ปัญหาข้อขัดข้องของระบบไฟและสัญญาณไฟ
ระบบไฟฟ้าของรถยนต์ประกอบด้วย ระบบไฟแสงสว่างและระบบสัญญาณ ระบบประจุไฟ ระบบสตาร์ท สาเหตุต่างๆที่เกิดปัญหาในระบบ สว่นใหญ่มักเกิดจากการขาดวงจร หรือการลัดวงจร ในทางเิดินสายไฟฟ้า ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัญหาที่สามารถแสดงให้เห็นได้ในหลายๆรูปแบบ ดังนั้นเราจึงควรปฎิบัติดังนี้
* ตรวจสอบอาการที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
* ศึกษาทำความเข้าใจการทำงานและวงจรไฟฟ้าของระบบนั้นๆ เพื่อหาตำแหน่งที่ต้องการจะแก้ไขได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการทำงาน
1. ปัญหาข้อขัดข้องของระบบไฟแสงสว่างและไฟสัญญาณ
การตรวจสอบระบบควบคุมการเปิดและปิดไฟแสงสว่างรถยนต์อัตโนมัติ ถ้าเกิดปัญหาข้อขัดข้องขึ้นในระบบควบคุมการเปิดและปิดไฟแสงสว่างรถยนต์อัตโนมัติสามารถทำการตรวจสอบข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
การตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับไฟแสงสว่างอัตโนมัติ มัขั้นตอนในการปฎิบัติดังนี้
* การตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจจับไฟแสงสว่างอัตโนมัติในตำแหน่ง AUTO ON
- บิคสวิตช็จุดระเบิดไปตำแหน่ง ON
- ใช้มือป้องปิดส่วนบนของอุปกรณ์ตรวจจับไฟแสงสว่างทีละน้อย
- ไฟใหญ่และไฟหรี่จะต้องติดสว่างขึ้น
* การตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจจับไฟแสงสว่างอัตโนมัติในตำแหน่ง AUTO OFF
- เปิดมือที่ป้องปิดอุปกรณ์ตรวจจับไฟแสงสว่างอัตโนมัติออก
- ไฟใหญ่จะต้องดับในทันที
* การตรวจสอบไฟแสงสว่างในสภาวะ OFF
- บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON
- ปิดอุปกรณ์ตรวจจับเมื่อบิดสวิตช์ไฟแสงสว่างจากตำแหน่ง AUTO ไปที่ตำแหน่ง ON
- ไฟแสงสว่างจะดับเมื่อสวิตช์ไฟแสงสว่างอยู่ในตำแหน่ง OFF และบริเวณโดยรอบมีแสงสว่าง หรือประตูรถด้านคนขับถูกเปิด และสวิตช์จุดระเบิดอยู่ในตำแหน่ง OFF
* การตรวจสอบไฟแสงสว่างในสภาวะ ON
- เปิดประตูด้านคนขับและบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง OFF
- บิดสวิตช์ไฟแสงสว่างไปในตำแหน่ง AUTO เปิดประตูออกจากตัวรถ และปิดอุปกรณ์ตรวจจับไฟแสงสว่างอัตโนมัติ ไฟใหญ่และไฟหรี่จะติดสว่างเมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON
การปรับตั้งอุปกรณ์ตรวจจับไฟแสงสว่างอัตโนมัติ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
การที่จะปรับให้ไฟใหญ่และไฟหรี่ติดสว่างได้เร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับการปรับปุ่มตั้งความไวของแสงวสว่างที่อุปกรณ์ตรวจจับไฟแสงสว่างอัตโนมัติ ซึ่งก็จะกระทำได้เมื่อต้องการให้ไฟใหญ่และไฟหรี่ติดเร็วขึ้น ก็เพียงแต่หมุนปุ่มปรับตั้งความไวของแสงไปตามเข็มนาฬิกา หรือถ้าต้องการให้ไฟใหญ่และไฟหรี่ติดสว่างช้าลง ก็เพียงแตหมุนปุ่มปรับตั้งความไวทวนเข็มนาฬิกา
* การตรวจสอบวงจรไฟฟ้าของอุปกรณ์ตรวจจับไฟแสงสว่างอัตโนมัติ สามารถปฎิบัติได้โดยการปลดขั้วต่อสายไฟที่ต่อเข้าอุปกรณ์ และใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดขั้วต่อด้านสายไฟ โดยวิธีการตรวจสอบดังนี้
ตรวจสอบขั้ว สภาวะ ค่ากำหนด
3 - กราวด์ สวิตช์ประตูอยู่ในตำแหน่ง OFF ไม่ต่อเนื่อง
3 - กราวด์ สวิตช์ประตูอยู่ในตำแหน่ง ON ต่ิอเนื่อง
5 - กราวด์ สวิตช์ไฟแสงสว่างอยู่ในตำแหน่ง OFF ไม่ต่อเนื่อง
TAIL และ AUTO
5 - กราวด์ สวิตช์ไฟแสงสว่างอยู่ในตำแหน่ง HEAD ต่อเนื่อง
6 - กราวด์ สวิตช์ไฟแสงสว่างอยู่ในตำแหน่ง OFF ไม่ต่อเนื่อง
TAIL หรือ HEAD
6 - กราวด์ สวิตช์ไฟแสงสว่างอยู่ในตำแหน่ง AUTO ต่อเนื่อง
7 - กราวด์ สวิตช์ไฟแสงสว่างอยู่ในตำแหน่ง OFF ไม่ต่อเนื่อง
HEAD หรือ AUTO
7 - กราวด์ สวิตช์ไฟแสงสว่างอยู่ในตำแหน่ง TAIL ต่อเนื่อง
1 - กราวด์ สวิตช์จุดระเบิดอยู่ในตำแหน่ง LOCK หรือ ACC ไม่มีแรงเคลื่อน
1 - กราวด์ สวิตช์จุดระเบิดอยู่ในตำแหน่ง ON แรงเคลื่อนแบตเตอรี่
2 - กราวด์ คงที่ แรงเคลื่อนแบตเตอรี่
ถ้าตรวจสอบวงจรไฟฟ้าไม่ได้ตามค่าที่กำหนดไว้ ให้ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าที่ต่อเข้าอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบอีกครั้ง
การตรวจสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าภายในวงจรของระบบเปิดและปิดไฟแสงสว่างอัตโนมัติ สามารถปฎิบัติได้โดยการต่อขั้วสายไฟเข้ากับอุปกรณ์ตรวจจับแสงสว่างอัตโนมัติ และใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อน ไฟฟ้าทางด้านหลังของขั้วต่อสายไฟ จากนั้นให้บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON และบิดสวิตช์ไฟแสงสว่างไปในตำแหน่ง AUTO บริเวณโดยรอบตัวรถจะสว่าง
การทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรของระบบเปิดและปิดไฟแสงสว่างอัตโนมัติ
ตรวจสอบขั้ว สภาวะ ค่ากำหนด
1 - กราวด์ สวิตช์จุดระเบิดอยู่ในตำแหน่ง ON 10 V หรือมากกว่า
1 - กราวด์ สวิตช์จุดระเบิดอยู่ในตำแหน่ง OFF 1 V หรือน้อยกว่า
3 - กราวด์ สวิตช์ประตูรถอยู่ในตำแหน่ง ON 1 V หรือน้อยกว่า
3 - กราวด์ สวิตช์ประตูรถอยู่ในตำแหน่ง OFF 9 V หรือมากกว่า
5 - กราวด์ บริเวณโดยรอบตัวรถมืด 1.8 V หรือน้อยกว่า
5 - กราวด์ สวิตช์ไฟสูง- ต่ำอยู่ในตำแหน่ง FLASH 0.3 V หรือน้อยกว่า
6 - กราวด์ บริเวณโดยรอบตัวรถมืด 1.5 V หรือน้อยกว่า
ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าภายในวงจรไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้เปลี่ยนอุปกรณ์จับแสงสว่างอัตโนมัติใหม่ หรือให้ตรวจวงจรที่ต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบ
การตรวจสอบสวิตช์ไฟแสงสว่าง สามารถทำการตรวจวัดได้โดยการใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่อง ซึ่งสามารถปฎิบัติได้ดังนี้
การตรวจสอบการต่อเนื่องของสวิตช์ไฟแสงสว่าง
ตำแหน่งสวิตช์ ตรวจสอบขั้ว ค่ากำหนด
OFF - ไม่ต่อเนื่อง
TAIL 10 - 15 ต่อเนื่อง
HEAD 10 - 14 - 15 ต่อเนื่อง
AUTO 10 - 13 ต่อเนื่อง
การตรวจสอบการต่อเนื่องของสวิตช์ไฟสูง - ต่ำ
ตำแหน่งสวิตช์ ตรวจสอบขั้ว ค่ากำหนด
ไฟกะพริบ 1 - 2 - 9 ต่อเนื่อง
ไฟต่ำ 9 - 10 ต่อเนื่อง
ไฟสูง 2 - 9 ต่อเนื่อง
การตรวจสอบการต่อเนื่องของสวิตช์ไฟตัดหมอก
ตำแหน่งสวิตช์ ตรวจสอบขั้ว ค่ากำหนด
ปิด - ไม่ต่อเนื่อง
เปิด 12 - 16 ต่อเนื่อง
จากการทำงานที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ความถี่ที่เกิดจากการสั่นของแผ่นไดอะแฟรมอย่างต่อเนื่องจะทำให้เิกิดเสียงขึ้นที่กรวยเสียงเป็นสาเหตุให้เกิดพลังคลื่นเสียงแผ่กระขายพุ่งออกไปในอากาศ
2. การตรวจสอบระบบไฟเลี้ยวและไฟเตือนฉุกเฉิน การตรวจสอบระบบไฟเลี้ยวฉุกเฉิน เป็นการตรวจวัดเมื่อระบบต่างๆเกิดการขัดข้องขึ้นในระบบ มีขั้นตอนในการตรวจหาข้อบกพร่องดังนี้
* การตรวจสอบสวิตช์ไฟเลี้ยวสามารถตรวจวัดได้โดยการใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่อง ดังนี้
ตำแหน่งสวิตช์ ตรวจสอบขั้ว ค่ากำหนด
เลี้ยวซ้าย 1 - 2 ต่อเนื่อง
ตรงกลาง - ไม่ต่อเนื่อง
เลี้ยวขวา 2 - 3 ต่อเนื่อง
* การตรวจสอบสวิตช์ไฟฉุกเฉิน สามารถทำการตรวจวัดการต่อเนื่องได้โดยใช้โอห์มมิเตอร์ ถ้าตรวจวัดไม่ต่อเนื่องตามค่าที่กำหนดไว้ ให้เปลี่ยนสวิตช์ไฟฉุกเฉินใหม่
สภาวะ ตรวจสอบขั้ว ค่ากำหนด
ปิด 5 - 7 ต่อเนื่อง
เปิด 5 - 6 ต่อเนื่อง
1 - 2 - 3 - 4
วงจรเรืองแสง 8 - 9 ต่อเนื่อง
* การตรวจสอบแฟลชเชอร์ไฟเลี้ยว การตรวจสอบแฟลชเชอร์ไฟเลี้ยวของรถยนต์สามารถทำการตรวจสอบได้ตามขั้นตอนดังนี้
- ต่อสายไฟบวก (+ ) จากแบตเตอรี่เข้าขั้วที่ 2 ของแฟลชเชอร์ และต่อสายไฟลบ ( - ) จากแบตเตอรี่เข้าขั้วที่ 3 ของแฟลชเชอร์
- นำหลอดไฟเลี้ยวจำนวน 2 หลอด ต่อขนานกันเข้าขั้วที่ 1 และ 3 ตามลำดับ จากนั้นให้ตรวจสอบการกะพริบของหลอดไฟเลี้ยวทั้งสอง ( หลอดไฟเลี้ยวจะกะพริบ 60 หรือ 120 ครั้ง ต่อนาที ) ถ้าหลอดใดหลอดหนึ่งเกิดเปิดวงจรขึ้น จะทำให้หลอดไฟที่เหลือกะพริบ 140 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่า ถ้าการทำงานของแฟลชเชอร์ไม่ได้ตามค่าที่กำหนดไว้ ให้เปลี่ยนแปลงแฟลชเชอร์ใหม่
3. การเปลี่ยนหลอดไฟแบบแฮโลเจน เมื่อใช้หลอดไฟแบบแฮโลเจน จะมีความเข้มของลำแสงและความร้อนสูงกว่าหลอดไฟแบบธรรมดา ดังนั้นถ้ามีคราบน้ำมันหรือความเค็มจากเหงื่อถูกบริเวณหลอดไฟ มันจะทำให้หลอดไฟร้อนจัดและแตกในที่สุด ด้วยเหตุนี้เมื่อเปลี่ยนหลอดไฟแบบแฮโลเจนทุกครั้ง จึงควรใช้มือจับบริเวณฐานของหลอดที่เป็นโลหะเท่านั้นเพื่อป้องกันนิ้วมือสัมผัสกับตัวหลอด
ดังนั้นในการเปลี่ยนหลอดไฟแบบแฮโลเจนจึงมีขั้นตอนในการเปลียนดังนี้
* เมื่อเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ควรใช้หลอดที่เป็นชนิดเดียวกัน
* ให้จัดเดือยให้ตรงกับร่องของโคมไฟและล็อคหลอดด้วยสปริง
4. การปรับตั้งโคมไฟหน้ารถยนต์ เพื่อให้ลำแสงของไฟหน้ารถยนต์มีประสิทธิภาพมากที่สุด การปรับโคมไฟหน้าจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นถ้าปรับโคมไฟให้จุดของลำแสงที่ส่องไฟบนถนนมากเกินไป จะเป็นผลให้ผู้ขับขี่รถที่สวนทางมาเกิดอาการตาพร่า ในทางตรงกันข้าม ถ้าปรับโคมไฟหน้าให้มีจุดตกของลำแสงไฟมากเกินไป ระยะการมองเห็นของผู้ขับขี่ก็จะลดน้อยลงจึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญของผู้ขับขี่รถยนต์
การจัดตั้งโคมไฟหน้ารถยนต์ให้สูงขึ้นหรือต่ำลงทำได้โดยการขันหรือคลายสกรูปรับในแนวดิ่ง และถ้าปรับตั้งให้โคมไฟหน้าเอียงไปทางซ้ายหรือทางขวา ให้ขันหรือคลายสกรูปรับในแนวนอน
WWW.PCNFORKLIFT.COM
ให้บริการเกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า น้ำมัน และแก๊ส ในด้านการขาย เช่า ซ่อม อะไหล่ และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร โดยทางบริษัทขอแจ้งรายละเอียดในเรื่องสินค้าและบริการดังนี้ -บริการซ่อมบำรุงรถโฟล์คลิฟท์(forklift repair)ทั้งระบบไฟฟ้า น้ำมัน แก๊ส -บริการตรวจเช็คและบำรุงรักษารถโฟล์คลิฟท์(P.M.forklift)รายเดือนและรายปีฯลฯ Email:pcnforklift@hotmail.com, Tel: 086-5182510, ID:LINE pcnforklift06 หรือ @pcnforklift