วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การวิเคราะห์การสึกหรอเครื่องยนต์ของรถโฟล์คลิฟท์และหลักซ่อมก่อนเสีย

การวิเคราะห์การสึกหรอเครื่องยนต์และหลักซ่อมก่อนเสีย
การสึกหรอของเครื่องยนต์
       การสึกหรอของเครื่องยนต์จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ การสึกหรอโดยปกติและการสึกหรอผิดปกติ

ชิ้นส่วนหลักที่อายุการใช้งานสั้น
-   กระบอกสูบ
-   แหวนสูบ
-   ซีลและแบริ่งของเทอร์โบชาร์จ
-   ลิ้น ปลอกก้านลิ้นและบ่าลิ้น
-   แบริ่งเพลาข้อเหวี่ยงและแบริ่งก้านสูบ


   การสึกหรอปกติ
      การสึกหรอปกติจะเกิดกับเครื่องยนต์ทุกเครื่องในชิ้นส่วนที่มีการเสียดสี  หรือถูไถ  หรือต้องทำงานร่วมกับส่วนอื่นๆ  โดยทั่วไปแล้วการสึกหรอจะเกิดขึ้นในทุกเครื่องยนต์ตลอดอายุการใช้งาน  อันจะรวมถึงการสึกหรอในแหวนลูกลูบ เสื้อสูบ  ลิ้น ปลอกก้านลิ้นแบริ่ง และถ้ามีเทอร์โบชาร์จ  ก็จะรวมถึงแบริ่งเทอร์โบชาร์จ                
                                                        และซีลด้วย
การสึกหรอที่ผิดปกติ
การสึกหรอที่ผิดปกติ  คือ การสึกหรอนอกเหนือจากการสึกหรอปกติจากการทำงานของเครื่องยนต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว  การสึกหรอที่ผิดปกติจะเกิดจากการบำรุงรักษาหรือการใช้เครื่องยนต์อย่างผิดวิธี เช่น การใช้น้ำมันเครื่องไม่ถูกต้อง  ทิ้งช่วงห่างระหว่างการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องนานเกินไป  หรือการอุ่นเครื่องไม่เพียงพอก่อนใช้งานเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุนำไปสู่การสึกหรอผิดปกติ  หรืออาจทำให้เครื่องยนต์ชำรุดได้ก่อนถึงเวลาอันควร
ชิ้นส่วนดังกล่าวมีราคาถูก  เมื่อเปรียบเทียบกับชิ้นส่วนอื่น และถ้ามีการเปลี่ยนอะไหล่ตรงตามเวลาที่กำหนดอย่างถูกต้องแล้ว  จะไม่ต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนอื่นที่ราคาแพง เช่น ฝาสูบ เสื้อสูบ เพลาข้อเหวี่ยง ก้านสูบ อีกเลย เพราะว่าจะไม่เกิดการเสียหายลุกลามไปถึงชิ้นส่วนนั้น
แนวคิดนี้เป็นหลักสำคัญในการวางแผนเพื่อการซ่อมบำรุงก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น ลองเปรียบเทียบดูว่าการซ่อมก่อนเสียและซ่อมหลังเสียแตกต่างกันอย่างไร  และการซ่อมก่อนเสียจะให้ประโยชน์เช่นไรบ้าง
ในตัวอย่างการซ่อมหลังเสียต่อไปนี้ ผู้ใช้เครื่องยนต์ละเลยไม่สนใจกับอาการบอกสาเหตุของเครื่องยนต์ ยังคงใช้งานต่อไป จนกระทั่งแบริ่งเพลาข้อเหวี่ยงชำรุด ซึ่งยังส่งผลให้เพลาดังกล่าวเสียหายมาก กล่าวคือ เสียหายจนไม่อาจนำไปเชื่อมพอกเพื่อนำกลับไปใช้อีกได้ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก
ส่วนในกรณีของการซ่อมก่อนเสียนั้น เครื่องยนต์จะได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องและผู้ใช้คอยตรวจดูสิ่งบอกอาการ  เช่น เมื่อพบกรวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำมันเครื่อง มีเศษโลหะแบริ่งแสดงว่ามีการสึกหรอของแบริ่ง ผู้ใช้เครื่องยนต์ต้องรีบกำหนดวันซ่อมทันที ก่อนที่จะเกิดการชำรุดลุกลาม โดยการเปลี่ยนแบริ่งซึ่งราคาไม่แพง และช่วยป้องกันความเสียหายแก่เพลาข้อเหวี่ยง  หรือส่วนอื่นๆได้ จากตัวอย่างที่ยกมา สามารถสรุปถึงผลประโยชน์ที่ผู้ใช้เครื่องยนต์จะได้รับหากเขาใช้แนวคิดของการซ่อมก่อนเสีย ดังต่อไปนี้
           1.  การซ่อมก่อนเสีย สามารถหยุดยั้งปัญหาได้ก่อนที่ความเสียหารจะลุกลามไปถึงชิ้นส่วนอื่นๆ ของเครื่องยนต์ ผู้ใช้เครื่องยนต์สามารถหลีกเหลี่ยงความเสียหายแก่เพลาข้อเหวี่ยงลูกสูบ ลิ้น เพลาราวลิ้น และส่วนอื่นๆ ได้ด้วยการซ่อมก่อนเสีย
          2.  การซ่อมก่อนเสีย  จะช่วยหลีกเลี่ยงค่าแรงงานที่ไม่จำเป็นได้ดังตัวอย่างค่าแรงงานสำหรับการยกเครื่องยนต์ออกจากตัวรถยนต์จะไม่เกิดขึ้น เพราะว่าการซ่อมสามารถการะทำได้โดยไม่ต้องยกเครื่อง ซึ่งหมายความว่าค่าแรงจะน้อยลง
             ระยะเวลาสำหรับการยกเครื่องจะแตกต่างกันไป แล้วแต่รุ่นรถ  ตำแหน่งเครื่อง ความยากง่ายในการถอดและส่วนประกอบอื่นๆ ดังนั้นการซ่อมโดยเครื่องยนต์อยู่กับที่จึงใช้เวลาค่าแรงน้อยกว่า สำหรับลูกค้าแล้ว การซ่อมก่อนเสียจะมีประโยชน์คือ มีส่วนที่จะต้องเปลี่ยนอะไหล่น้อยจุดเสียเวลาและค่าแรงจะต่ำด้วย
3.   การซ่อมก่อนเสีย ช่วยลดเวลาที่จะซ่อม เพราะการซ่อมจะใช้เวลาน้อยกว่าการซ่อมหลังเสีย โดยทั่วๆ ไปแล้ว จะกลับใช้งานได้เร็วกว่าการซ่อมหลังเสียเป็นเวลา 3 ถึง 10 วัน และบ่อยครั้ง การซ่อมจะกินเวลาน้อยลงได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว
4.       การซ่อมก่อนเสียจะป้องกันมิให้เกิดความเค้นในเนื้อวัสดุ (Stress)  และความเสียหายลุกลามติดต่อไปยังชิ้นส่วนอื่นๆ ของระบบส่งกำลัง เช่น คลัตช์ทอร์กคอนเวอร์เตอร์ และกระปุกเกียร์

การซ่อมก่อนเสีย 3 ขั้นตอน
-   บำรุงรักษาตามกำหนด (Preventive   
    Maintenance)
-   คอยสังเกตสิ่งที่บ่งบอกอาการไม่ดี
-   ดำเนินการซ่อม


5.  การซ่อมก่อนเสีย เปิดโอกาสให้ผู้ใช้รถได้วางแผนกำหนดเวลาจอดซ่อมได้ตามสะดวก
วิธีการซ่อมก่อนเสียมี 3 ขั้นตอน
1.       ให้การบำรุงรักษาตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทุกระบบอยู่ในสภาพดี
2.       คอยสังเกตสิ่งที่บอกอาการ เพื่อจะได้ทราบปัญหาแต่เนิ่นๆ ซึ่งทราบได้ เมื่อเครื่องยนต์มีอาการ เช่น กินน้ำมันเครื่องมากหรือมีควันดำมาก เป็นต้น
3.       รีบแก้ไขอาการที่พบ เพื่อป้องกันมิให้ความเสียหายลุกลามออกไป ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วยการซ่อมก่อนเสีย
              กุญแจสำคัญในการซ่อมก่อนเสีย คือ จะต้องสังเกตอาการที่แสดงว่าจะมีการสึกหรอผิดปกติของเครื่องยนต์ หากพบอาการและลงมือแก้ไขแต่เนิ่นๆ แล้ว ก็สามารถแก้ปัญหาได้อย่างง่ายดายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย อย่าละเลยเพิกเฉยกับอาการผิดปกติของเครื่องยนต์นะครับ


WWW.PCNFORKLIFT.COM