วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

การคำนวนการรับน้ำหนักของรถโฟร์คลิฟท์

หลายท่านอาจสงสัยว่าในการใช้โฟร์คลิฟท์ยกของ เราจะทราบได้อย่างไรว่าโฟร์คลิฟท์สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้  เมื่อยกไปแล้วรถจะไม่หน้่าทิ่ม เรามาดูตัวอย่างการคำนวนกันครับ
ในการคำนวนความสามารถในการยกของรถโฟร์คลิฟท์นั้นเราต้องรู้ข้อมูล 2 ส่วน คือ ในส่วนของรถโฟร์คลิฟท์ และ สิ่งของที่จะยก
ข้อมูลของวัตถุที่จะยก เราต้องทราบน้ำหนักของวัตถุ และ ระยะจากขอบข้างใดข้างหนึ่งไปยังจุดศูนย์ถ่วงของวัตถุ
สำหรับข้อมูลของรถโฟร์คลิฟท์เราสามารถดูได้จากแผ่นเพลทที่ติดอยู่ที่โฟร์คลิฟท์ได้เลยครับ ลองดูตัวอย่างในภาพข้างล่าง
คำนวนโฟร์คลิฟท์
ที่แผ่นเพลทจะบอกข้อมูลที่เราต้องใช้ ดังนี้
ประเภทของรถโฟร์คลิฟท์  เป็นแบบใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง (G / LP)
ความสามารถในการรับน้ำหนัก คือ 5000 ปอนด์ (LB)
ระยะห่างจากจุดที่รับน้ำหนักของโฟร์คลิฟท์(บริเวณหน้ารถ) ไปยังจุดศูนย์กลางในการรับน้ำหนักบรรทุก(กลางงา ที่ใช้ยก) คือ 24 นิ้ว
ความสูงในการยก คือ 173 นิ้ว
โฟร์คลิฟท์รับน้ำหนัก
จากภาพ รถโฟร์คลิฟท์กำลังยกของ หนัก 4000 ปอนด์ ซึ่งสิ่งของที่ยกมีระยะจากขอบถึงจุดศูนย์กลางที่สมดุล 18 นิ้ว
ส่วนรถโฟร์คลิฟท์ใช้ ค่าจากภาพด้านบน คือ รับน้ำหนักบรรทุกได้ 5000 ปอนด์ มีระยะจากจุดที่รับน้ำหนักของโฟร์คลิฟท์(บริเวณหน้ารถ) ไปยังจุดศูนย์กลางในการรับน้ำหนักบรรทุก(กลางงา ที่ใช้ยก) คือ 24 นิ้ว
จะคำนวนแรงที่มากระทำในการยก ที่เรียกว่าโมเมนท์ ได้ดังนี้
โมเม้นท์ ของ รถโฟร์คลิฟท์ = (24 นิ้ว x 5000 ปอนด์) = 120,000 นิ้ว-ปอนด์
โมเม้นท์ ของ วัตถุที่ยก       = (18 นิ้ว x 4000 ปอนด์) = 72,000 นิ้ว-ปอนด์
จากการคำนวนข้างต้น  พบว่ารถโฟร์คลิฟท์สามารถยกวัตถุนี้ได้อย่างปลอดภัย เพราะโมเมนท์ที่โฟล์คลิฟท์สามารถรับน้ำหนักได้ มีค่ามากกว่าโมเม้นท์ของวัตถุที่ยก
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าวัตถุที่ยกจะมีน้ำหนักเท่ากัน แต่ถ้าของที่ยกมีความกว้างมากขึ้น รถโฟร์คลิฟท์ก็อาจจะไม่สามารถที่จะทำงานได้อย่างปลอดภัย เช่น  สมมุติว่าวัตถุที่ยกมีความกว้าง 66 นิ้ว ซึ่งระยะจากขอบถึงจุดศูนย์กลางที่สมดุลก็จะเป็น 33 นิ้ว เมื่อคำนวนโมเม้นท์ออกมา ก็จะเป็น (33 นิ้ว x 4000 ปอนด์) = 132,000 นิ้ว-ปอนด์  เป็นค่ามากกว่าโมเม้นท์ที่รับได้ของโฟร์คลิฟท์
ดังนั้น พึงระลึกไว้เสมอว่า ของที่หนักเท่ากัน แต่ขนาดไม่เท่ากัน โฟร์คลิฟท์ไม่สามารถบรรทุกได้เหมือนกัน
ประเด็นถัดมาที่ควรจะให้ความสำคัญคือ เมื่อโฟร์คลิฟท์ยกงาตักขึ้นสูง จะส่งผลให้จุดรับน้ำหนักของโฟร์คลิฟท์ขยับไปด้านหน้า นั่นหมายความว่า ระยะจากจุดที่รับน้ำหนักของโฟร์คลิฟท์(บริเวณหน้ารถ) ไปยังจุดศูนย์กลางในการรับน้ำหนักบรรทุก(กลางงา ที่ใช้ยก) จะมีค่าลดน้อยลง (ตามตัวอย่างด้านบน คือ ค่าที่มีตัวเลขเท่ากับ 24 นิ้ว แต่ถ้ายกงาสูงขึ้น ค่าตรงนี้จะลดน้อยลง ความสามารถในการยกก็จะน้อยลง)
นอกจากการยกงาขึ้นสูงจะทำให้จุดศุนย์ถ่วงการรับน้ำหนักของโฟร์คลิฟท์ เปลี่ยนไปแล้ว ยังมีประเด็นอื่น เช่น
- วัตถุที่ยกเลื่อนไปที่ปลายงาของโฟล์คลิฟท์ (อาจจะวางสิ่งของไม่ดีตั้งแต่แรก หรือ สิ่งของเคลื่อนขณะยก)
- วัตถุที่ยก เอียง ไม่สมดุล
- การขับรถบนพื้นที่ลาดเอียง
- การเลี้ยว
- อื่นๆ
รับน้ำหนักโฟร์คลิฟท์
จากภาพด้านบน จะเห็นถึงจุดน้ำหนักที่สมดุลของโฟล์คลิฟท์ที่เปลี่ยนไปได้เข้าใจง่ายขึ้น

อุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยกโฟล์คลิฟท์
1. เสารถยก (Mast) คือ อุปกรณ์รางเลื่อนให้งาขึ้น-ลง โดยทั่วไปเสารถยกจะมี 2 ท่อน ซึ่งยกได้ประมาณ 3 เมตร แต่ถ้าต้องการยกได้สูประมาณ 5-6 เมตร จะต้องเปลี่ยนเสาให้สูงขึ้น หรือ ใช้เสา 3 ท่อน Full Free Mast คือ อุปกรณ์พิเศษของเสา เป็นเสาที่สามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีความจำกัด
2. กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic) โดยมาตราฐาน รถยกจะมีกระบอกไฮดรอลิคอยู่จำนวน 3 ชุด ดังนี้
2.1) กระบอกยก คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่ยกงาขึ้นลง มีสองกระบอก
2.2) กระบอกคว่ำ-หงาย คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่เอียงเสาไปหน้าและหลัง มีสองกระบอก
2.3) กระบอกบังคับเลี้ยว คือ กระบอกไอดรอลิคที่ทำหน้าที่บังคับการเลี้ยวของรถยก มีหนึ่งกระบอก
3. งารถยก (Fork) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ยกสัมภาระต่าง ๆ และงารถยกยังเป็นอุปกรณ์ที่ \”อันตราย\” ที่สุด งานของรถยกมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของสัมภาระที่จะยก
4. ล้อหน้า (Front Wheel) คือ ล้อที่มีหน้าที่ 3 ประการ ดังนี้
4.1) รับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด
4.2) ขับเคลื่อน
4.3) เบรค
ล้อของรถยกไฟฟ้าแบบยืนขับ จะมีล้ออยู่ 3 ชนิด ดังนี้
- ล้อรับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด
- ล้อขับเคลื่อน
- ล้อประคอง
5. ล้อหลัง (Rear Wheel) คือ ล้อที่ทำหน้าที่บังคับเลี้ยวเพียงอย่างเดียว
:: ทำไมเราต้องตรวจสภาพรถยก ก่อน และ หลัง การใช้งาน
1. เพื่อให้รถยกมีสภาพพร้อมใช้งาน
2. เพื่อความปลอดภัยของคนขับรถยกและผู้ร่วมงาน
3. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร

WWW.PCNFORKLIFT.COM