วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธี การ ขับ รถ โฟล์คลิฟท์ ให้ ประหยัด น้ำมัน

1. การ ออก รถ ยก ควร ทำ อย่าง นิ่มนวล เพราะ การ ออก รถ ยก อย่าง รุนแรง และ รวดเร็ว จะ ทำให้ สิ้น เปลือง น้ำมัน มาก เครื่องยนต์ และ ชิ้น ส่วน ต่างๆ ก็ สึกหรอ มาก เช่น กัน
2. หาก ต้อง รอ ประมาณ 3-4 นาที ขึ้น ไปก็ ควร ดับเครื่อง
3. มี จุด มุ่งหมาย ใน การ เดินทาง การ ใช้ รถ ยก จะ ต้อง มี แผนการ เดินทาง ว่า จะ ไป ยก ที่ไหน ทาง ไหน ใกล้ สุด
4. อย่า ใช้ ยก น้ำหนัก เกิน อัตรา การ รับ น้ำหนัก ที่ กำหนดนอกจาก จะ ทำให้ สิ้น เปลือง แล้ว ยัง เสี่ยง ต่อ อันตราย ด้วย
5. ใช้ ความเร็ว สม่ำเสมอ ไม่ ขับ ขึ้น ลง ทาง ลาด ชัน บ่อยๆ
6. ตรวจ เช็ค และ ตั้ง เครื่องยนต์ ตาม กำหนดควร ตรวจ สภาพ ของ รถ ยก ก่อน ใช้ งาน ทุก ครั้ง เพื่อ ช่วย ให้ อายุ การ ใช้ งาน นาน ขึ้น และ ช่วย ประหยัด น้ำมัน
7. ไม่ ขับ รถ ยก เร็ว การ ขับ รถ ยก เร็ว จะ ทำให้ เปลือง น้ำมัน มาก ขึ้น โดย ไม่มี ความ จำเป็นการ ใช้ ความเร็ว ตาม ที่ กำหนด จะ ประหยัด น้ำมัน ได้ 10-15 เปอร์เซ็นต์

ชั้นวางสินค้า บทความที่แล้วเราได้กล่าวถึง ขนาดและชนิดของแพลเลท กันไปในบทความนี้เราจะพูดถึงชนิดและความสูงของ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน ว่ามี ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน ชนิดอะไรบ้างและแต่ละชนิดนั้นมีความสูงเท่าไหร่
ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน หรือชั้นวางในคลังสินค้ามีหลายประเภทด้วยกัน และเป็นเงื่อนไขในการเลือกใช้ชนิดรถยก ตลอดจนขนาดรถยกที่แตกต่างกันไป
1) Selective racks หรือ pallet racks
เป็นชั้นวางหันด้วนยาวกับทางวิ่ง ทำให้รถยกสามารถเลือกที่จะนำสินค้าขึ้นชั้นได้สะดวกตลอดแนวยาวของ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน โดยปกติจะวางเป็นคู่ให้รถยกสามารถเข้าตักสินค้าได้จากทั้งสองด้าน
โดยทั่วไปการวางผัง (layout) คลังสินค้า และติดตั้ง ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน จะต้องคำนวณและวางแผนการเลือกใช้ชนิดรถยก ขนาดรถยก รวมถึงรัศมีวงเลี้ยวไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะความกว้างของทางวิ่ง (aisle) ควรมีบริเวณกว้างเพียงพอสำหรับการกลับลำของตัวรถยกได้ คือเป็น RASA ดังนั้น เมื่อต้องการซื้อรถยกเพิ่มจะต้องพิจารณา RASA ให้เพียงพอสำหรับรถยกคันใหม่ด้วย
2) Drive-in racks
เป็นชั้นวางที่มีโครงสร้างติดกันเป็นแนวยาว รถยกจะเข้าทำงานจากด้านหน้าแทนด้านแนวยาวของ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน รถยกที่เลือกใช้ต้องสามารถรอดเข้าไประหว่างเสาคู่หน้าในแต่ละช่องของ drive-in rack แล้ววิ่งเข้าไปทำงานลึกถึงภายใน ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน แล้วขับถอยกลับออกมาได้
การเลือกใช้รถยกจึงควรพิจารณาที่ขนาดความกว้างสุดของตัวรถยก ซึ่งหากตัวรถมีขนาดกว้างเกิดช่องเสาจะไม่สามารถนำมาทำงานกับ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน ชนิดนี้ ดังนั้น การเลือกชนิดและแบบของรถยกจึงต้องพิจารณาสัดส่วนขนาด(dimension) ของตัวรถเป็นสำคัญด้วย
3) Double deep racks
เ็ป็นชั้นวางที่มีผังดครงสร้างแบบเดียวกัน selective rack โดยจัดเป็น 3-4 แถวคู่ขนานกัน เพื่อช่วยให้ลดขนาดของพื้นที่ลงได้ 1 ช่องทางวิ่งในทุก 4 แถว อย่างไรก็ตาม พบว่ามีรถเพียงประเภทเดียวเท่านั้นที่ทำงานในลักษณะนี้ได้ คือ double reach truck เพราะมีชุดขากรรไกรสำหรับยื่นงาได้ 2 ชุด ทำให้ยื่นไปได้ไกลขึ้นหนึ่งเท่าตัว
4) Flow racks
เป็นชั้นวางที่จัดเรียงกันคล้าย drive-in rack แต่ flow rack มีระบบ rollers อยู่ภายใน และใช้ระดับความเอียงช่วยให้แพลเลทไหลไปอีกข้างหนึ่งตามแรงโน้มถ่วง รถยกจะทำงานอยู่ภายนอกที่ด้านหัวและท้ายของชุด racking เท่านั้น รถยกทุกชนิดจึงสามารถทำงานกับ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน ชนิดนี้ได้
5) Mobile racks
เป็นชั้นวางที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับ selective rack แต่ชุด ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน จะมีรางวางใต้พื้นเพื่อให้ชั้นวางแต่ละชุดเคลื่อนตัวไปมาด้วยแรงมอเตอร์ และสามารถเปิดเป็นช่องทางวิ่งเมื่อต้องการเข้าไปทำงานได้
6) High rise racks
เป็นชั้นวางที่มีความสุงมากระดับ 10 เมตรขึ้นไป และส่วนใหญ่มีการวางผังลักษณะเดียวกับ selective rack อย่างไรก็ตาม ช่องทางวิ่งเป็นแบบ VNA ทำให้ต้องเลือกใช้รถยกในกลุ่ม VNA เช่นกัน ได้แก่ turrent truck, swing mast truck และ hybrid truck
เราก็ทราบแล้วนะค่ะว่า ชนิดของ ชั้นวางสินค้าอุตสาหกรรมในโรงงาน มีอะไรบ้าง ในบทความหน้าเราจะมาพูดเรื่องสภาพพื้นที่สำหรับการใช้งานรถยกภายในอาคารและ นอกอาคารกันค่ะ


แพลเลทพลาสติก
ข้อดี แพลเลทพลาสติก
1.รูปร่างการขึ้นรูป และขนาดจะมีความแม่นยำ และใกล้เคียงกันทุกชิ้น
2.ไม่ดูดซับความชื้นได้ง่าย เหมือนไม้ จึงทนต่อสภาพการใช้งานในสภาวะต่าง ๆ ได้ดีกว่า
3.กระบวนการผลิตจะทำได้ง่ายกว่ารูปแบบอื่น ๆ หากต้องการทำตามรูปแบบเดิมที่มีอยู่ ดังนั้นสามารถจัดหาทดแทนได้เร็วกว่า ไม่ต้องมีการเก็บสต็อกเยอะมาก และระยะเวลาการสั่งซื้อทดแทนสั้นกว่า
4.ไม่มีส่วนแหลมคม หรือตะปู ที่จะแทงทะลุสิ่งของที่จะวาง หรือชั้นวาง และพื้นจะไม่ถูกทำลาย เพราะสาเหตุดังกล่าวได้
5.สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีความสกปรกหมักหมม เหมือนที่ทำจากวัสดุอื่น จึงลดโอกาสการเพาะเชื้อ หรือปนเปื้อนได้ดีกว่า
6.ทำการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม น้อยมาก เหมือนวัสดุอื่น โดยเฉพาะที่ทำจากไม้
7.สามารถผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วได้ เป็นการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม
8.สามารถออกแบบให้มีน้ำหนัก เบา รูปร่างโปร่งได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการรับน้ำหนัก
9.สามารถใช้งานได้ทนทานกว่า หากใช้งานอย่างถูกวิธี และบรรทุกน้ำหนักเกินจากมาตราฐาน
ข้อเสีย แพลเลทพลาสติก
1.ราคาจะสูงกว่า วัสดุบางอย่าง
2.มีความย่งยากในการทำสี และสีไม่ค่อยคงมน
3.การติดสติกเกอร์ ความคงทนติดแน่นไม่ค่อยดีเท่าที่ควร
4.เนื่องจากการใช้งานยังไม่เป็นที่แพร่หลายในวงการมากนัก ฉะนั้นการแลกเปลี่ยนแพลเลทระหว่างผู้ประกอบการ ซึ่งนิยมทำอยู่ในบางวงการอาจไม่มีความสะดวกเท่าที่ควร เพราะคู่ค้าอาจใช้วัสดุที่เป็นไม้ ซึ่งเป็นที่นิยมในอดีตมากว่าอยู่

WWW.PCNFORKLIFT.COM