วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

ระบบการทำงานและออกแบบระบบโครงสร้างตัวรถยก

รถยกต้องมีโครงสร้างตัวถังเหล็กที่ค่อนข้างแข็งแรง และมีความสมดุลพอที่จะรับน้ำหนักสิ่งของที่จะยกขึ้นไป ยิ่งต้องการยกน้ำหนักมากเท่าใด จะต้องมีโดครงสร้างตัวรถยกที่ใหญ่ และมีน้ำหนักตัวรถยกมากขึ้นไปตามสัดส่วน รวมทั้งอาจต้องมีขาหน้ามารองรับน้ำหนักด้วย
โครงสร้างตัวรถยกประกอบด้วยโครงรถ ชุดเสา และขารถ(ถ้ามี) ซึ่งรวมถึงล้อหน้าและล้อหลังที่ใช้ประคองตัวรถยก(ถ้าเป็นรถเล็กไม่จำเป็นต้องมีล้อประคอง แต่ใช้ล้อขับเคลื่อนทำหน้าที่รับน้ำหนักแทน)
การออกแบบจะต้องคำนึงถึงสภาพของคนขับว่าเป็นแบบเดินตาม ยืนบนรถหรือนั่งขับ ถ้าเป็นรถยกแบบStraddle และ reach truck ต้องคำนึงถึงขนาดของขาที่ยื่นไปข้างหน้า ถ้าเป็นรถยกประเภท CB(counterbalance) ต้องคำนึงน้ำหนักที่จะถ่วงดุลกับสิ่งของที่จะยก ในกรณีที่ตัวรถหนักไม่พอ (ถ้าเป็นเครื่องยนต์) อาจต้องเพิ่มน้ำหนักโดยเติมก้อนเหล็กติดไว้ที่ท้ายรถยก แต่ถ้าเป็นรถคันเล็กให้ใช้การเสริมแผ่นเหล็กที่หนาเพียงพอที่จะเป็นน้ำหนักช่วยถ่วงดุลย์ได้
การออกแบบโครงสร้างจะเป็นเงื่อนไขกำหนดขนาดกว้าง x ยาว x สูง ของตัวรถยก และระยะฐานระหว่างล้อหน้ากับล้อหลัง(wheels base) ทั้งหมดนี้จะมีผลต่อการใช้รัศมีวงเลี้ยวของตัวรถ ความคล่องตัวในการทำงาน การกลับลำเพื่อยกสินค้าขึ้นชั้น และการทรงตัวของตัวรถ
ยิ่งไปกว่านั้น โครงสร้างดังกล่าวยังเป็นเงื่อนไขในการกำหนดน้ำหนักตัวรถโดยรวม (ไม่รวมน้ำหนักแบตเตอรี่) ซึ่งมีผลต่อการนำรถไปใช้งานในอาคารที่มีชั้น 2,3 และชั้นลอย โดยเฉพาะการยกตัวรถขึ้นลิฟท์ ที่ต้องสามารถรับน้ำหนักของตัวรถให้ได้
สำหรับล้อที่จะนำมาใช้กับตัวรถ ถ้าน้ำหนักมาก ล้อต้องมีความสามารถที่จะรองรับน้ำหนักได้ โดยทั่วไปล้อที่ใช้กับรถยกในอาคารเป็นล้อยางตัน ล้อปลายขาจะมีขนาดเล็ก(Rollers) ล้อประคองกับล้อขับเคลื่อนจะมีขนาดใหญ่ (Wheels) ซึ่งอาจเป็นล้อยางตัน (cushion tire) หรือ ยางลม (pneumatic tire) ได้
สำหรับรถยก ล้อหน้าหลังใช้เหมือนกัน และนอกจากใช้ล้อยางตันแล้ว ยังนิยมใช้ล้อยางลมที่อัดสาร neoprene แทนที่อากาศ ทำให้คุณสมบัติล้อยางตันแต่รับแรงสะเทือนได้ดีกว่า และไม่มีปัญหาลมรั่ว ซึ่งจะเป็นอันตรายในขณะยกสินค้า

WWW.PCNFORKLIFT.COM