมภูมิ ทำให้สนามแม่เหล็กในคอยล์จุดระเบิดสามารถยุบตัวได้อย่างทันทีทันใด แรงเคลื่อนไฟแรงสูงที่ขั้วไฟแรงสูงจึงมีมากกว่า 20,000 โวลต์ และมากกว่าระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา ประสิทธิภาพในการจุดระเบิดจึงสูงมากดังรูปที่ 5.46
หมายเหตุ เมื่อกระแสไฟที่ไหลผ่านหน้าทองขาวมีจำนวนน้อยขณะต่อวงจรและตัดวงจร ฉะนั้น คอนเดนเซอร์จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในระบบจุดระเบิดแบบกึ่งทรานซิสเตอร์
รูปที่ 5.46 วงจรไฟจุดระเบิดกึ่งทรานซิสเตอร์ขณะหน้าทองขาวเปิด
2. ระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์ล้วน
ระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์ล้วน (all transistor ignition system) นี้ที่จานจ่ายจะไม่มีทองขาวและคอนเดนเซอร์ แต่จะใช้เครื่องกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้าออกมากำหนดจังหวะการจุดระเบิด แต่กลไกควบคุมการจุดระเบิดล่วงหน้าแบบสุญญากาศ แบบกลไก และอื่นๆ ยังคงใช้เหมือนกับระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา ในระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์ล้วนจะประกอบด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณ ชุดช่วยจุดระเบิด และคอยล์จุดระเบิดดังรูปที่ 5.47
2. ระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์ล้วน
ระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์ล้วน (all transistor ignition system) นี้ที่จานจ่ายจะไม่มีทองขาวและคอนเดนเซอร์ แต่จะใช้เครื่องกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้าออกมากำหนดจังหวะการจุดระเบิด แต่กลไกควบคุมการจุดระเบิดล่วงหน้าแบบสุญญากาศ แบบกลไก และอื่นๆ ยังคงใช้เหมือนกับระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา ในระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์ล้วนจะประกอบด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณ ชุดช่วยจุดระเบิด และคอยล์จุดระเบิดดังรูปที่ 5.47
รูปที่ 5.47 วงจรไฟระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์ล้วน
ส่วนประกอบของวงจรไฟระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์ล้วนมีดังต่อไปนี้
1. เครื่องกำเนิดสัญญาณ (signal generator) ทำหน้าที่เหมือนกับสวิตช์ให้ทรานซิสเตอร์กำลังในชุดช่วยจุดระเบิด ซึ่งจะกำหนดการไหลของกระแสไฟในขดลวดปฐมภูมิของคอยล์จุดระเบิดที่จังหวะ การจุดระเบิดที่ถูกต้อง เครื่องกำเนิดสัญญาณนี้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
เครื่องกำเนิดสัญญาณจะประกอบไปด้วยแม่เหล็ก ขดลวดกำเนิดสัญญาณ และโรเตอร์กำหนดสัญญาณ โรเตอร์กำหนดสัญญาณจะมีจำนวนฟันเท่ากับกระบอกสูบของเครื่องยนต์ ดังรูปที่ 5.48
รูปที่ 5.48 ส่วนประกอบของเครื่องกำเนิดสัญญาณ
การทำงาน เส้นแรงแม่เหล็กของแม่เหล็กจะวิ่งจากโรเตอร์กำเนิดสัญญาณผ่านขดลวดกำเนิดสัญญาณ ระยะห่างระหว่างฟันของโรเตอร์กำหนดสัญญาณกับขดลวดกำเนิดสัญญาณจะมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งจะทำให้ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กผ่านขดลวดกำเนิดสัญญาณเปลี่ยนแปลงไปได้ การเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้นในขดลวดกำเนิดสัญญาณ
เมื่อฟันของโรเตอร์กำหนดสัญญาณอยู่ในตำแหน่ง A ระยะห่างระหว่างฟันของโรเตอร์กำหนดสัญญาณกับขดลวดกำเนิดสัญญาณจะมาก ดังนั้นความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กจะเกิดขึ้นน้อย การ เปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็กจะเป็น 0 จึงไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเกิดขึ้น และเมื่อโรเตอร์กำหนดสัญญาณหมุนต่อไปทำให้ระยะห่างระหว่างฟันของโรเตอร์กำหนดสัญญาณกับขดลวดกำเนิดสัญญาณลดน้อยลงและความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กก็จะเพิ่มขึ้นดังรูปที่ 5.49 (ก) และรูปที่ 5.50
ที่ตำแหน่ง B การเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็กที่จุดนี้จะมากที่สุดและแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะเกิดขึ้นมากที่สุดดังรูปที่ 5.49 (ข) และรูปที่ 5.50
ระหว่างตำแหน่ง B ไปตำแหน่ง C การเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็กจะลดลงและการเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าก็จะลดลงด้วยจนกระทั่งถึง 0 ตำแหน่งขั้วไฟของการเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะไหลกลับทาง เมื่อฟันของโรเตอร์หมุนเข้าใกล้ขดลวดกำเนิดสัญญาณดังในรูปที่ 5.49 (ค) และรูปที่ 5.50 (เมื่อระยะห่างลดลงเส้นแรงแม่เหล็กจะเพิ่มขึ้น) และเมื่อฟันของโรเตอร์กำหนดสัญญาณหมุนผ่านไปจากขดลวดกำเนิด สัญญาณดังรูปที่ 5.49 (ง) และรูปที่ 5.50 (เมื่อระยะห่างเพิ่มขึ้นเส้นแรงแม่เหล็กจะลดลง) เกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็ก ดังนั้นจะเกิดแรงเคลื่อนไฟขึ้นแต่กลับทิศทางเกิดเป็นกระแสไฟสลับขึ้น
เพราะว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะเกิดขึ้นที่การเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็กต่อหนึ่งหน่วยเวลาที่เพิ่มขึ้น ฉะนั้นแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อความเร็วเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น
รูปที่ 5.50 การเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็กในขดลวดกำเนิดสัญญาณและการเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า
หมายเหตุ แรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงสุดจะไม่เกิดขึ้นเมื่อเส้นแรงแม่เหล็กเข้มมาก (ตำแหน่ง A และ C) แต่จะเกิดขึ้นมากที่สุดเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็ก (ตำแหน่ง B และ D) แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ก็จะถูกนำไปขยายในวงจรทรานซิสเตอร์และตัดกระแสไฟในขดลวดปฐมภูมิของคอยล์จุดระเบิด
2. ชุดช่วยจุดระเบิด (igniter) จะประกอบด้วยตัวตรวจจับสัญญาณซึ่งตรวจจับสัญญาณ แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดจากชุดกำเนิดสัญญาณ ภาคขยายสัญญาณ และทรานซิสเตอร์กำลัง ซึ่งทำให้กระแสไฟ ในขดลวดปฐมภูมิของคอยล์จุดระเบิดเกิดการเหนี่ยวนำให้สอดคล้องกับภาคขยายสัญญาณ มุมดแวลถูกควบคุมเพื่อการตรวจแก้สัญญาณไฟปฐมภูมิให้สอดคล้องกับความเร็วของเครื่องยนต์ที่เพิ่มขึ้นโดยถูกรวมเข้าไปในชุดช่วยจุดระเบิด ชุดช่วยจุดระเบิดบางแบบจะจัดตั้งวงจรควบคุมกระแสไฟสำหรับควบคุมกระแส ไฟในขดลวดปฐมภูมิสูงสุดไว้ด้วยดังรูปที่ 5.51
รูปที่ 5.51 วงจรภายในชุดช่วยจุดระเบิด
การทำงาน มีดังนี้
-ขณะเครื่องยนต์ยังไม่หมุน เมื่อเปิดสวิตช์กุญแจจุดระเบิด แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่จุด P จะถูกรักษาไว้ให้ตํ่ากว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขา B ของทรานซิสเตอร์ที่ทรานซิสเตอร์ต้องการในการทำงาน ซึ่งทำให้ ทรานซิสเตอร์ไม่ทำงาน โดยการต่อ R, และ R2 ไว้ในวงจร เป็นผลให้ทรานซิสเตอร์ไม่ทำงานขณะที่เครื่องยนต์ยังไม่หมุน ดังนั้นจึงไม่มีกระแสไฟปฐมภูมิไหลในคอยล์จุดระเบิดดังรูปที่ 5.52
รูปที่ 5.52 ทรานซิสเตอร์ไม่ทำงานขณะเครื่องยนต์ยังไม่หมุน
-เมื่อเครื่องยนต์ติด (แรงเคลื่อนไฟบวก (+) ถูกผลิตขึ้นในขดลวดกำเนิดสัญญาณ) เมื่อเครื่องยนต์หมุนโรเตอร์กำหนดสัญญาณของจานจ่ายจะหมุนผลิตแรงเคลื่อนไฟกระแสสลับขึ้นในขดลวดกำเนิดสัญญาณ ถ้าแรงเคลื่อนไฟบวก (+) ถูกผลิตขึ้นที่จุด P จะได้รับแรงเคลื่อนไฟเพิ่มขึ้นจากแบตเตอรี่ และจุด Q ก็จะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่ขา B ของทรานซิสเตอร์ทำงาน ดังนั้นทรานซิสเตอร์ก็จะต่อวงจร เป็นผลให้กระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดปฐมภูมิของคอยล์จุดระเบิดผ่านทรานซิสเตอร์จากขา C ไปขา E ดังรูปที่ 5.53 และรปที่ 5.54
รูปที่ 5.53 ทรานซิสเตอร์ทำงานเมื่อแรงเคลื่อนไฟบวกถูกผลิตขึ้น
-เมื่อเครื่องยนต์ติด (แรงเคลื่อนไฟลบ (-) ถูกผลิตขึ้นในขดลวดกำเนิดสัญญาณ) เมื่อแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับผลิตไฟคลื่นลบในขดลวดกำเนิดสัญญาณ แรงเคลื่อนไฟนี้จะไปเพิ่มที่จุด P ดังนั้น แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่จุด Q จะลดลงจนถึงจุดที่ตํ่ากว่าแรงเคลื่อนไฟการทำงานของทรานซิสเตอร์ ทรานซิสเตอร์ ก็จะหยุดทำงาน เป็นผลให้กระแสไฟในขดลวดปฐมภูมิถูกตัดวงจร และแรงเคลื่อนไฟแรงสูงก็จะถูกเหนี่ยวนำ ในขดลวดทุติยภูมิดังรูปที่ 5.55 และรูปที่ 5.56
รูปที่ 5.56 แสดงแรงเคลื่อนไฟลบที่ถูกผลิตขึ้นในขดลวดกำเนิดสัญญาณ
ในระบบจุดระเบิดทรานซิสเตอร์หลายๆ แบบ เมื่อเปิดสวิตช์กุญแจจุดระเบิดและเครื่องยนต์ยังไม่หมุนทำงาน ชุดช่วยจุดระเบิดจะให้ตัวทรานซิสเตอร์ทำงาน กระแสไฟฟ้าจึงสามารถไหลผ่านขดลวด ปฐมภูมิในคอยล์จุดระเบิดได้ และเมื่อเครื่องยนต์หมุนทำงาน ชุดกำเนิดสัญญาณการจุดระเบิดจะกำเนิดแรงเคลื่อนไฟลบ (-) ออกมา ทำให้กระแสไฟในขดลวดปฐมภูมิถูกตัดวงจร จึงเกิดแรงเคลื่อนไฟแรงสูง ที่ขดลวดทุติยภูมิดังรูปที่ 5.57 (ก) และ (ข)
รูปที่ 5.57
3. การควบคุมมุมดแวล (dwell angle control) เมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น ทำให้ระยะเวลาที่กระแสไฟไหลผ่านขดลวดปฐมภูมิในคอยล์จุดระเบิดสั้นลง ทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าจากการ เหนี่ยวนำในขดลวดทุติยภูมิลดลง การควบคุมมุมดแวลแบบอิเล็กทรอนิกส์จะควบคุมระยะเวลาที่กระแสไฟ ไหลผ่านขดลวดปฐมภูมิในคอยล์จุดระเบิดให้สอดคล้องกับความเร็วรอบของเพลาจานจ่าย (คือมุมดแวล)
ที่ความเร็วรอบตํ่า มุมดแวลจะลดลงเพื่อป้องกันกระแสไฟที่ไหลในวงจรปฐมภูมิไม่ให้ไหลมากเกินไปและจะให้กระแสไฟไหลเพิ่มขึ้นเมื่อความเร็วรอบเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟลดลงดังรูปที่ 5.58 และรูปที่ 5.59
รูปที่ 5.59 กราฟแสดงคุณสมบัติของการควบคุมมุมดแวล
การควบคุมมุมดแวลจะมีผลโดยการควบคุมที่วงจรหรือการควบคุมรูปคลื่นที่โรเตอร์กำหนดสัญญาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของชุดช่วยจุดระเบิด ในการควบคุมวงจร มุมดแวลจะเพิ่มวงจรเข้าไปในชุดช่วยจุดระเบิดให้ทรานซิสเตอร์กำลังทำงานที่แรงเคลื่อนไฟตํ่าๆ โดยการเพิ่มการเหนี่ยวนำแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดสัญญาณให้เกิดขึ้นมากขึ้น เมื่อความเร็วของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น ดังนั้นทรานซิสเตอร์กำลังจะทำงานนานขึ้น เมื่อความเร็วของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น
ในการควบคุมรูปคลื่นโรเตอร์กำหนดสัญญาณจะเปลี่ยนไปใช้แบบฟันไม่แหลมคมมาก เพื่อให้จังหวะการจุดระเบิดกว้างนานจนกระทั่งถึงจุดที่ทรานซิสเตอร์กำลังทำงานได้แรงเคลื่อนไฟแรงสูงที่สอดคล้องกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ซึ่งชุดกำหนดสัญญาณชนิดนี้ทรานซิสเตอร์จะทำงานยาวนานเมื่อ ความเร็วรอบของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นดังรูปที่ 5.60
รูปที่ 5.60 ภาพตัดแสดงโรเตอร์กำหนดสัญญาณแบบธรรมดาและแบบควบคุมมุมดแวล
4. วงจรควบคุมกระแสไฟฟ้า (current limiting control) วงจรควบคุมกระแสไฟในชุดช่วยจุดระเบิดจะป้องกันการไหลเพิ่มขึ้นของกระแสไฟในขดลวดปฐมภูมิ และรักษาให้กระแสไฟในขดลวดปฐมภูมิไหลคงที่ตลอดเวลาจากความเร็วรอบตํ่าถึงความเร็วรอบสูง และให้ได้แรงเคลื่อนไฟแรงสูงแน่นอนด้วย
ซึ่งวงจรควบคุมกระแสไฟฟ้าจะลดความต้านทานในคอยล์จุดระเบิดและให้กระแสไฟไหลไปในคอยล์จุดระเบิดอย่างเหมาะสม ระบบนี้จะเพิ่มกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าไปในคอยล์จุดระเบิด ดังนั้นเมื่อใช้วงจรควบคุมกระแสไฟฟ้าในชุดช่วยจุดระเบิดจะเป็นสาเหตุที่ทำให้คอยล์จุดระเบิดหรือทรานซิสเตอร์กำลังเสียได้ จากเหตุผลอันนี้หลังจากกระแสไฟปฐมภูมิไหลไปถึงค่าที่ได้กำหนดไว้มันจะถูกควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าโดยชุดช่วยจุดระเปิด ดังนั้นกระแสไฟฟ้าจำนวนมากจะไม่สามารถไหลเข้าไปในคอยล์จุดระเบิดได้ ซึ่งวงจรควบคุมกระแสไฟฟ้าจะควบคุมกระแสไฟฟ้าไว้คงที่ ดังนั้นตัวความต้านทานภายนอกจึงไม่ต้องใช้กับคอยล์จุดระเบิดดังรูปที่ 5.61
รูปที่ 5.61 กราฟแสดงการควบคุมกระแสไฟฟ้าในคอยล์จุดระเบิด
หมายเหตุ โครงสร้างของชุดช่วยจุดระเบิดจะต้องสัมพันธ์กับคุณสมบัติเฉพาะตัวของคอยล์จุดระเบิด ถ้าหน้าที่และโครงสร้างของทั้งสองชุดนี้แตกต่างกันแล้วมาใช้ร่วมกันจะทำให้ชุดช่วยจุดระเบิดหรือ
คอยล์จุดระเบิดอาจจะเสียหายได้ ดังนั้นให้ใช้ให้ถูกต้องกับระบบที่ได้ออกแบบมาสำหรับรถยนต์คันนั้นๆ
5. อุปกรณ์จุดระเบิดแบบรวม (integrated ignition assembly) เป็นอุปกรณ์จุดระเบิดที่ชุดช่วยจุดระเบิดและคอยล์จุดระเบิดรวมเข้าด้วยกันในชุดจานจ่าย ซึ่งมีข้อดีคือ
-มีขนาดเล็กและนํ้าหนักเบา
-ไม่มีปัญหาจากข้อต่อสายไฟแตกหักหรือขาดวงจร จึงมีความทนทาน
-ป้องกันนํ้าและความชื้นได้ดี
-ไม่เสียง่ายเนื่องจากการรวมกันเป็นชุดและมีการป้องกันการกระแทกอย่างดี รูปที่ 5.62 รูปที่ 5.63 และรูปที่ 5.64 แสดงอุปกรณ์จุดระเบิดแบบรวม
รูปที่ 5.64 ภาพด้านบนแสดงการวางอุปกรณ์จุดระเบิดแบบรวม
3. ระบบจุดระเบิดแบบ CDI
จากระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา แบบกึ่งทรานซิสเตอร์ และแบบทรานซิสเตอร์ล้วน เมื่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าไปในขดลวดปฐมภูมิของคอยล์จุดระเบิดถูกตัดวงจร จะเกิดการเหนี่ยวนำตัวเองในขดลวดปฐมภูมิทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า 300 ถึง 500 โวลต์ขึ้น ในระบบจุดระเบิดแบบ CDI จึงได้ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวเก็บประจุไฟ 400 โวลต์ เพื่อคายประจุให้แก่ขดลวดปฐมภูมิของคอยล์จุดระเบิดในจังหวะที่จะจุด ระเบิด
ระบบจุดระเบิดแบบ CDI จะประกอบด้วยชุดกำหนดสัญญาณ ขดลวดกำเนิดสัญญาณ และชุดขยายสัญญาณ ชุดแปลงไฟกระแสไฟตรงจากแรงเคลื่อนไฟตํ่าเป็นแรงเคลื่อนไฟสูง (DC-DC converter) และตัวไทริสเตอร์ (SCR)
การทำงาน เมื่อเปิดสวิตช์กุญแจจุดระเบิดชุด DC-DC converter จะผลิตแรงเคลื่อนไฟ DC 12 โวลต์ แปลงเป็น AC 12 โวลต์แล้วเพิ่มเป็น AC 400 โวลต์ แล้วแปลงเป็น DC 400 โวลต์ ส่งเข้าไปเก็บในคอนเดนเซอร์ เมื่อจานจ่ายหมุนชุดกำหนดสัญญาณจะหมุนตัดกับขดลวดกำเนิดสัญญาณ จะได้แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่มีแรงเคลื่อนไฟตํ่ามาก จึงถูกนำไปขยายสัญญาณให้แรงขึ้นด้วยเครื่องขยายสัญญาณและไปกระตุ้นตัวไทริสเตอร์ให้ทำงาน ทำให้ตัวไทริสเตอร์เปิดวงจร คอนเดนเซอร์ซึ่งเก็บประจุไฟแรงเคลื่อนไฟ 400 โวลต์ ก็จะคายประจุออกผ่านขดลวดปฐมภูมิของคอยล์จุดระเบิดผ่านตัวไทริสเตอร์ลงกราวด์แล้วหมดแรงเคลื่อนไฟฟ้า เป็นการตัดวงจรปฐมภูมิของคอยล์จุดระเบิด ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟแรงสูงที่ขดลวดทุติยภูมิได้ดังรูปที่ 5.65
รูปที่ 5.65 วงจรไฟระบบจุดระเบิดแบบ CDI
ข้อดีของระบบจุดระเบิดแบบ CDI คือ สามารถให้ประกายไฟได้อย่างเพียงพอ แม้ว่าหัวเทียนจะเสียหรือสกปรก ในขณะความเร็วรอบสูงแรงเคลื่อนไฟแรงสูงก็ตกเพียงเล็กน้อย และข้อเสียก็คือ ระยะเวลาการจุดประกายไฟจะสั้นกว่าแบบอื่นๆ
WWW.PCNFORKLIFT.COM